Skip to main content

    กาซา: จุดจบที่มองไม่เห็น การพลัดถิ่นซ้ำซ้อนที่ตอกย้ำความบอบช้ำทางจิตใจ

    Destruction in Gaza.

    ประชากรชาวปาเลสไตน์บางส่วนทางเดินกลับไปยังเมืองข่าน ยูนิส ที่หลงเหลือเพียงซากปรักหักพัก ภายหลังจากที่กองทัพอิสราเอลถอนกำลังออกจากพื้นที่ - ดินแดนปาเลสไตน์ เมษายน 2567 © Ben Milpas/MSF

    แม้แต่หน่วยงานขององค์การฯ ที่ทำงานอยู่ในกาซา ที่กำลังพยายามส่งต่อการดูแลรักษาที่จำเป็นแก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีอย่างไม่หยุดยั้งของอิสราเอล (Israel) ก็ต้องหนีเอาชีวิตรอดเช่นกัน

    คามิล* (Kamil) คือพยาบาลห้องฉุกเฉินขององค์การฯ ส่วนไฮเดอร์* (Haider) มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การฯ ที่ได้ให้การรักษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บสาหัสที่โรงพยาบาลอัล ซิฟา  (Al-Shifa) ในกาซาระหว่างที่มีการโจมตีทางอากาศในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2566 นับตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบันพวกเขาต้องพลัดถิ่นมาแล้วกว่า 18 ครั้ง

    เมื่อสงครามเริ่มขึ้น เราก็ยังคงอยู่อาศัยที่บ้านของตัวเองต่ออีก 4 วัน คามิลกล่าว ณ ตอนนั้น ลูกๆ ของฉันมักจะตื่นขึ้นมาและรอให้ฉันไปหา แล้วฉันก็กอดและปลอบพวกเขา เบนความสนใจด้วยการบอกว่าเป็นเพียงเสียงพลุ ไม่ใช่ระเบิด หากมันเป็นเรื่องที่ยากมากเหลือเกิน

    The streets around Nasser Hospital are flooded with sewage.

    น้ำเสียท่วมถนนรอบโรงพยาบาลนาสเซอร์ ระบบการระบายน้ำทั้งหมดได้รับความเสียหายภายหลังจากที่กองทัพอิสราเอลเปิดปฏิบัติการโจมตีแสนรุนแรงและการโจมตีด้วยระเบิด - ดินแดนปาเลสไตน์ พฤษภาคม 2567 © Ben Milpas/MSF

    ในวันที่ 5 ของสงคราม หลังคาชั้นบนสุดของตึกที่คามิลอยู่ก็ถูกโจมตีด้วยจรวดโดรน เขาและบรรดาลูกได้ย้ายไปอยู่ที่สำนักงานขององค์การฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่คนอื่นในทีม รวมไปถึงไฮเดอร์ที่ย้ายมาตัวคนเดียว ส่วนภรรยาและลูกทั้งหมดของเขายังคงอาศัยอยู่ที่บ้าน ในย่านที่ปลอดภัยกว่าทางตอนเหนือของกาซา

    คามิล ไฮเดอร์ และเจ้าหน้าที่ขององค์การฯ คนอื่นยังคงทำงานทุกวันในคลินิกที่เคยถูกเผาใต้เปลวไฟมาแล้ว รวมถึงโรงพยาบาลอัล ซิฟา  ซึ่งเต็มไปด้วยผู้ป่วยวิกฤติจากไฟไหม้และกระสุนปืน

    ผู้ป่วยที่ฉันพบเจอในช่วงสงครามครั้งนี้แตกต่างจากสงครามหลายครั้งก่อนหน้าคามิลเล่า ส่วนใหญ่มีอาการของแผลไหม้รุนแรง บาดเจ็บจากกระสุนปืน อีกหลายคนต้องสูญเสียอวัยวะหรือปรากฎแผลติดเชื้อ ฉันจะไม่มีทางลืมกลิ่นที่เกิดจากการติดเชื้อ มันไม่ต่างอะไรกับกลิ่นของน้ำมันไร้คุณภาพ

    “ที่คลินิกพวกเรารักษาผู้ป่วยราว 30-40 รายต่อวัน ในขณะที่ยังคงทำงานและรักษาอีกหลายสิบชีวิตที่โรงพยาบาลอัล ซิฟา” ไฮเดอร์กล่าว “พวกเราทำงานต่อเนื่องเช่นนี้มานานกว่า 40 วัน จนกระทั่งอันตรายคืบใกล้ กองทัพอิสราเอลเริ่มเข้าใกล้โรงพยาบาลของพวกเรา”

    ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ และครอบครัวอย่างน้อย 75 คน อาศัยอยู่ในคลินิกและบ้านพักรับรองขององค์การฯ ในขณะที่ด้านนอกเต็มไปด้วยการต่อสู้อย่างดุเดือด "สถานการณ์มันเลวร้าย พวกเราใช้ชีวิตอยู่กลางความหวาดกลัว" เขาย้อนความหลัง "ถ้าพวกเราเปิดประตูเมื่อไหร่ กระสุนปืนก็พร้อมจะสาดเข้ามาทุกเมื่อ เหมือนที่พวกเขาเล็งผู้คนที่เดินอยู่บนท้องถนน"

    ในอีกไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น ความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดแย่ลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลานั้น พวกเราแทบไม่มีน้ำสำหรับดื่มและชำระร่างกาย ไฮเดอร์กล่าว อาหารมีไม่เพียงพอ และ 2 อาทิตย์ถัดมา เราก็ไม่มีน้ำหลงเหลืออีกเลย

    ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน สถานการณ์ที่ยกระดับขึ้นส่งผลให้พวกเราไม่สามารถดำเนินการต่อได้ในเมืองกาซาซิตี้ จากการต่อสู้และเหตุระเบิดรอบโรงพยาบาลอัล ซิฟา คลินิกขององค์การฯ สำนักงานและบ้านรับรอง ทำให้พวกเราต้องตัดสินใจอพยพออกนอกพื้นที่

    "ในสัปดาห์นั้นมีคนในครอบครัวฉัน 20 ชีวิตจากฉันไป คุณย่าของฉันโศกเศร้ามากและไม่นานเธอก็เสียชีวิตเช่นกัน ระหว่างที่ชีวิตประดังประเดไปด้วยความสูญเสียครั้งแล้วครั้งเล่า ฉันยังคงทำงานต่อไป"

    เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ขบวนรถขององค์การฯ ได้ออกเดินทางไปทางตอนใต้ของกาซา ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานรัฐของอิสราเอลเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ขบวนรถถูกบีบบังคับให้ย้อนกลับไปยังต้นทางเนื่องจากมีการขัดขวางบริเวณจุดตรวจของกองทัพอิสราเอล จนไม่สามารถเดินทางต่อตามที่วางแผนไว้ได้

    สมาชิกบนรถคันหนึ่งคือคามิลและพยาบาลขององค์การฯ อย่างอะลา อัล-ชาวา (Alaa Al-Shawaaรวมถึงครอบครัวของทั้งสองคน โดยระหว่างทางกลับไปยังบ้านพักที่เพิ่งจากมา ห่างจากคลินิกประมาณ 500 เมตร พวกเขาเห็นรถถังของกองทัพอิสราเอล 2 คันจอดอยู่ภายนอกของโรงพยาบาลอัล ซิฟาพร้อมกับพลซุ่มยิงบนยอดตึกโดยรอบ

    ในจังหวะนั้น กองทัพอิสราเอลได้โจมตีใส่รถของคามิล โดยอะลาบาดเจ็บจากการโดนยิงเข้าที่ศีรษะ ฉันสัมผัสได้ว่ามีกระสุนวิ่งผ่านหน้าผากของฉันไป และกระสุนลูกหนึ่งทะลุเข้าศีรษะของอะลา คามิลกล่าว

    “อะลาหมดสติไป ช่วงศีรษะของเขาทิ้งดิ่งลงมายังแขนของฉันที่บังคับพวงมาลัยอยู่ ดังนั้นการบังคับรถจึงเป็นเรื่องที่ยากขึ้น คามิลเล่าต่อว่า ในรถเต็มไปด้วยเลือด ฉันพยายามอย่างมากที่จะเลี้ยวไปยังคลินิกขององค์การฯ และต่อท้ายขบวนรถ 3 คันแรกที่สามารถล่วงหน้าไปก่อนเริ่มยิง

    คามิลและผู้ร่วมขบวนสามารถหนีการโจมตีมาได้และมาถึงคลินิกขององค์การฯ อย่างปลอดภัย หลังจากจอดรถพวกเขารีบนำอะลาจากที่นั่งผู้โดยสารไปยังคลินิก แต่พวกเขาไม่สามารถช่วยชีวิตอะลาไว้ได้

    เมื่อฉันเห็นว่าเขาตายแล้ว ฉันทำอะไรไม่ถูกเลย ไฮเดอร์กล่าว ฉันควบคุมตัวเองไม่ได้ ฉันคิดอะไรไม่ออกและล้มลงตรงข้างถนน

    หลายวันต่อจากนั้น เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ และครอบครัวยังคงพักอยู่ที่คลินิกและบ้านรับรอง หากกองทัพอิสราเอลก็เดินทางมาด้านนอกคลินิกพร้อมกับรถปรับหน้าดิน กองทัพอิสราเอลใช้รถคันดังกล่าวในการขนเหล่ารถยนต์ขององค์การฯ มากองไว้ที่เดียวกันและทำการเผาทำลาย

    หลังจากเหตุยิงโจมตีรอบคลินิกขององค์การฯ และบ้านรับรองไม่กี่วัน ในวันที่ 24 พฤศจิกายน อิสราเอลและกลุ่มฮามาส (Hamas) บรรลุข้อตกลงเพื่อให้มีการหยุดยิงเป็นการชั่วคราวในกาซา กองทัพอิสราเอลได้ถอยออกจากพื้นที่และได้มีการจัดขบวนรถอีกครั้งร่วมกับทางการอิสราเอลเพื่อให้ทีมขององค์การฯ และครอบครัวได้อพยพไปทางตอนใต้ และครั้งนี้พวกเขาทำได้สำเร็จ

    เมื่อทีมขององค์การฯ ไปถึงทางตอนใต้ของกาซา พวกเขาเข้าไปที่ศูนย์พักพิงโลตัส (Lotus) ขององค์การฯ ในเมือง ข่าน ยูนิส (Khan Younis) และยังคงทำงานต่อไป คามิลเดินทางไปยังโรงพยาบาลยูโรเปียนกาซา (European Gaza) เป็นประจำทุกวัน เพื่อดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ไฮเดอร์ยังคงขับรถรับส่งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ไปยังโรงพยาบาลอินโดนีเซียน (Indonesian) และดูแลรักษาความปลอดภัย

    1 สัปดาห์ต่อมา ไฮเดอร์ได้รับข่าวร้าย

    ฉันไม่อยากเชื่อเท่าไหร่ว่าตัวเองเคยรับมือกับเรื่องเลวร้ายเหล่านั้นมาได้ ไฮเดอร์กล่าว ฉันได้รับข่าวว่าน้องสาวของฉันและลูกของเธอถูกสังหารในเมืองกาซา มันเป็นเรื่องน่าเศร้าใจเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น หนึ่งในหลานสาวของฉันและลูกของเธอก็ถูกสังหารเช่นกัน ต่อมา ญาติของฉันทางตอนใต้อย่างหลานชาย ภรรยา และลูกของเขาก็ได้ถูกสังหารหลังจากรถปรับหน้าดินพุ่งเข้าชนภายในตัวบ้าน ในสัปดาห์นั้นมีคนในครอบครัว 20 ชีวิตจากฉันไป คุณย่าของฉันโศกเศร้ามากและไม่นานเธอเสียชีวิตเช่นกัน ระหว่างที่ชีวิตประดังประเดไปด้วยความสูญเสียครั้งแล้วครั้งเล่า ฉันยังคงทำงานต่อไป

    View of the inside of Nasser Hospital in Gaza, Palestine, after a siege by the Israeli forces.

    บรรยากาศภายในโรงพยาบาลนาสเซอร์ ภายหลังจากที่กองทัพอิสราเอลบุกเข้าโจมตี - ดินแดนปาเลสไตน์ พฤษภาคม 2567 © Ben Milpas/MSF

    ในวันที่ 8 มกราคม หรือราว 2 เดือนภายหลังจากที่คามิลและไฮเดอร์ได้มาถึงทางตอนใต้ของกาซา รถถังของอิสราเอลได้ยิงเข้าใส่ศูนย์พักพิงโลตัส ส่งผลให้ลูกสาววัย 5 ขวบของเจ้าหน้าที่องค์การฯ รายหนึ่งเสียชีวิต รวมถึงมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 3 ราย หลังถูกโจมตีเจ้าหน้าที่ขององค์การฯ และครอบครัวกว่า 125 ชีวิตได้ย้ายไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยอะคาส์ (ACAS) ในเมืองราฟาห์ (Rafah) ซึ่งห่างจากชายแดนของอียิปต์(Egypt) ประมาณ 1 กิโลเมตร โดยเขาใช้ชีวิตอยู่ที่นี้ราว 2 เดือน

