Skip to main content

    ชีวิตในเมียนมา: “วันที่พวกเราสูญเสียทุกสิ่งไป”

    Myanmar

    อู มินต์ ข่าย (U Myint Khaing) เข้ารับการรักษาวัณโรคในเมียนมา - มีนาคม 2566 © MSF

    โรงพยาบาลวัณโรคแห่งเดียวที่ยังเปิดบริการของเมียนมา

    ก่อนทหารเข้ายึดอำนาจในปี 2564 เราเคยมีห้องปฏิบัติการด้านวัณโรค 5 แห่ง เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลวัณโรคอองซานในย่างกุ้งกล่าว ตอนนี้เหลือเพียง 1 แห่งที่ยังเปิดดำเนินการอยู่

    โรงพยาบาลขนาด 90 เตียงเป็นสถานพยาบาลขนาดใหญ่แห่งเดียวในเมียนมาที่ยังคงให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคอยู่ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายประเภทที่ไม่สามารถรักษาด้วยขั้นตอนมาตรฐานได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยราว 9 ใน 10 รายเป็นวัณโรคแบบดื้อยาหลายขนาน แม้ว่าโรงพยาบาลจะมีห้องปฏิบัติการที่สามารถทำการวินิจฉัยขั้นสูงได้ แต่ปัจจุบันเกือบจะไม่สามารถใช้งานได้ บางแผนกของโรงพยาบาลถูกปิดตัวลงและอุปกรณ์ไม่ได้รับการเปลี่ยนใหม่ จากที่เคยเป็นแผนกและห้องให้คำปรึกษาที่คึกคัก ตอนนี้กลายเป็นที่ว่างเปล่าที่เงียบจนน่าขนลุกราวกับซากปรักหักพังที่ถูกทิ้งร้าง

    Myanmar

    ชินจิโร มูราตะ ผู้อำนวยการองค์การฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น พูดคุยกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลวัณโรคอองซาน (Aung San) ©MSF

    เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ ประมาณ 40 คน โดยเป็นนักเทคนิคประจำห้องปฏิบัติการ 5 คน ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลแห่งนี้และห้องปฏิบัติการด้านวัณโรคแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ ให้บริการด้านการแพทย์แก่ผู้ป่วยวัณโรคและสนับสนุนโปรแกรมวัณโรคของกระทรวงสาธารณสุข โดยทีมขององค์การฯ ยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเกี่ยวกับสุขอนามัยและการป้องกันการติดเชื้ออีกด้วย

    พวกเรามีผู้ป่วยประมาณ 70 ราย ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่สูงเท่าไหร่แพทย์ขององค์การฯ กล่าว “เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือซับซ้อนจะมาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ หากยังมีผู้ป่วยวัณโรคอีกหลายชีวิตที่ยังไม่ได้รับการรักษาจนกระทั่งอาการทรุดตัวขั้นรุนแรง เนื่องจากความล่าช้าในการวินิจฉัยประกอบกับการขาดแคลนความรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับความสำคัญของการได้รับคำปรึกษาตั้งแต่แรกเริ่ม นอกจากนี้ ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและสถานการณ์ความปลอดภัยที่ย่ำแย่ยังขัดขวางผู้คนไม่ให้เข้าถึงการรักษาพยาบาล

    Myanmar

    ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาวัณโรคแบบดื้อยาหลายขนานที่โรงพยาบาลวัณโรคอองซาน - มีนาคม 2566 © MSF

