Skip to main content

    ภารกิจค้นหาและกู้ภัย: คุณพกอะไรติดตัวมาบ้าง

    Dilba was rescued by Doctors Without Borders on 5 February 2024 while trying to cross the Mediterranean Sea on an overcrowded wooden boat in distress.

    ดิลบา (Dilba) ได้รับการช่วยเหลือจากองค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders / Médecins Sans Frontières - MSF) เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ขณะพยายามข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) ด้วยเรือไม้ผุพังที่อัดแน่นไปด้วยผู้ร่วมชะตากรรมอีกประมาณ 130 คน ลิขสิทธิ์ภาพ โมฮาหมัด ซิบลาค (Mohamad Cheblak) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สถานที่: ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดือนกุมภาพันธ์ 2567

    ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้ดำเนินภารกิจค้นหาและกู้ภัยในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง(Central Mediterranean Sea) และในเดือนพฤษภาคม 2564 องค์การฯ ได้เริ่มปฏิบัติงานด้วยการใช้เรือกู้ภัยจีโอ แบเรนท์ส (Geo Barents) ซึ่งได้ช่วยชีวิตผู้คนไปมากกว่า 11,300 คนแล้ว ภารกิจในแต่ละครั้งล้วนเต็มไปด้วยชีวิต เรื่องราว และความทรงจำมากมายนับไม่ถ้วน

    ผู้คนถูกบีบบังคับให้ลี้ภัยออกจากบ้านของตนและทิ้งทุกอย่างไว้เบื้องหลังเพื่อแสวงหาการคุ้มครองและความปลอดภัย คณะเจ้าหน้าที่ของเรามักจะถามผู้รอดชีวิตและผู้ป่วยบนเรืออยู่เสมอว่า คุณพกอะไรติดตัวมาด้วยบ้าง

    A wooden artwork with a writing in Arabic which translated to: Only love keeps us at home and abroad.

    อาเมอร์ (Amer) (นามสมมุติ) และน้องชายอายุ 26 ปีของเขาชื่อคาลิล (Khalil) (นามสมมุติ) อาศัยอยู่ในเมืองดามัสกัส(Damascus) ในประเทศซีเรียจนถึงปี 2564 แล้วจึงเดินทางไปยังประเทศลิเบียเพื่อพยายามข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนองค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้ช่วยเหลืออาเมอร์และคาลิลจากเรือไฟเบอร์กลาสสภาพย่ำแย่ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566  ลิขสิทธิ์ภาพ โมฮาหมัด ซิบลาค (Mohamad Cheblak) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สถานที่: ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดือนธันวาคม 2566

    อาเมอร์* อายุ 31 ปี จากประเทศซีเรีย

    ในบางช่วงของชีวิต ตอนที่ผมทุกข์ทรมานและเกือบจะยอมแพ้ ของเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ทำให้ฉันยังมีความหวัง มันเป็นเครื่องเตือนใจว่าทำไมผมถึงเดินทางออกตามหาอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับผมและแฟนที่ยังรอคอยผมอยู่ในประเทศบ้านเกิดสิ่งของเหล่านี้มีความทรงจำและมีความหมายมากมายเหลือเกิน ผมพกสิ่งเหล่านี้ข้ามทะเลทรายและเดินเท้าผ่านหุบเขามากมาย ไม้แผ่นนี้ผุพังไปแล้วเพราะความร้อนและความชื้น แต่ผมจะซ่อมแซมมัน แฟนผมให้สมุดบันทึกเล่มนี้มาเพราะผมชอบเขียนบทกวีและวรรณกรรม

    *นามสมมติ

    Image of a SIM card

    พรีเชียส (Precious) เดินทางออกจากประเทศของตนเมื่อเดือนมกราคม 2565 เนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นและสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มั่นคง เธอติดอยู่ในประเทศลิเบียถึง 10 เดือนและต้องเผชิญกับความรุนแรงและถูกคุมขังองค์การแพทย์ไร้พรมแดนช่วยเหลือเธอจากเรือยางที่บรรทุกคนเกินจำนวน ในช่วงกลางดึกของวันที่ 15 ตุลาคม 2566 การลงเรือครั้งนี้เป็นความพยายามข้ามทะเลครั้งที่สี่ของเธอเพื่อไปยังทวีปยุโรป

    ลิขสิทธิ์ภาพ โมฮาหมัด ซิบลาค (Mohamad Cheblak) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สถานที่: ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดือนตุลาคม 2566

