Skip to main content

    กาซา: แผนของสหรัฐฯ ในการสร้างสะพานเทียบเรือชั่วคราวเป็นเพียงกลอุบายอันอุกอาจ

    Palestinians in Rafah on the Egyptian border – once a town of 300,000, but now hosting 1.5 million displaced people from all over Gaza. January 2024 © MSF

    เมืองราฟาห์ (Rafah) มีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศอียิปต์ ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่มีประชากรอยู่อาศัยราว 300,000 คน หากปัจจุบันกำลังรองรับผู้พลัดถิ่นราว 1.5 ล้านคนทั่วพื้นที่กาซา พลเมืองปาเลสไตน์ต้องดิ้นรนเพื่อหาน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ปรุงอาหาร หรือซักผ้า สภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในบริเวณนี้ตกอยู่ใต้ความสิ้นหวัง ซึ่งเกิดจากความเป็นอยู่แสนแออัดและการขาดน้ำสะอาด ห้องสุขา ห้องอาบน้ำ และระบบระบายน้ำทิ้ง นอกจากนี้สถานการณ์ยังเลวร้ายลงจากสภาพอากาศที่หนาวเหน็บในฤดูหนาว - มกราคม  2567 © MSF

    เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ประธานาธิบดีไบเดนได้เผยถึงแผนการของกองทัพสหรัฐฯ เพื่อสร้างสะพานเทียบเรือชั่วคราวบนชายฝั่งของกาซาที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในการช่วยส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ในวันนี้ สหรัฐฯ ยังได้ออกแถลงการณ์ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป สาธารณรัฐไซปรัส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร โดยเป็นประกาศการเปิดใช้งาน "เส้นทางระเบียงในทะเล" ในการสนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

    อาฟริล เบอนัว (Avril Benoît) ผู้อํานวยการบริหารขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders  / Médecins Sans Frontières - MSF) ประจำสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถ้อยแถลงหลังจากที่มีแถลงการณ์ฉบับอื่นก่อนหน้า

    แผนการของสหรัฐฯ ในการสร้างสะพานเทียบเรือชั่วคราวที่กาซา เพื่ออำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เป็นกลอุบายอันอุกอาจเพื่อเบี่ยงความสนใจไปจากปัญหาที่แท้จริง นั่นคือ ปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลและการปิดล้อมพื้นที่ในลักษณะลงโทษ ซึ่งเป็นไปอย่างไม่แยกแยะเป้าหมายและไม่ได้สัดส่วนต่อภัย ขณะที่เหล่าบรรดาอาหาร น้ำสะอาด และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เป็นที่ผู้คนในฉนวนกาซากำลังต้องการเป็นอย่างยิ่ง กลับถูกวางกองกันทิ้งไว้เบื้องหน้าเพียงตรงข้ามชายแดน อิสราเอลต้องอํานวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายปัจจัยใช้สอย ไม่ใช่การสกัดขัดขวาง สิ่งนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับการคมนาคมขนส่ง หากแต่คือปัญหาด้านการเมือง แทนที่จะโยนภาระไปให้กองทัพสหรัฐฯ คิดหาวิธีหลบเลี่ยงปัญหา ทางการสหรัฐฯ ควรยืนกรานในการใช้ถนนและด่านเข้าออกที่มีอยู่แล้วเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสามารถเข้าไปถึงได้ในทันที

    "ในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ใช้สิทธิยับยั้งในมติที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในประเด็นการตกลงหยุดยิง ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะรับรองการยกระดับอย่างจริงจังในการมีความช่วยเหลือต่อภัยฉุกเฉิน ทางองค์การฯ ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งให้มีการหยุดยิงโดยทันทีและถาวร เพื่อหยุดยั้งการสังหารพลเรือนอีกหลายพันคน และเปิดช่องให้มีการขนส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จําเป็นอย่างยิ่ง"

    สนับสนุนการทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของพวกเรา

    สนับสนุนพวกเราในการส่งต่อเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้วยการบริจาคตอนนี้