Skip to main content

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนให้การรักษากับชาวโรฮิงญา

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนตอบสนองต่อวิกฤตผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามานานหลายทศวรรษ เราเริ่มต้นส่งมอบความช่วยเหลือครั้งแรกในบังกลาเทศในปี 1985 และนับแต่นั้นมาเราได้ขยายการสนับสนุนทางการแพทย์เพื่อมนุษยธรรมสำหรับชาวโรฮิงญาผู้ลี้ภัยไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาวิกฤต

    ปัจจุบัน เราดำเนินโครงการในบังคลาเทศ เมียนมา และมาเลเซีย เพื่อให้การรักษาพยาบาลแก่ชาวโรฮิงญา

    บังกลาเทศ
    มาเลเซีย
    เมียนมา

    เพื่อตอบสนองความต้องการมหาศาลของประชากรที่หลั่งไหลเข้ามาในเดือนสิงหาคม 2017 องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้ขยายการดำเนินโครงการ และปรับแผนการตอบสนองความต้องการด้านสาธารณสุขในระยะยาว

    ปัจจุบัน เราให้บริการสถานพยาบาลทั้งหมด 8 แห่ง

    2021 key figures of Doctors Without Borders activities in Bangladesh

     

    เพื่อแก้ไขสถานการณ์การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างจำกัด องค์การแพทย์ไร้พรมแดนให้บริการทางการแพทย์กับผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยผ่านคลินิกในเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ปีนัง คลินิกเคลื่อนที่ในพื้นที่ห่างไกลของปีนัง เกดะห์ และศูนย์กักกัน

    2021 key figures of Doctors Without Borders activities in Malaysia

     

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ให้ความช่วยเหลือให้กับชาวโรฮิงญาที่ยังคงอาศัยอยู่ในประเทศเมียนมา รวมถึงในค่ายผู้ลี้ภัยในรัฐยะไข่ พื้นที่ภาคกลางและในหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ นอกจากนี้เรายังให้บริการด้านสุขภาพให้กับชาวรัฐยะไข่ที่ลี้ภัยจากการต่อสู้และกำลังอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ

    2021 key figures of Doctors Without Borders activities in Myanmar

     

    สถานการณ์ปัจจุบันของชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศเป็นอย่างไร

    ชาวโรฮิงญาถูกจำกัดโอกาสในการทำงานเป็นอย่างมาก แม้ว่าบางรายจะสามารถหาวิถีทางในการเลี้ยงชีพและเลือกที่จะแบกรับความเสี่ยงจากการทำงานนอกระบบก็ตาม ทว่าอีกหลายจำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม อาทิ การเข้าถึงอาหารขั้นพื้นฐาน แก๊สหุงต้ม และที่พักอาศัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ถูกส่งมอบให้ในปี 2017 และเพียงพอที่จะทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่ได้ แต่ในขณะเดียวกันชาวโรฮิงญาจำนวนมากยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองหรือมีกำลังซื้อสินค้าอุปโภคประโภคที่จำเป็นประเภทอื่นๆ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ และวัสดุในการซ่อมแซมที่พักอาศัย เป็นต้น

    บ้านพักอาศัยชั่วคราวมักสร้างบนทางลาด และมักเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์น้ำท่วมประจำปีที่นำมาซึ่งการเสียชีวิต การบาดเจ็บ และการพลัดถิ่นฐาน ขณะที่บ้านพักอาจถูกน้ำพัดหายไป

    ที่พักอาศัยที่คับแคบทำให้การทำกิจกรรมภายในครัวเรือนต่างๆ เช่น การทำอาหารมีความเสี่ยง และมักการเหตุไฟไหม้เป็นเรื่องปกติ โดยในปี 2021 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 15 รายจากเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ผู้ได้รับบาดเจ็บ 560 ราย และอีกกว่า 10,000 ครอบครัว (ราว 45,000 ราย) ต้องพลัดถิ่น

    โอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กมีจำกัด เนื่องจากองค์กรพัฒนาเอกชนจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาให้กับเด็กเพียงไม่กี่พันรายจากประชากรค่ายทั้งหมด  นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญของความทุกข์ใจสำหรับผู้ปกครองที่กังวลว่าอนาคตของเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาจะเป็นอย่างไร ทั้งในบังกลาเทศหรือในกรณีที่ต้องเดินทางกลับเมียนมาในอนาคต

    ในงานวิจัยขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน เราพบว่าสถานการณ์ปัจจุบันเต็มไปด้วยพื้นที่แออัด น้ำประปาไม่เพียงพอ และสุขอนามัยที่ย่ำแย่ภายในค่ายเขต Cox's Bazar ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ที่นั่นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อ่านผลงานวิจัยได้ที่นี่

    Overcrowding, inadequate water supply & sanitation study at the refugee camps in Bangladesh: A risk to the health of the Rohingya

    สถานการณ์ปัจจุบันของชาวโรฮิงญาในมาเลเซียเป็นอย่างไร

    เนื่องจากผู้ลี้ภัยที่มีบัตร UNHCR (สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ) ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพอย่างถูกกฎหมาย ชาวโรฮิงญาหลายรายจึงจำยอมรับทำงานนอกระบบที่รู้จักกันในชื่อ “3D jobs” (สกปรก อันตราย ยาก) ซึ่งทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบ

    ชาวโรฮิงญา ผู้ลี้ภัย และผู้ขอลี้ภัยยังถูกบังคับให้จ่ายเงินตามอัตราชาวต่างชาติที่สถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งอาจมากกว่าอัตราที่ประชาชนในพื้นที่จ่ายถึง 2 เท่า

    ในขณะเดียวกัน ผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยที่ไม่มีเอกสารของ UNHCR ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะถูกรายงานต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและอาจถูกควบคุมตัวขณะเข้ารับการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐต้องรายงานว่า มีผู้อพยพที่ไม่มีเอกสาร/ผิดปกติต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

    สถานการณ์ปัจจุบันของชาวโรฮิงญาในเมียนมาเป็นอย่างไร

    ชาวโรฮิงญาถูกจำกัดการเคลื่อนไหวอย่างเสรีภาพ ดังนั้นจึงถูกจำกัดการเข้าถึงโอกาสในการทำงาน การศึกษา และการรักษาพยาบาล ผู้ที่อาศัยอยู่ในค่ายยังคงต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

    Doctors without borders mobile staff

    การเดินทางของเจ้าหน้าที่จากองค์การแพทย์ไร้พรมแดน ในการตั้งคลินิกภายในหมู่บ้านศิลเทศมาว์ในเมืองเปาะดอ  14 มีนาคม พ.ศ. 2022 @Ben Small/MSF

    ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพระดับหลักในที่เหมาะสม ด้วยข้อจำกัดในเรื่องเสรีภาพในการเคลื่อนไหว หากต้องการรับการรักษาฉุกเฉิน สำหรับผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ วิธีเดียวที่พวกเขาสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลคือผ่านส่งตัวจากองค์การแพทย์ไร้พรมแดน การเลือกปฏิเสธและการแบ่งแยกชาวโรฮิงญาโดยเฉพาะในโรงพยาบาลสาธารณะและจากเจ้าหน้าที่รัฐ ก่อให้เกิดปัญหาในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ

    ใต้ความกลัว ความยากลำบากในการหาอาหาร และความหมดหวัง สถานะคนไร้รัฐมีผลกระทบหนักต่อสุขภาพจิตของพวกเขา สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในค่ายน่าอยู่ที่รกรากและในหมู่บ้านที่อยู่ทางภาคเหนือของรัฐยะไข่ การเข้าถึงน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในค่ายที่อพยพอยู่ตั้งอยู่ในรัฐยะไข่ รวมถึงน้ำดื่มที่สะอาด ทำให้ชาวโรฮิงยาอยู่ในสภาวะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากน้ำ และการติดเชื้อผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง

    อนาคตของชาวโรฮิงญาจะเป็นอย่างไร

    เราจำเป็นต้องมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤตผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในระยะยาว ซึ่งประเด็นปัญหาหลัก คือ การขาดสิทธิพลเมืองในเมียนมาและการรับรองสถานะผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศและมาเลเซีย

    สำหรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่ถูกทิ้งไว้อย่างอิดโรยในรัฐยะไข่ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและแสดงความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับอุปสรรคในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เนื่องจากพวกเขาถูกจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย เป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมต้องการสิทธิในการเข้าถึงอย่างเป็นอิสระ เพื่อประเมินและตอบสนองต่อความต้องการด้านสาธารณสุขอย่างเป็นกลาง

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเชื่อว่า การส่งผู้ลี้ภัยกลับเมียนมาเป็นเรื่องสำคัญ และจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเป็นไปด้วยความสมัครใจเท่านั้น หากมีการรับประกันความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา และมีการแก้ไขต้นตอของความรุนแรง ซึ่งหมายถึงการจัดการกับการเลือกปฏิบัติและการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน