Skip to main content

    ปฏิบัติการขององค์การฯ ในสงครามอิสราเอล - กาซา

    ข้อมูลล่าสุด

    นับตั้งแต่เกิดสงครามขึ้น กระทรวงสาธารณสุขกาซารายงานตัวเลขโดยระบุว่ามีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไปแล้วมากกว่า 36,000 คนและบาดเจ็บมากกว่า 80,000 คน

    เมื่อวันที่ 25 มีนาคม คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council - UNSC) ได้ออกคำสั่งให้มีการหยุดยิงทันทีในกาซา อย่างไรก็ตาม ไม่มีการดำเนินการตามมติในครั้งนี้

    กองกำลังอิสราเอลยังคงปฏิบัติการโจมตีพลเรือนเป็นวงกว้างซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก

    รายงานล่าสุด

    กาซา: การสังหารหมู่ครั้งล่าสุดคือการลดทอนความเป็นมนุษย์ของชาวปาเลสไตน์อย่างสิ้นเชิง
    กาซา: การสังหารหมู่ครั้งล่าสุดคือการลดทอนความเป็นมนุษย์ของชาวปาเลสไตน์อย่างสิ้นเชิง
    การโจมตีพื้นที่กาซาด้วยระเบิดและการโจมตีภาคพื้นดินจากกองทัพอิสราเอลในช่วงเวลา 10 กว่าวันที่ผ่านมา คือหลักฐานว่าชีวิตของชาวปาเลสไตน์ไม่ได้รับการเคารพแม...
     กาซา: เราไม่มีแม้เวลาในการฝังร่างของพวกเขาด้วยซ้ำไป
    กาซา: เราไม่มีแม้เวลาในการฝังร่างของพวกเขาด้วยซ้ำไป
    ช่วงเช้าของวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน 2567 กองทัพอิสราเอลถล่มโจมตีพื้นที่บริเวณตอนกลางของกาซาด้วยระเบิด รวมถึงจุดที่ตั้งค่ายผู้ลี้ภัยอัล นูเซรัต (Al-Nusei...
    กาซา: อิสราเอลต้องหยุดปฏิบัติการณ์เปื้อนเลือด
    กาซา: อิสราเอลต้องหยุดปฏิบัติการณ์เปื้อนเลือด
    กองทัพอิสราเอลโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยในราฟาห์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตนับสิบราย และมีผู้บาดเจ็บกว่า 100 ร้าย การยกระดับการโจมตีในราฟาห์ส่งผลต่อบริการด้า...
    เมื่อโรคภัยและบริการทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอคือ “ฆาตกรเงียบ” ในกาซา
    เมื่อโรคภัยและบริการทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอคือ “ฆาตกรเงียบ” ในกาซา
    หลังสงครามในกาซาปะทุยาวนานกว่า 6 เดือน ความเสียหายไม่เพียงส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดและการโจมตีทางอากาศจากทางกองทัพอิสราเอลเท่านั้น
     กาซา: ใต้สงครามที่ยังคงอยู่ ปัญหาสุขภาพจิตในหมู่เจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา
    กาซา: ใต้สงครามที่ยังคงอยู่ ปัญหาสุขภาพจิตในหมู่เจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา
    เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในกาซากำลังเผชิญกับความยากลำบากในการดูแลจิตใจของตนเอง
    ปาเลสไตน์: ชาวกาซาพลัดถิ่นในเขตเวสต์แบงก์ที่รอคอยการกลับบ้าน
    ปาเลสไตน์: ชาวกาซาพลัดถิ่นในเขตเวสต์แบงก์ที่รอคอยการกลับบ้าน
    นับตั้งแต่กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลในวันที่ 7 ตุลาคม พลเมืองกาซาหลายพันชีวิตที่ทำงานอยู่ในประเทศอิสราเอลถูกยกเลิกใบอนุญาตทำงาน จากข้อมูลของกระทรวงแรงงาน...
    กาซา: สถานการณ์อันแสนเลวร้ายในโรงพยาบาลอัล ซิฟา
    กาซา: สถานการณ์อันแสนเลวร้ายในโรงพยาบาลอัล ซิฟา
    เช้าวันนี้ (13 พฤศจิกายน) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders / Médecins Sans Frontières -MSF) ได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่ยังคงทำงานอยู่ภายใ...
    จากองค์การแพทย์ไร้พรมแดนถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ: พลเมืองในกาซาต้องการการหยุดยิงทันทีและถาวร
    จากองค์การแพทย์ไร้พรมแดนถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ: พลเมืองในกาซาต้องการการหยุดยิงทันทีและถาวร
    เลขาธิการองค์การแพทย์ไร้พรมแดนเรียกร้องให้มีการดำเนินงานขั้นฉุกเฉินในกาซา

    นับตั้งแต่ความรุนแรงเริ่มต้นขึ้นในพื้นที่กาซาและอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม นำไปสู่การโจมตีด้วยระเบิดอย่างหนักและเป็นการโจมตีอย่างไม่เลือกเป้าหมายจากกองทัพอิสราเอล ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากและบาดเจ็บนับพัน โดยขณะนี้ประชากรมากกว่า 2.2 ล้านคนยังติดอยู่ในกาซาและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน

    ตามรายงานจากสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs - OCHA) ระบุว่าประชากรในกาซามากกว่าร้อยละ 85หรือมากกว่า 1.9 ล้านคน ถูกขับไล่จากถิ่นฐานของตน ผู้พลัดถิ่นเหล่านี้เกือบครึ่งใช้ชีวิตอยู่ทางตอนใต้อย่างแออัดและอยู่อาศัยในสภาพที่เลวร้าย พวกเขาอาศัยอยู่ในเพิงชั่วคราวที่ทำจากแผ่นไม้สองสามชิ้นและมีเพียงแผ่นพลาสติกแทนหลังคา หลายคนต้องนอนข้างถนนหรืออยู่ตามสถานที่เปิดโล่ง  และยังขาดแคลนน้ำสะอาดที่จำเป็นต่อสุขอนามัย 

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเรียกร้องดังต่อไปนี้

    • การหยุดยิงโดยทันทีและถาวร และจัดให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างไม่มีเงื่อนไข และการปกป้องสิทธิพลเรือน หน่วยงานด้านการแพทย์ และ ชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์
    • หยุดการทิ้งระเบิดโดยไม่เลือกเป้าหมาย และการทิ้งระเบิดโจมตีโรงพยาบาล หน่วยงานด้านการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยเช่นเดียวกับพลเรือนทั่วไป ไม่มีเหตุผลสมควรอันใดที่จะทิ้งระเบิดใส่พลเรือน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หรือผู้ป่วย
    • ทุกประเทศต้องทำทุกวิถีทางเพื่อโน้มน้าวให้อิสราเอลหยุดการปิดล้อมอย่างต่อเนื่องและโจมตีชีวิตพลเรือนรวมถึงทำลายสาธารณูปโภคพื้นฐานของพลเรือนในเขตกาซา

    สนับสนุนการทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของพวกเรา

    สนับสนุนพวกเราในการส่งต่อเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้วยการบริจาคตอนนี้

    สถานการณ์ในกาซา

    วันที่ 25 มีนาคม คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้มีคำสั่งให้มีการหยุดยิงทันทีในกาซา แต่ข้อมตินี้ไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติ

    กองกำลังอิสราเอลยังคงปฏิบัติการโจมตีพลเรือนเป็นวงกว้างซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซากำลังเผชิญกับความยากลำบากไม่เว้นแต่ละวันจากยุทธการทางทหารที่ทำลายล้างเต็มกำลังและเพิกเฉยต่อกฎหมายสงครามอย่างชัดเจน

    หากปราศจากการหยุดยิงโดยทันทีและถาวรรวมทั้งการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่สำคัญ เราจะได้เห็นผู้คนจำนวนมากล้มตายอย่างต่อเนื่อง 

    วันที่ 24 พฤษภาคม ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice - ICJ) มีคำสั่งให้อิสราเอลระงับปฏิบัติการทางทหารที่เมืองราฟาห์ (Rafah) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกาซาโดยทันทีและให้เปิดจุดผ่านแดนเมืองราฟาห์ ซึ่งเป็นการตอกย้ำที่แสดงให้เห็นถึงความหายนะของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความช่วยเหลือดานมนุษยธรรมในวงกว้างและโดยทันที

     

    นับตั้งแต่สงครามเริ่มต้นขึ้น องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเห็นถึงรูปแบบการโจมตีอย่างเป็นระบบต่อหน่วยงานด้านการแพทย์และโครงสร้างพื้นฐานของพลเรือน ระบบสุขภาพในกาซากำลังพังทลายลงขณะที่ความต้องการทางการแพทย์มีมากขึ้น ซึ่งส่งผลรุนแรงต่อชาวปาเลสไตน์ ศูนย์การแพทย์หรือระบบการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแต่ละแห่งถูกทำลายแล้วหรือกำลังถูกทำลาย และจะถูกแทนที่ด้วยทางเลือกชั่วคราวตามที่สถานการณ์เอื้ออำนวย ซึ่งมีมีประสิทธิภาพน้อยกว่า

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเรียกร้องให้มีการหยุดยิงทันทีและถาวร ซึ่งจะช่วยรักษาชีวิตของประชาชนกาซา และอนุญาตให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมกลับเข้าไปยังกาซาอีกครั้ง การช่วยเหลือดังกล่าวมีความจำเป็นและส่งผลต่อชีวิตของประชาชนชาวกาซา เราเรียกร้องให้ปกป้องคุ้มครองพลเรือนและสถานให้บริการด้านสุขภาพของคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่อง

    การโจมตีโรงพยาบาลหลายแห่งที่องค์การฯ สนับสนุนการดำเนินงาน

    เกิดการโจมตีระบบบริการสุขภาพภายในกาซา ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม ถึง 9 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 286 รายเสียชีวิตในกาซา รถพยาบาล 57 คันถูกโจมตีและได้รับความเสียหาย

    7 ตุลาคม การโจมตีทางอากาศเกิดขึ้นใกล้กับโรงพยาบาล อินโดนีเซียน (Indonesian) และโรงพยาบาลอัน นาสเซอร์ (An-Nasser) โดยองค์การฯ ได้ดำเนินการสนับสนุนการทำงานในโรงพยาบาลทั้งสองแห่ง

    10 ตุลาคม แผนกผู้ป่วยนอกในคลินิกองค์การแพทย์ไร้พรมแดนในกาซาได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล บริเวณทางเข้าห้องทำแผลและห้องดมยาถล่ม หน้าต่างพังเสียหาย

    11 ตุลาคม มีการโจมตีทางอากาศใกล้กับโรงพยาบาลอัล ออด้า (Al-Awda) ในตอนเหนือของกาซา ซึ่งองค์การแพทย์ไร้พรมแดนดำเนินการมาตั้งแต่ปี  2561 การโจมตีได้สร้างความเสียหายกับโรงพยาบาล แต่ยังคงสามารถให้บริการได้

