Skip to main content

    สตรีแนวหน้า: การหยัดยืนอยู่เหนือความขัดแย้งเพื่อรักษาใจของกันและกัน

    A portrait of Doctors Without Borders community health volunteer in Democratic Republic of Congo. © MSF/Marion Molinari

    เฮนเรียตต์ มิตเซ่ (Henriette Mbitse) หรือ มามาน เฮนเรียตต์ (Maman Henriette) เป็นหนึ่งในกลุ่มประชาชนที่หนีความขัดแย้งทางการทหารจากบริเวณนอร์ กีวู (North Kivu) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of the Congo, DRC) และต้องใช้ชีวิตอยู่ใต้สถานการณ์ที่ยากลำบากอย่างมากในค่ายผู้พลัดถิ่นในโกมา (Goma) ตอนนี้เธอปฏิบัติงานเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คอยช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากความขัดแย้งให้ได้รับความปลอดภัย และส่งตัวผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษาโดยไม่ระบุตัวตนไปยังโครงการการรักษาอันสืบเนื่องจากความรุนแรงทางเพศขององค์การแพทยไร้พรมแดน -  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 2566 © MSF/Marion Molinari

    แม้ความขัดแย้งจะปะทุหรือเกิดสงคราม การส่งเสริมให้ความดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของผู้หญิงควรคงดำรงอยู่ หากในความเป็นจริงมันกลายเป็นหัวข้อในการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เมื่อผู้หญิงต้องดิ้นรนเสาะหาอาหารที่มีปริมาณมากเพียงพอ น้ำดื่มที่ปลอดภัย สุขอนามัยขั้นพื้นษฐาน และไม่สามารถเข้าถึงบริการการคุมกำเนิด การดูแลคลอดบุตร หรือว่าการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงการเผชิญกับความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงในครอบครัว ส่งผลให้ผู้หญิงมีอัตราแนวโน้มการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่มากขึ้น อุปสรรคดังกล่าวคือสาเหตุที่ทำให้พวกเธอต้องการบริการทางการแพทย์ครบวงจรและการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตที่เข้มงวด เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นแสนสำคัญที่จะคอยส่งเสริมให้ปฎิบัติการด้านมนุษยธรรม

    ในประเทศชาด (Chad) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of the Congo, DRC) ปาเลสไตน์ (Palestine) และหลายพื้นที่ที่ตกอยู่ใต้ภาวะความขัดแย้งและสงคราม องค์การฯ พบว่าการก่อร่างและขยายบริการทางด้านสุขภาพสำหรับผู้หญิงจะดำเนินต่อไปได้เมื่อได้รับการสนับนุนจากผู้หญิงด้วยกันเองในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ พวกเธอคือจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในปฏิบัติการ โดยพวกเธอต่างแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิต ทักษะ ความรู้ในท้องถิ่น และสร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้กับผู้หญิงจำนวนมาก เพื่อให้การเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการสนับสนุนจากประชาคมเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการดึงผู้หญิงเหล่านี้ออกจากความทุกข์ทรมานอย่างโดดเดี่ยวอีกด้วย

    "ความปรารถนาของฉัน คือได้เห็นแม่และเด็กปลอดภัย"

    คอดิจา ยาเฮีย อดัม (Khadija Yahia Adam) คือพยาบาลผดุงครรภ์ผู้มากประสบการณ์ และเป็นหนึ่งในผู้ลี้ภัยชาวซูดานมากกว่า 600,000 ชีวิตที่พยายามเอาชีวิตรอดในประเทศซูดาน ผู้ลี้ภัยหญิงส่วนใหญ่ทางภาคตะวันออกของชาดเลือกการทำคลอดที่บ้าน โดยรับการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์ในชุมชน อย่างไรก็ตาม ในค่ายผู้ลี้ภัยอาเดร (Adré) พยาบาลผดุงครรภ์ไม่มีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการทำงานและพื้นที่ปฏิบัติงานไม่ได้ถูกสุขลักษณะ ส่งผลให้มารดาและบุตรตกอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้น ด้วยเงื่อนไขบางประการคอดิจาไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างถูกกฎหมายในประเทศชาดได้ แต่เธอยังคงมีตำแหน่งอาสาสมัครจากการเข้ารับการฝึกอบรมจากองค์การฯ ซึ่งเธอคอยสนับสนุนการฝากครรภ์และการดูแลหลังการคลอดที่จำเป็น ตลอดจนการส่งต่อมารดาตั้งครรภ์ให้ได้รับบริการที่ปลอดภัยในแผนกคลอดบุตรที่ดำเนินการโดยองค์การฯ