    เมื่อเหตุผลด้านความปลอดภัยปิดกั้นการเข้าถึงการรักษาพยาบาล

    นับตั้งแต่ช่วงเวลาการปกครองโดยกองทัพเริ่มต้นขึ้น การเข้าถึงการรักษาพยาบาลกลายเป็นเรื่องที่ยากมากในเมียนมา บุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากลาออกเพื่อประท้วงและต่อต้านฝ่ายทหารโดยเข้าร่วมการทำอารยะขัดขืน (Civil Disobedience Movement หรือ CDM) การจำกัดการเคลื่อนไหวของประชาชนและสถานการณ์ด้านความปลอดภัยที่ย่ำแย่จากการปะทะกันระหว่างหลายกลุ่มในย่างกุ้ง ทำให้ระบบสาธารณสุขที่เปราะบางอยู่แล้วยิ่งอ่อนแอลงอีก นั่นยิ่งนำไปสู่สถานการณ์ที่การให้บริการทางการแพทย์ถูกจำกัดให้อยู่ในวงแคบ

    การประกาศช่วงเวลาเคอร์ฟิวทั่วทั้งเมือง คืออีกสิ่งกีดกันที่ทำให้ผู้ป่วยที่อาการแย่ลงช่วงกลางคืนไม่สามารถเดินทางไปยังโรงพยาบาลได้ รายงานระบุว่ามีผู้เสียชีวิตจากอาการหอบหืดเนื่องจากไม่สามารถเข้ารับการรักษาฉุกเฉินได้ทันเวลา

    “หลายคนคิดว่าเมืองย่างกุ้งปลอดภัย ในความเป็นจริงแล้วความรุนแรงก็ยังมีอยู่เช่นกัน” เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ กล่าว “มันแค่ค่อนข้างปลอดภัยกว่าภูมิภาคอื่นเท่านั้นเอง”

    สิ้นหวังและหมดหนทาง

    หลายคนอธิบายถึงความรู้สึกสิ้นหวังหลังจากกองทัพเข้ายึดอำนาจ

    อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด แต่ฉันรู้ข่าวว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศของพวกเราผ่านทางทีวี ประชาชนรายหนึ่งกล่าว ฉันรู้สึกเหมือนพวกเราสูญเสียทุกสิ่งอย่าง (ก่อนรัฐประหาร) พวกเรามีอะไรให้ทำมากมายและทุกอย่างกำลังไปได้ดี

    ขั้วอำนาจที่เปลี่ยนไปทำให้หลายคนยอมแพ้ในการตามหาความฝัน เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ รายหนึ่งเล่าว่า เขาเคยคิดอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่ตอนนี้แผนการดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ กฎหมายบังคับเกณฑ์ทหารที่ประกาศใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ สร้างความกังวลใจแก่ประชาชนมากขึ้น

    อยู่อย่างมีความหวัง

    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ หลายคนยังมความหวังจากได้ทำงานกับองค์การฯ พวกเขาได้แรงบันดาลใจและแรงผลักดัน จากความร่วมมือร่วมใจในการให้บริการผู้ป่วยและสมาชิกในชุมชน

    การทำงานร่วมกับองค์การฯ ไม่เพียงแต่เพื่อผู้ป่วย เพื่อชุมชน หรือเพื่อครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำงานเพื่อตัวฉันเองด้วยเจ้าหน้าที่จากรัฐยะไข่ (Rakhine) ในทางตะวันตกของเมียนมากล่าว ตอนนี้ฉันมีงานและมีอาหารกินทุกวัน แต่ยังมีผู้คนอีกจำนวนมากในเมียนมาที่ไม่สามารถทำแบบนี้ได้ครอบครัวของชายคนนี้ไม่สามารถออกจากหมู่บ้านในรัฐยะไข่ได้เนื่องจากยังเกิดการต่อสู้ดุเดือดอย่างต่อเนื่อง

    ท่ามกลางข้อจำกัดและการท้าทาย เจ้าหน้าที่เหล่านี้ทำงานด้วยจิตวิญญาณที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณ และเมื่อถามถึงข้อความที่อยากส่งถึงประชาชนในเมียนมา สมาชิกรายหนึ่งตอบว่า

    “ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและจงเข้มแข็งเพื่ออนาคตของเมียนมา พวกเราเชื่อว่าวันหนึ่งความหวังของพวกเราจะเป็นจริง”