    13 ตุลาคม กองทัพอิสราเอลขีดเส้นตายให้มีการอพยพผู้คนออกจากโรงพยาบาลอัล ออด้า อันเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่องค์การฯ ร่วมสนับสนุนดำเนินงานภายในสองชั่วโมง แม้ไม่ปรากฏการโจมตีตัวอาคารโรงพยาบาล แต่เกิดการระเบิดอย่างต่อเนื่องใกล้โรงพยาบาลขณะเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์กำลังดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยให้ไปยังโรงพยาบาลแห่งอื่น โดยโรงพยาบาลแห่งนี้ได้รับความเสียหายจากเหตุระเบิดในช่วงหลังจากนั้น

    30 ตุลาคม อีกหนึ่งโรงพยาบาลที่องค์การฯ ดำเนินงานให้การสนับสนุนอย่างโรงพยาบาลมิตรภาพทูร์เคีย-ปาเลสไตน์ (Turkish-Palestinian Friendship) ในกาซาได้รับความเสียหายจากขีปนาวุธ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักบนชั้น 3 ของอาคาร จากนั้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน โรงพยาบาลต้องหยุดการให้บริการทั้งหมดเนื่องจากขาดแคลนพลังงาน โรงพยาบาลดังกล่าวเป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งเดียวของกาซาที่ให้บริการแผนกโรคมะเร็ง

    3 พฤศจิกายน เกิดการโจมตีรถพยาบาลบริเวณภายนอกโรงพยาบาลอัล ชีฟา (Al-Shifa) ส่งผลให้รถได้รับความเสียหายและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

    ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน มีรายงานการโจมตีหลายระลอกและมีการโจมตีซ้ำบริเวณโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเจ้าหน้าที่องค์การแพทย์ไร้พรมแดนในตอนเหนือของกาซาเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ โรงพยาบาลที่ถูกโจมตีนั้นรวมถึงโรงพยาบาลอัล ชีฟา ซึ่งเป็นศูนย์การแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดอีกด้วย

    18 พฤศจิกายน ขบวนรถอพยพขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนจากโรงพยาบาลอัล ชีฟา ถูกโจมตีด้วยกระสุน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย คาดว่าการโจมตีขบวนรถของที่ปรากฏสัญลักษณ์ขององค์การฯ ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการแผนการโจมตีของกองทัพอิสราเอล

    20 พฤศจิกายน คลินิกองค์การแพทย์ไร้พรมแดนในเมืองกาซาเสียหายจากกองทัพอิสราเอล ซึ่งตั้งใจทำลายยานพาหนะหลายคันขององค์การฯ โดยใช้ยานยนต์ทางทหาร

    21 พฤศจิกายน การโจมตีเกิดขึ้นที่โรงพยาบาลอัล ออด้า การโจมตีครั้งนี้ทำให้แพทย์ 3 รายเสียชีวิต โดยเป็นแพทย์ขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน 2 ราย คือนายแพทย์มามูด อาบู นูใจลา (Mahmoud Abu Nujaila) และนายแพทย์อาหมัด อัล ซาฮาร์ (Ahmad Al Sahar) ส่วนแพทย์อีกรายที่เสียชีวิตคือนายแพทย์ซีอาด อัล ทาทารี (Ziad Al-Tatari)

    24 พฤศจิกายน รถประจำทางขนาดเล็กที่ถูกส่งไปจากทางใต้ของกาซาเพื่อสนับสนุนการอพยพคณะเจ้าหน้าที่องค์การแพทย์ไร้พรมแดนและครอบครัว ได้รับความเสียหายจากการโจมตีของกองทัพอิสราเอล

    1 ธันวาคม ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากการพักรบจบสิ้นลง ก็เกิดเหตุระเบิดโรงพยาบาลอัล ออด้า

    5 ธันวาคม โรงพยาบาล อัล ออด้า ต้องเผชิญกับการปิดล้อมอย่างเข้มงวด ผู้คนภายในโรงพยาบาลไม่สามารถเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ได้ และยังมีพลแม่นปืนอยู่รอบโรงพยาบาล หลายวันหลังจากที่การปิดล้อมเริ่มต้น มีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ในโรงพยาบาล 2 รายถูกยิงเสียชีวิต

    11 ธันวาคม ศัลยแพทย์ขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนโรงพยาบาลอัล ออด้า ได้รับบาดเจ็บ มีการยิงจากนอกตัวอาคารเข้ามาภายในพื้นที่ เจ้าหน้าที่องค์การฯ รายงานว่ามีพลซุ่มยิงอยู่รอบโรงพยาบาลที่คอยเล็งกระสุนเข้าไปภายในโรงพยาบาล

    17 ธันวาคม กองทัพอิสราเอลสามารถยึดการควบคุมโรงพยาบาลอัล ออด้าหลังการปิดล้อม 12 วัน ชายที่มีอายุมากกว่า 16 ปีถูกจับตัวไป มีการแจ้งให้ถอดเสื้อผ้า และเริ่มทำการสอบสวน ในจำนวนดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ขององค์การฯ จำนวน 6 คน โดยหลังการสอบสวนผู้ที่ถูกจับกุมไปส่วนใหญ่ถูกส่งกลับมาที่โรงพยาบาลและถูกสั่งห้ามเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่

    6 มกราคม ปัจจัยด้านการต่อสู้ที่รุกคืบเข้าใกล้โรงพยาบาลอัล อัคซาร์ (Al-Aqsa) และคำสั่งอพยพจากทางกองทัพอิสราเอล ทำให้มีการเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากพื้นที่นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้ห้องยาของโรงพยาบาลเป็นพื้นที่ควบคุม มีกระสุนจากพลแม่นปืนทะลุผนังหอดูแลผู้ป่วยวิกฤตในวันที่ 5 มกราคม

    8 มกราคม ที่พักขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในเมืองข่าน ยูนิส (Khan Yunis) ถูกทำลายจากขีปนาวุธยิงจากรถถัง ทำให้ลูกสาววัย 5 ขวบของเจ้าหน้าที่องค์การฯ เสียชีวิต

    22 มกราคม โรงพยาบาลนาสเซอร์ (Nasser) ในเมืองข่าน ยูนิส แวดล้อมด้วยการต่อสู้ ระเบิด และคำสั่งอพยพ เจ้าหน้าที่องค์การฯ รายงานว่าการโจมตีทำให้มีคนเสียชีวิตในระยะเพียง 150 เมตรจากประตูทางเข้าโรงพยาบาล

    15 กุมภาพันธ์ ขีปนาวุธทำลายแผนกกระดูกและข้อจนเจ้าหน้าที่ต้องหนีออกจากพื้นที่ โดยทิ้งผู้ป่วยไว้หลายคน แพทย์องค์การไร้พรมแดนรายหนึ่งถูกกักตัวที่จุดตรวจของกองทัพอิสราเอล และยังคงอยู่ในการควบคุม

    20 กุมภาพันธ์ รถถังของกองทัพอิสราเอลโจมตีบ้านพักที่เจ้าหน้าที่องค์การฯ และครอบครัวอาศัยอยู่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บ 7 คน

    15 กุมภาพันธ์ ขีปนาวุธทำลายแผนกกระดูกและข้อจนเจ้าหน้าที่ต้องหนีออกจากพื้นที่ โดยทิ้งผู้ป่วยไว้หลายคน แพทย์องค์การไร้พรมแดนรายหนึ่งถูกกักตัวที่จุดตรวจของกองทัพอิสราเอล และยังคงอยู่ในการควบคุม

    20 กุมภาพันธ์ รถถังของกองทัพอิสราเอลโจมตีบ้านพักที่เจ้าหน้าที่องค์การฯ และครอบครัวอาศัยอยู่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บ 7 คน

    2 มีนาคม ขีปนาวุธทำลายเพิงที่อยู่ถัดจากทางเข้าโรงพยาบาลอัล เอมิราติ (Al-Emiratiในราฟาห์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 รายและบาดเจ็บหลายคน

    13 มีนาคม กองทัพอิสราเอลปฏิบัติการทางทหารในเมืองเจนิน (Jenin) เขตเวสต์แบงก์ (West Bank) ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่สนามหญ้าของโรงพยาบาล คาลิล สุไลมาน (Khalil Suleiman Hospital) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การฯ ถูกยิง ประชาชน 6 คนที่อยู่ใกล้ประตูห้องฉุกเฉินได้รับบาดเจ็บ และในเวลาต่อมาผู้บาดเจ็บ 2 รายเสียชีวิตลง

    27 มีนาคม มีการโจมตีทางอากาศใส่เรือนกระจกใกล้กับคลินิกอัล ชาบูรา (Al-Shaboura) ศูนย์การแพทย์ที่ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การฯ ในเมืองราฟาห์ มีรายงานว่าประชาชนหลายคนเสียชีวิต การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้เห็นว่าไม่มีการคำนึงถึงมติที่ออกโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เกี่ยวข้องกับข้อตกลงหยุดยิงในฉนวนกาซาที่ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 25 มีนาคม  ทั้งนี้ ไม่มีเจ้าหน้าที่องค์การฯหรือผู้ป่วยในคลินิกอัล ชาบูราได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด

    31 มีนาคม อิสราเอลได้โจมตีทางอากาศอีกครั้งใส่สนามหญ้าหน้าโรงพยาบาลอัล อักซอ (Al-Aqsa Hospital) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลที่ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การฯ และสร้างความเสียหายบริเวณใกล้กับห้องฉุกเฉินซึ่งเป็นที่พักพิงของพลเรือนผู้พลัดถิ่นจำนวนมาก มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน หลังการโจมตีเจ้าหน้าที่องค์การฯ บางส่วนจำเป็นต้องหยุดการให้บริการทางการแพทย์

    1 เมษายน ภายหลังการปฏิบัติการโจมตีเป็นเวลายาวนานกว่า 14 วันจากกองกำลังอิสราเอลที่เข้าโจมตีภายในโรงพยาบาลอัล ชีฟา (Al-Shifa hospital) และพื้นที่โดยรอบ ได้สร้างความเสียหายแก่โรงพยาบาลจนเป็นผลให้ต้องหยุดให้บริการ คลินิกที่องค์การฯ เป็นผู้ดำเนินงาน ซึ่งอยู่ภายในบริเวณโรงพยาบาลอัล ชิฟาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประชาชนรวมทั้งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หลายร้อยคนเสียชีวิต มีการจับกุมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปภายในและโดยรอบโรงพยาบาลครั้งใหญ่