    การปฏิบัติงานในฐานะพยาบาลผดุงครรภ์ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ผู้เชื่อมต่อวัฒนธรรม และบทบาทอื่นๆ เกิดขึ้นผ่านการที่ผู้หญิงคอยสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายเป็นกันเอง และให้คำแนะนำส่วนบุคคล ซึ่งบางครั้งการทำงานเกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนตัวภายในบ้านของหญิงสาวเหล่านั้น พวกเธอจะส่งต่อผู้หญิงให้เข้ารับบริการที่เหมาะสม หรือเป็นส่วนหนึ่งในปฏิบัติการคุมกำเนิด การผดุงครรภ์และการดูแลหลังการคลอด การดูแลเมื่อเกิดความรุนแรงทางเพศและการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต

    พวกเธอคือกำลังสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพของผู้หญิง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และลดการส่งต่อความความเชื่อเรื่องตราบาปติดตัว พวกเธอยังส่งเสริมให้ผู้หญิงเข้ารับการศึกษาและมีความสามารถในการดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อให้พวกเธอไม่เพียงแค่ดูแลตัวเองแต่ยังรวมถึงผู้อื่นอีกด้วย

    "ฉันคือผู้พลัดถิ่น และฉันคืออาสามัครสาธารณสุข"

    ท่ามกลางผู้พลัดถิ่นจำนวนมากจากความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นทางตะวันออกของในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อาสามัครสาธารณสุขชุมชนอย่าง เฮนเรียตต์ มิตเซ่ คือขุมกำลังหลักของโครงการให้ความดูแลผู้ประสบเหตุความรุนแรงทางเพศขององค์การฯ ประจำคานยารูชินญา (Kanyaruchinya) ในยกระดับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ปลอดภัยและไม่ระบุตัวตนสำหรับผู้รอดชีวิต มามาน เฮนเรียตต์ ซึ่งเป็นชื่อที่เฮนเรียตต์ใช้เรียกตัวเอง เคยปฏิบัติหน้าที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในเขตบ้านของเธอก่อนที่จะต้องหลบหนีออกจากพื้นที่พร้อมกับครอบครัว โดยหนึ่งในผู้หญิงที่เธอเข้าไปช่วยเหลือคือคลารา (Clara) ผู้หลบหนีความขัดแย้งจากพื้นที่รุตชูรู (Rutshuru) ไปยังคานยารูชินญาพร้อมด้วยลูกทั้งแปดชีวิต เธอคือเหยื่อของการข่มขืนที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทำงานเก็บท่อนไม้ในป่าเพื่อนำออกมาขาย "ฉันรู้สึกขอบคุณอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนที่พาฉันมายังโครงการขององค์การฯ เพื่อประโยชน์ของตัวฉันเอง"

    ความร่วมมือของอาสาสมัครชุมชนแสดงให้เห็นถึงความพยายามสร้างพลังงานทางบวกให้กับผู้คนที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้งและการพลัดถิ่น การเอาชีวิตรอดจากความรุนแรง ความโศกเศร้าจากการสูญเสียสมาชิกในครอบครัวหรือเรื่องราวที่ร้ายแรงกว่านั้น การเปลี่ยนสถานะเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องปกป้อง คุ้มครอง และดูแลบุตรหลาน และการใช้ชีวิตบนอนาคตที่ไม่มีความแน่นอน

    "เราต่างแบ่งปันความเจ็บปวดจากถูกขับไล่"

    นูรา อาราฟัต (Noura Arafat) คือเจ้าหน้าที่เชื่อมต่อวัฒนธรรมขององค์การฯ ที่อาศัยอยู่ในเมืองนาบลุส (Nablus) เขตเวสต์แบงก์ ดินแดนปาเลสไตน์มาตลอดชีวิต นับตั้งแต่สงครามเริ่มต้นขึ้นในกาซา สถานการณ์ในเมืองนาบลุสและเขตเวตส์แบงก์ยังคงเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง มีการจำกัดการเดินทาง และเกิดเหตุการยกระดับความรุนแรงจากกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานและกองทัพอิสราเอล การรับมือกับความสูญเสียเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้หญิงต้องเผชิญ และนูรากำลังช่วยให้ผู้หญิงในชุมชนเหล่านี้เข้าถึงโครงการให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตขององค์การฯ เพื่อส่งต่อความหวังในการดำรงชีวิต

    *นามสมมติ