เมียนมา: ท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น สถานพยาบาล ผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ต้องได้รับการคุ้มครอง
ย่างกุ้ง เมียนมา - องค์การแแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders / Médecins Sans Frontières - MSF) กังวลอย่างยิ่งต่อสวัสดิภาพของกลุ่มประชาชนในเมียนมาที่กำลังเผชิญกับความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ กำลังดำเนินการอยู่ โดยเราเป็นประจักษ์พยานของความรุนแรงที่เกิดขึ้นและการทำงานของเราได้รับผลกระทบโดยตรง อย่างรัฐฉาน (Shan) คะฉิ่น (Kachin) และยะไข่ (Rakhine)
ในวันที่ 15 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ ในรัฐฉานได้รับรายงานว่าโรงพยาบาลปางเสง (Pang Hseng) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่องค์การฯ เคยร่วมสนับสนุนการทำงานก่อนหน้านี้ ถูกโจมตีด้วยโดรนแต่ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม รายงานที่ไร้ตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบเกิดจากการที่โรงพยาบาลแห่งนี้ต้องหยุดให้บริการภายหลังจากมีการยกระดับความรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
องค์การฯ ร่วมมือกับองค์กรด้านมนุษยธรรมและหน่วยงานด้านสาธารณสุขท้องถิ่น กำลังจัดเตรียมบริการทางการแพทย์ในบางพื้นที่ หากการต่อสู้ที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและข้อจำกัดในการเข้าพื้นที่ ส่งผลให้ตัวเลขของผู้คนที่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
ผู้คนจำนวนมากในหลายพื้นที่ของรัฐฉาน ได้ทำการหนีความรุนแรงไปยังเมืองลาเสี้ยว (Lashio) ทางตอนเหนือของรัฐฉาน โดยองค์การฯ ได้ดำเนินการด้านเอชไอวีและวัณโรคสำหรับชุมชนที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล องค์การฯ ได้เปิดปฏิบัติการเพื่อ “ประเมินความช่วยเหลือเร่งด่วน” ของผู้พลัดถิ่นเท่าที่องค์การฯ สามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้ยังได้ประสานงานร่วมกับองค์กรอื่นๆ เพื่อส่งต่อสิ่งของอุปโภค ชุดอนามัย และให้คำปรึกษาด้านการแพทย์กับผู้หญิงและเด็ก
การที่ไม่ปรากฏตัวตามตารางนัดสามารถอนุมานได้ว่าผู้ป่วยจะไม่มียาชุดใหม่สำหรับการรักษาอาการและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ นำไปสู่สภาวะเสี่ยงต่ออาการดื้อยาและการติดเชื้อประเภทอื่น
ในรัฐยะไข่ ความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่มีการหยุดยิงเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ทำให้คลินิกเคลื่อนที่ขององค์การฯ ต้องหยุดให้บริการชั่วคราว โดยองค์การฯ รักษาผู้ป่วยราว 1,500 รายต่อสัปดาห์
การปิดกั้นเส้นทางและข้อจำกัดในการเดินทางแบบหว่านแห (blanket travel restrictions) อันเป็นผลจากความขัดแย้งในพื้นที่ที่องค์การฯ ดำเนินการอยู่ กำลังสร้างผลกระทบให้องค์การฯ ไม่สามารถแม้กระทั่งสนับสนุนการทำงานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยวิกฤติผ่านการส่งตัวฉุกเฉินได้
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ไซโคลนเข้าพัดถล่มรัฐเมื่อ 6 เดือนก่อนหน้า และชุมชนที่ได้รับผลกระทบเหล่านี้กำลังอยู่ระหว่างการบูรณะซ่อมแซม
ค่ายผู้พลัดถิ่น Nout Ye ในเมือปอกทอว์ (Pauktaw) รัฐยะไข่ หลังจากพายุไซโคลนโมคาเข้าถล่มในเดือนพฤษภาคม - เมียนมา มิถุนายน 2566 © MSF
ทางด้านของรัฐคะฉิ่น แม้องค์การฯ จะพบว่าความรุนแรงและความขัดแย้งที่เริ่มต้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาได้คลายความตึงเครียดลงแล้ว ผู้ป่วยที่เริ่มกลับมาเข้ารับการรักษาภายในคลินิกด้านสุขภาพเพศและการเจริญพันธุ์ (sexual and reproductive healthcare services) และเอชไอวีหรือวัณโรค ได้บอกกับเจ้าหน้าที่ขององค์การฯ ว่า พวกเขายังคงกลัวที่จะเดินทางมาเข้ารับบริการ เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับความรุนแรงระหว่างทางเดินทาง รวมถึงความหวาดกลัวที่ว่าอาจมีจากโจมตีทางอากาศและการใช้อาวุธสงคราม
เมื่อวันที่ 25 กันยายน เจ้าหน้าที่องค์การฯ 4 รายได้เดินทางไปยังโรงพยาบาลผากัน (Hpakant) ในรัฐคะฉิ่น เพื่อเตรียมตัวสำหรับทำงานสนับสนุนในการรักษาผู้ป่วยเอชไอวีขององค์การฯ ที่ได้ทำการส่งต่อไปยังหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น หากสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือการที่กลุ่มคนติดอาวุธเริ่มใช้อาวุธปืนโจมตีบริเวณนอกอาคารและสามารถบุกเข้ามาในโรงพยาบาลได้ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ส่งผลให้มีผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 ราย
คลินิกเอชไอวีขององค์การฯ ในเมืองมิตตีนา (Myitkyina) รัฐคะฉิ่น เมียนมา 2654
องค์การฯ กำลังเป็นประจักษ์พยานของการเพิกเฉยอันไม่อาจยอมรับได้ ต่อหลักการสากลในคุ้มครองโครงสร้างพื้นฐานของสถานพยาบาล เนื่องจากความต้องการความช่วยเหลือด้านการแพทย์และมนุษยธรรมเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ เราร้องขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งสร้างความเชื่อมั่นว่าผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่จะปลอดภัย และในขณะที่ชุมชนของผู้คนเหล่านั้นยังตกอยู่กลางดงกระสุนจากการโจมตี การเปิดให้มีเส้นทางที่ปลอดภัยและไร้อุปสรรคในการเข้าถึงผู้คนที่ถูกตัดขาดออกจากบริการทางการแพทย์เพื่อรักษาชีวิตเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้น
เมียนมา: ท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น สถานพยาบาล ผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ต้องได้รับการคุ้มครอง (ภาษาเมียนมา)
เมียนมา: ท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น สถานพยาบาล ผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ต้องได้รับการคุ้มครอง (ภาษาเมียนมา)