    21 เมษายน อาสาสมัครนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมจากองค์การฯ ถูกยิงที่ขาระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นผลพวงจากการบุกถล่มค่ายผู้ลี้ภัยเมืองทูลคาร์ม (Tulkarem)และเมืองนูร์ ชามส์ (Nur Shams) ในเขตเวสต์แบงก์เป็นเวลา 3 วัน และเนื่องจากอยู่ระหว่างการสู้รบ การส่งตัวผู้บาดเจ็บไปยังโรงพยาบาลใช้เวลาถึง 7 ชั่วโมง

    6 พฤษภาคม จุดพยาบาลผู้ป่วยเพื่อรักษาสภาวะการเจ็บป่วยให้คงที่ก่อนส่งโรงพยาบาลที่ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การฯ ถูกโจมตีระหว่างการบุกยึดพื้นที่ของกองกำลังอิสราเอลในค่ายผู้ลี้ภัยเมืองทูลคาร์ม และเมืองนูร์ ชามส์ ในเขตเวสต์แบงก์ อาสาสมัครนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ขององค์การฯ ถูกข่มขู่และพวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะอยู่ในค่ายนั้นเพื่อให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยอีกต่อไป

    แผนที่จุดปฏิบัติการขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในกาซาและเวตส์แบงก์

    Gazamap

    แผนที่จุดปฏิบัติการขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในกาซา

    Westbankmap

    แผนที่จุดปฏิบัติการขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในเวสต์แบงก์

    การปฏิบัติงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังคงให้คำมั่นที่จะให้บริการทางการแพทย์ในกาซา

    ทีมขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนให้การสนับสนุนด้านการศัลยกรรม การรักษาบาดแผล กายภาพบำบัด การบำบัดหลังคลอด การดูแลสุขภาพพื้นฐาน การฉีดวัคซีน และ การบริการด้านสุขภาพจิต หากแต่การเข้าปิดล้อมอย่างเป็นระบบและคำสั่งอพยพในโรงพยาบาลหลายแห่งเป็นสาเหตุให้การปฏิบัติงานขององค์การฯ ถูกลดขนาดพื้นที่และมีศักยภาพการดูแลที่จำกัด

    ทางตอนเหนือ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนมีคลินิกตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณโรงพยาบาลอัล ชิฟา คลินิกแห่งนี้ได้รับความเสียหาย รั้วพังและหน้าต่างเสียหายทั้งหมด หลังองค์การแพทย์ไร้พรมแดนเข้าทำการปรับปรุงก็สามารถกลับมาเปิดคลินิกนี้ได้อีกครั้ง เจ้าหน้าที่มุ่งเน้นไปที่การรักษาบาดแผลและกายภาพบำบัด แม้การให้บริการจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความปลอดภัยและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานองค์การฯ ยังคงมุ่งหวังที่จะได้ส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มไปยังพื้นที่ภาคเหนือและเริ่มขยายการบริการให้ครอบคลุมงานสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care - PHC) ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

    พื้นที่ทางตอนกลาง องค์การแพทย์ไร้พรมแดนดำเนินงานที่โรงพยาบาลอัลอักซอ โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ คณะเจ้าหน้าที่ฯ ได้กลับมาเปิดให้บริการด้านการรักษาบาดแผลและเวชกรรมฟื้นฟู นอกจากนั้น ยังคงให้บริการด้านการผ่าตัดจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน การดูแลบาดแผลขั้นสูง การดูแลแผลหลังการผ่าตัด กายภาพบำบัด การส่งเสริมสุขภาพและการสนับสนุนงานด้านสุขภาพจิต ทั้งนี้ ยังเปิดให้เข้าถึงร้านขายยาได้อีกครั้ง

    คณะเจ้าหน้าที่ฯ ยังได้จัดการดูแลบาดแผลและการคัดกรองภาวะทุพโภชนาการที่ศูนย์สุขภาพปฐมภูมิอัล มาเธอร์ (Al-Martyrs Primary Healthcare Centre) อีกด้วย

    กลางเดือนเมษายน องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเปิดทำการศูนย์สุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care Center -  (PHCC) ในเมืองอัล เฮกเกอร์ (Al Hekker) เพื่อให้บริการผู้ป่วยนอก รวมถึงการให้คำปรึกษาทั่วไป ฉีดวัคซีน การให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ การทำแผล การให้บริการด้านสุขภาพจิตที่รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นด้านสุขภาพจิต (psychological first aid) การให้คำปรึกษาสุขภาพจิตครอบครอบและบุคคล กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและสุขภาพจิตศึกษา (Psychoeducation) โดยตั้งแต่เปิดศูนย์ คณะเจ้าหน้าที่ได้ให้คำปรึกษาไปมากกว่า 250 รายต่อวัน

    ทางตอนใต้ องค์การฯ สนับสนุนการดำเนินการสถานบริการสุขภาพในจำนวนที่มากขึ้น โรงพยาบาลนาสเซอร์ (Nasser Hospital) เป็นโรงพยาบาลหลักด้านศัลยกรรมทางตอนใต้ของฉนวนกาซา ตั้งอยู่ในเมืองเมืองข่าน ยูนิส (Khan Younis) และเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดแห่งแรกในเขตฉนวนกาซาเนื่องจากโรงพยาบาลอัล ซิฟาไม่สามารถดำเนินงานได้ในขณะนี้ หลังกองกำลังอิสราเอล ถอนกำลังจากเมืองข่าน ยูนิส องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้เข้าประเมินพื้นที่และความเป็นไปได้ที่จะเปิดโรงพยาบาลแห่งนี้ในเดือนเมษายน ต่อมาช่วงกลางเดือนพฤษภาคม องค์การแพทย์ไร้พรมแดนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขได้เปิดให้บริการอีกครั้ง มุ่งงานบริการหน่วยศัลยกรรมกระดูก (Orthopaedic Surgery) และหน่วยดูแลแผลบาดเจ็บจากไฟไหม้ (Burn Unit)