    พวกเรารู้สึกหวาดกลัวตลอดเวลาแต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่น ไฮเดอร์ย้อนความรู้สึก ชีวิตตอนนั้นถูกล้อมด้วยระเบิดและการระดมยิง พวกเขาระเบิดตึกที่อยู่ข้างกันและสาดกระสุนใส่มหาวิทยาลัย พวกเราอยู่แบบนี้มาสักพักหนึ่งแล้วจนกระทั่งกองทัพประกาศการเข้ายึดครองราฟาห์

    ตั้งแต่การยึดครองราฟาห์ คามิล ไฮเดอร์ และชาวปาเลสไตน์หลายพันคน ถูกบีบให้ต้องพร้อมอพยพตลอดเวลา เนื่องจากเหตุระเบิดและการโจมตีที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งทางตอนใต้และตอนกลางของกาซา

    คุณสามารถสร้างบ้านใหม่ได้ สร้างอะไรขึ้นใหม่ได้ แต่สิ่งที่คุณนำกลับมาไม่ได้คือชีวิตผู้คนที่จากพวกเราไป พวกเขากลับมาไม่ได้ตลอดกาล”

    ไฮเดอร์อาศัยอยู่ในเต็นท์ในช่วงที่ต้องย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งทั่วพื้นที่อัล มาวาชิ (Al-Mawasi)ฉันกลายเป็นผู้ถูกบังคับให้พลัดถิ่น 8 ครั้ง หรือเฉลี่ยเดือนละครั้ง เขากล่าว เมื่อ 2 วันที่แล้วพวกเราก็พึ่งจะย้ายมาตรงนี้ ฉันยังไม่ได้นอนมาเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมงแล้ว เพราะต้องย้ายจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งหลังเกิดเหตุระเบิด ฉันยังคงนึกถึงภรรยาและลูกที่อยู่ทางตอนเหนือของกาซาตลอดเวลา มันเป็นเรื่องที่ทรมานหัวใจเหลือเกิน

    การเดินทางที่ดูไร้จุดจบยิ่งตอกย้ำความสิ้นหวังของไฮเดอร์และผู้คนอีกหลายพันชีวิต

    เนื่องจากถูกบังคับให้ออกจากราฟาห์ คามิลและลูกของเขาต้องย้ายที่อยู่หลายครั้ง ทั้งในพื้นที่ของค่ายอัล มาวาชี และอัล บูเรจี (Al-Bureij) และบริเวณโดยรอบ แม้ว่าปัจจุบันพวกเขาอยู่ที่ค่ายอัล บูเรจี แต่เขาก็ยังคงเครียดว่าไม่มีที่ไหนปลอดภัยจากระเบิดเลย

    ไม่มีที่ไหนปลอดภัยและสภาพความเป็นอยู่ย่ำแย่มาก คามิลกล่าว พวกเราไม่มีอาหาร น้ำ ยา หรือเสื้อผ้าที่เพียงพอ ไม่มีรองเท้า ไม่มีอะไรเลย มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากที่เห็นลูกของฉันแบบนี้

    คามิลทำได้เพียงคาดเดาว่าลูกของเขาบอบช้ำทางจิตใจขนาดไหนที่ต้องพบประสบการณ์เหล่านี้ มันน่าเจ็บปวดคามิลกล่าว อย่างเมื่อวาน ระหว่างพวกเขาเล่นอยู่กับหลานชายของฉัน สิ่งที่ฉันได้ยินคือพวกเขาเล่าเรื่องของอะลาอีกแล้ว มันคงกระทบจิตใจพวกเขามาถึงทุกวันนี้

    จากข้อมูลของสหประชาชาติ (United Nation หรือ UN) นับตั้งแต่สงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสเริ่มขึ้น ร้อยละ 90 ของชาวกาซาพลัดถิ่นมาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยส่วนใหญ่ถูกบังคับให้ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ สำหรับไฮเดอร์ ความปรารถนาเดียวของเขาคือการได้กลับไปอยู่กับครอบครัวในกาซาและสิ้นสุดเหตุการณ์นองเลือดลงเสียที

    “พอเสียทีเถอะ พอกันทีกับตัวเลขคนที่ถูกสังหาร พอกันทีกับเสียงระเบิด พอกันทีกับการใช้กระสุนปืน ไฮเดอร์กล่าว คุณสามารถสร้างบ้านใหม่ได้ สร้างอะไรขึ้นใหม่ได้ แต่สิ่งที่คุณนำกลับมาไม่ได้คือชีวิตผู้คนที่จากพวกเราไป พวกเขากลับมาไม่ได้ตลอดกาล

    *นามสมมติ

     

    สนับสนุนการทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของพวกเรา

    สนับสนุนพวกเราในการส่งต่อเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้วยการบริจาคตอนนี้