     

    วันที่ 25 เมษายน แผนกเวชศาสตร์มารดา หน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตและกุมารเวชศาสตร์ (Neonatal Intensive Care Unit - NICU and Pediatric Unit) เปิดให้บริการจำนวน 23 เตียง และมุ่งเพิ่มจำนวนเตียงไปถึง 56 เตียงต่อไป องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้เปิดให้บริการแผนกผู้ป่วยนอก (OPD – Out-Patient Unit) เพื่อรักษาแผลจากไฟไหม้และอาการที่เกี่ยวข้อง โดยมีบริการทำแผลและกายภาพบำบัด

    ที่ศูนย์สุขภาพ อัล มาวาซี  (Al-Mawasi Health Post) ในเมืองราฟาห์ คณะเจ้าหน้าที่องค์การฯ ให้บริการผู้ป่วยนอก เช่น การให้คำปรึกษาทั่วไป ฉีดวัคซีน การทำแผล บริการด้านสุขภาพจิตและส่งเสริมสุขภาพ นอกจากนั้น ยังให้บริการดูแลก่อนและหลังคลอด รวมทั้งบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ องค์การฯ ให้บริการคำปรึกษาทั่วไป การจัดการกลุ่มโรคไม่ติดต่อ การคัดกรองและรักษาภาวะทุพโภชนาการและงานกายภาพบำบัด คณะเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษามากกว่า 6,000 รายต่อสัปดาห์ อาการเจ็บป่วยที่พบส่วนใหญ่ในเมืองอัล มาวาซี คือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง และโรคผิวหนัง

    ศูนย์สุขภาพปฐมภูมิ ข่าน ยูนิส เปิดทำการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม และยังขยายเนื้องานออกไป การหลั่งไหลของประชากรจำนวนมหาศาลจากเมืองราฟาห์เข้าสู่เขตมนุษยธรรมที่มีประชากรหนาแน่นอยู่แล้ว รวมถึงการขาดแคลนสถานบริการด้านสุขภาพเพื่อรองรับความจำเป็นของผู้ป่วยที่ได้รับผลจากสงคราม คณะเจ้าหน้าที่องค์การฯ ด้มุ่งศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดบริการแผนกฉุกเฉินตลอด 24 ชม เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะวิกฤติก่อนส่งต่อผู้ป่วย  ศูนย์สุขภาพปฐมภูมิอัล เอธาร์ (Al Athar PHCC ) พื้นที่อัล มาวาซี เมืองข่าน ยูนิส มีกำหนดเปิดทำการสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนและให้บริการด้านสุขภาพเช่นเดียวกับศูนย์สุขภาพปฐมภูมิอัล มาวาซี

    ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2567 องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ได้ทำการลำเลียงสิ่งของโดยตู้ขนส่งสิ่งของจำนวน7 ตู้ ใช้รถบรรทุกสิ่งของ 76 คันผ่านจุดผ่านแดนราฟาห์เข้าไปยังเมืองราฟาห์ ก่อนหน้านี้จุดผ่านแดนราฟาห์เคยเป็นจุดผ่านหลักของเจ้าหน้าที่ดำเนินงานด้านมนุษยธรรมก่อนถูกปิดลงเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากนั้นการลำเลียงสิ่งของลดลงอย่างมากจากรถบรรทุก 24 คันในเดือนมีนาคมเหลือเพียง 2 คันในเดือนพฤษภาคม 

    ทุกเดือน องค์การแพทย์ไร้พรมแดนสามารถส่งมอบเวชภัณฑ์รวมถึงยารักษาโรค ชุดผ่าตัด ความช่วยเหลือด้านขนส่งสิ่งของและการจัดส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินเหมาลำ 1 ลำพร้อมสิ่งของที่จัดซื้อในพื้นที่อีกจำนวนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การลำเลียงสิ่งของเข้าไปในกาซายากลำบากมากขึ้นจากข้อจำกัดที่ถูกกำหนดขึ้น การจำกัดการเดินทางและจุดผ่านแดนที่เปิดเพียงบางส่วน

    สถานการณ์ในเขตเวสต์แบงก์

    การปะทะอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังอิสราเอล ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอล และชาวปาเลสไตน์เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในกรุงเยรูซาเลม เฮ็บรอน นาบะลัส และรอมัลลอฮ์ (Ramallah) ณ วันที่ 23 ตุลาคม นับตั้งแต่ความขัดแย้งเริ่มต้นในวันที่ 7 ตุลาคม ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 94 รายและบาดเจ็บ 1,700 ราย กองทัพอิสราเอลได้ประกาศให้เขตเวสต์แบงก์เป็นพื้นที่ปิด จุดตรวจเพื่อเข้าพื้นที่ยังคงปิดทำการ และไม่อนุญาตให้คนงานข้ามไปยังอิสราเอล ใบอนุญาตทำงานของชาวปาเลสไตน์ถูกระงับ และหลายคนถูกสั่งให้ออกจากอิสราเอล ทีมงานของเราในเฮ็บรอนได้ติดต่อกับกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในเขตเวสต์แบงก์เพื่อประเมินความต้องการในแต่ละวัน

    ในขณะเดียวกัน องค์การฯ กำลังเตรียมสิ่งของบริจาคบางส่วนเพื่อส่งมอบให้กับสถานพยาบาลหลายแห่ง นอกจากนี้ เรายังให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตระยะไกลแก่ประชาชน รวมถึงบริการให้คำปรึกษาทางจิตเวชเบื้องต้นและลดความเครียดสำหรับผู้คนที่ยังต้องใช้ชีวิตกลางความขัดแย้งนี้ นอกจากนี้เรายังติดต่อกับส่วนกลางของชุมชนในกรณีที่มีการขอการสนับสนุน

    ปฏิบัติการขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในเวสต์แบงก์

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังคงดำเนินกิจกรรมในเขตเวสต์แบงก์ โดยเน้นไปที่การรักษาพยาบาลฉุกเฉินและการรักษาสุขภาพจิตในเมืองเฮบรอน (Hebron) เมืองนาบลูส (Nablus) เมืองทูลคาร์ม (Tulkarm) และ เมืองเจนิน (Jenin)

    เมืองเฮบรอน: ทีมงานองค์การแพทย์ไร้พรมแดนทุ่มเทในการให้การรักษาพยาบาลผ่านบริการคลินิกเคลื่อนที่จำนวน 10 หน่วย สนับสนุนศูนย์บริการสุขภาพทั่วไปอีก 4 แห่ง เพื่อดำเนินการและส่งเสริมขีดความสามารถในการให้บริการห้องพยาบาลฉุกเฉินและห้องบริการเวชศาสตร์มารดาในโรงพยาบาลฮาลฮูล (Halhoul Hospital)เพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาลมอกตาเซบ (Moktaseb Hospital) การช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต เพิ่มศักยภาพในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน และสนับสนุนและคุ้มครองประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือ

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนให้บริการด้านสุขภาพจิตซึ่งประกอบไปด้วย การให้คำปรึกษาสุขภาพจิตเบื้องต้น การให้คำปรึกษาและจิตบำบัดแก่ประชาชน ทั้งนี้ รวมไปถึงสายด่วนสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการแพทย์ ด้านสุขภาพจิตหรือบริการด้านสังคม โดยผู้ป่วยบางรายอาจมีการพิจารณาส่งตัวต่อไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสมได้

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังคงขยายความช่วยเหลือด้านการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องให้กับประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงสถานพยาบาลได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 มีการเพิ่มพื้นที่สำหรับคลินิกเคลื่อนที่จำนวน 6 หน่วย ทำให้มีคลินิกรวมทั้งหมด 10 แห่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งในตัวเมืองเก่าเฮบรอนและพื้นที่รอบนอก นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงพื้นที่หมู่บ้านห่างไกลของเมืองมาซาเฟอร์ ยัตตา (Masafer Yatta) ทางตอนใต้ของเขตเวสต์แบงก์

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้บริจาคเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลอลิอา (Alia hospital) ให้กับหน่วยประสานงานหลักของชุมชนในเมืองเบท โอมาร์ (Beit Omar) เมือง อัล ราชเดห์ (Al-Rshaydeh) และ บริจาคแก่ศูนย์การรักษาพยาบาลฉุกเฉินในเมืองอูม เอ แคห์ (Um El-Khair) นอกจากนั้น องค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมอกตาเซบซึ่งตั้งในเมืองเก่าเฮบรอนด้วยเช่นกัน

    นอกเหนือจากการขยายบริการทางการแพทย์ตั้งแต่เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมเป็นต้นมา คณะเจ้าหน้าที่ได้เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชน ส่งมอบเครื่องบรรเทาทุกข์ ชุดสุขอนามัยและอาหารให้ชาวกาซาพลัดถิ่นและผู้คนที่อาศัยในเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและการถูกบังคับให้พลัดถิ่น

    เมืองเนบลูส: มีการจัดตั้งกลุ่มให้บริการคำปรึกษาสุขภาพจิตเบื้องต้น ใน 3 เขตของเมืองเนบลูส เมืองทูบาส (Tubas) และ เมืองกัลกิลยา (Qalqiliyah)

    เมืองเจนินและเมืองทูลคาร์ม: คณะเจ้าหน้าที่องค์การฯ สนับสนุนงานห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล คาลิด สุไลมาน (Khalid Suleiman hospital) ในค่ายผู้ลี้ภัยเจนิน และ โรงพยาบาลธาเบท(Thabet hostpital) เขตการปกครองเมืองทูลคาร์ม  องค์การฯ ได้บริจาคยารักษาโรคและอุปกรณ์ให้ศูนย์บริการสุขภาพทั่วไป 7 แห่ง เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยยามฉุกเฉิน จากการคาดการณ์ว่าจะมีการปิดถนนและหญิงตั้งครรภ์อาจไม่สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ทันเวลา การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของศูนย์บริการสุขภาพเหล่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ให้การช่วยเหลือคนไข้ยามฉุกเฉินได้

    องค์การฯ ได้บริจาคชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้อาสาสมัครนักปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินในค่ายผู้ลี้ภัยนูร์ ชามส์ เมืองทูลคาร์ม และ ค่ายผู้ลี้ภัยเจนิน เพื่อใช้รักษาอาการของผู้ป่วยให้คงที่ก่อนถึงโรงพยาบาล

    สถานการณ์ในประเทศอียิปต์

    ปัจจุบัน องค์การแพทย์ไร้พรมแดนมีฐานปฏิบัติงานในอียิปต์เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ หน่วยย่อยขององค์การฯ มีความพร้อมในการส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์เข้าไปเพิ่มในกาซาหากได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้อย่างปลอดภัย ขณะนี้องค์การแพทย์ไร้พรมแดนดำเนินการติดต่อกับทางการอียิปต์และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เริ่มดำเนินงานในอียิปต์ได้ และสนับสนุนบริการสุขภาพกับชาวปาเลสไตน์ที่ป่วยหรือได้บาดเจ็บให้สามารถออกจากฉนวนกาซาเพื่อเข้ารับการรักษาได้

    บุคลากรทางการแพทย์ขององค์การฯ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในกาซา

    องค์การฯ ได้รับข้อมูลที่ยืนยันว่า ทีมงานนานาชาติจำนวนราว 20 คนซึ่งประจำอยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของกาซา  ได้เคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ตอนใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเวลากลางคืนวันพฤหัสบดีที่ 12 ถึงวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม  เพื่อรอการอพยพผ่านทางอียิปต์ต่อไป

    ในส่วนเจ้าหน้าที่ชาวปาเลสไตน์ขององค์การฯ นั้น ยังคงมีอุปสรรคในการทราบถึงสถานะที่แน่ชัดของทั้งกว่า 300 ชีวิต  อย่างไรก็ดีมีรายงานว่าบางส่วนอยู่ระหว่างการเดินทางออกจากพื้นที่เพื่อมุ่งหน้าสู่ทางใต้พร้อมกับสมาชิกครอบครัว  ซึ่งองค์การแพทย์ไร้พรมแดนกำลังดำเนินการจัดหาที่พักชั่วคราวให้แก่พวกเขา  ในขณะที่ส่วนที่เหลือ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการแพทย์ ก็ยังคงอยู่ในพื้นที่ตอนเหนือเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บต่อไป  องค์การฯ ยังคงติดตามสถานะของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง

    คำสั่งของกองทัพอิสราเอลให้อพยพออกจากพื้นที่ ซึ่งมีต่อผู้คนในพื้นที่ตอนเหนือของฉนวนกาซาจำนวน 1.1 ล้านคน  จึงเป็นคำขาดที่ไม่ไยดีต่อผลและไม่อาจรับในเงื่อนไขได้  อีกทั้งยังจะเป็นการซ้ำเติมวิกฤตการณ์แห่งมนุษยธรรมที่มีอยู่แล้วให้เลวร้ายหนักลงไปอีก หากจะให้ผู้คนจำนวนมากเช่นนั้นต้องไปเบียดอัดกันอยู่ในพื้นที่เพียงไม่กี่ตารางกิโลเมตร  

    ปฏิบัติงานขององค์การฯ ในดินแดนปาเลสไตน์ก่อนหน้าการสู้รบในวันที่ 7 ตุลาคม

    นับตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้ดำเนินการการรักษาเยียวยาทั้งสุขภาพกายและจิตกับผู้คนซึ่งประสบภัยสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานในดินแดนปาเลสไตน์ ทางองค์การฯ มีทีมงานประจำอยู่ที่โรงพยาบาลจำนวน 3 แห่งและคลินิกเวชกรรมอีกหลายแห่งในกาซา ให้การสมทบในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บและผู้ป่วยมีบาดแผลไฟไหม้โดยบุคลากรการแพทย์จากหลากสาขา ทั้งทางศัลยศาสตร์ กายภาพบำบัด การให้กำลังใจเชิงจิตวิทยา กิจกรรมบำบัด และสุขศึกษา  องค์การฯ ยังได้ดำเนินโครงการด้านศัลยศาสตร์ตกแต่ง (reconstructive surgery) ตั้งแต่ปี 2561 ในพื้นที่ตอนเหนือของกาซา

    องค์การฯ กับปฏิบัติภารกิจทางการแพทย์ในอิสราเอล

    องค์การฯ ทำงานในฐานะองค์กรด้านมนุษยธรรมทางการแพทย์ ซึ่งให้การช่วยเหลือกับผู้ได้รับผลกระทบทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ  แต่ด้วยทรัพยากรในการดำเนินงานที่มีอยู่จำกัด จึงจำเป็นต้องจัดสรรตามความจำเป็นเร่งด่วนมากที่สุดก่อน ทางองค์การฯ ได้ติดต่อไปยังทางการของอิสราเอลและได้รับการตอบรับว่าทางอิสราเอลยังสามารถดำเนินการทางสาธารณสุขได้โดยไม่ขอรับการสนับสนุนการทำงานจากองค์กรสมทบ ขณะนี้องค์การฯ จึงยังไม่มีการปฏิบัติภารกิจการแพทย์ในอิสราเอล ในขณะที่ระบบสาธารณสุขของปาเลสไตน์ทั้งในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอยู่ในสภาพล้มลุกคลุกคลานมาตลอดกว่า 70 ปีที่ผ่านมาจากการถูกยึดครองดินแดน ประกอบกับการถูกปิดล้อมทางเข้าออกเป็นเวลาอีกกว่า 10 ปี  ศักยภาพในการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานจึงมีไม่เพียงพอสำหรับพลเมืองทั้งหมด

    Regions in Palestine where MSF had projects in 2022

    ลำดับเวลาของเหตุขัดแย้ง

    สนับสนุนการทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของพวกเรา

    สนับสนุนพวกเราในการส่งต่อเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้วยการบริจาคตอนนี้