    พรีเชียส อายุ 27 ปี จากประเทศไนจีเรีย

    ฉันกลัวทำซิมการ์ดหาย เพราะในนั้นมีเบอร์โทรศัพท์ของครอบครัวและคนที่ฉันรักอยู่ ฉันเก็บรักษามันเป็นอย่างดีในช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดของการเดินทาง สิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวที่เชื่อมต่อฉันกับผู้คนที่ฉันทิ้งไว้ข้างหลังในประเทศของฉันได้ ตอนที่ถูกขังอยู่ในลิเบีย ฉันซ่อนมันไว้ในตะเข็บเสื้อ แล้วก็ได้ผล พวกเขาหามันไม่เจอ ฉันยังมีซิมอยู่ และฉันก็ดีใจเหลือเกินที่มันยังอยู่

    Bags of spices

    คาดิจาห์ (Khadijah) เคยทำงานเป็นบริกรในงานแต่งงานในประเทศลิเบีย เธอสูญเสียสามีคนแรกและพ่อแม่จากเหตุระเบิดในประเทศลิเบีย หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้นและเหตุการณ์รุนแรงอื่นๆ อีกหลายครั้ง เธอตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศคาดิจาห์และสามีคนที่สองของเธอพร้อมด้วยลูกสาวพยายามข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นครั้งแรกในช่วงเดือนกรกฎาคม2566 แต่พวกเขาถูกหน่วยยามฝั่งลิเบียสกัดไว้และถูกคุมขังในศูนย์กักกัน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้ช่วยเหลือครอบครัวของคาดิจาห์ขึ้นจากเรือไฟเบอร์กลาสที่มีสภาพย่ำแย่

    ลิขสิทธิ์ภาพ โมฮาหมัด ซิบลาค (Mohamad Cheblak) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สถานที่: ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดือนตุลาคม 2566

    คาดิจาห์ อายุ 35 ปี เกิดในประเทศโมร็อกโก แต่เคยอาศัยอยู่ในประเทศลิเบีย

    “ถุงพวกนี้มีค่ามากสำหรับฉัน ข้างในมีสมุนไพรและพืชพื้นบ้านหลายชนิด (ลาเวนเดอร์ ขึ้นฉ่าย กานพลู ผักเครส) ที่ยายของฉันเตรียมไว้ให้ ในโมร็อกโกเราใช้พืชพวกนี้ดูแลเส้นผมและผิว และบางชนิดก็ช่วยเรื่องการย่อยอาหาร นอกจากของพวกนี้แล้ว ฉันก็ไม่มีอะไรเหลือไว้ให้ดูต่างหน้าแทนครอบครัวได้อีกแล้วโดยเฉพาะยาย ตอนที่อยู่บนเรือฉันไม่สนเลยว่าเอกสารจะหายหรือไม่ ห่วงก็แต่ถุงพวกนี้”

    Hamid was rescued by Doctors Without Borders, along with over 50 other people, on the 17 November 2023 from a wooden boat in distress. Mediterranean Sea

    ฮามิด (Hamid) มาจากแคว้นปัญจาบในประเทศปากีสถาน เขาเดินทางออกนอกประเทศในปี 2565 โดยเดินทางไปยังเมืองดูไบก่อน จากนั้นจึงมาที่ประเทศอียิปต์และประเทศลิเบีย ในลิเบีย เขาทำงานในสถานีบริการน้ำมันก่อนจะพยายามล่องเรือข้ามทะเล ฮามิด พร้อมด้วยคนอื่นๆ อีกกว่า 50 คน ได้รับการช่วยเหลือจากองค์การแพทย์ไร้พรมแดน เมื่อวันที่ 17พฤศจิกายน 2566 จากเรือไม้ที่มีสภาพย่ำแย่

    ลิขสิทธิ์ภาพ โมฮาหมัด ซิบลาค (Mohamad Cheblak) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สถานที่: ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดือนพฤศจิกายน 2566

    ฮามิด อายุ 27 ปี จากประเทศปากีสถาน

    แหวนและสร้อยคอที่ฉันพกติดตัวมาเป็นของขวัญจากพี่ชายทั้งสองของฉัน แหวนกับสร้อยนี้ทำให้ฉันรู้สึกอยู่ใกล้กับครอบครัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทุกครั้งที่ใส่แหวนกับสร้อยฉันจะรู้สึกเหมือนได้พูดคุยกับพี่ๆ เสมือนว่าฉันได้เจอพวกเขา ตอนฉันอยู่ในลิเบีย ฉันไม่กล้าใส่แหวนหรือสร้อยเลยเพราะรู้ว่าจะมีคนมาเอาแหวนกับสร้อยไป แต่พอขึ้นมาบนเรือจีโอ แบเรนท์ส สิ่งแรกที่ฉันทำคือเอามันแหวนกับสร้อยมาใส่ เพราะที่นี่ทำให้ฉันอุ่นใจ

    Potraits of a family

    ดิลบา (Dilba)ได้รับการช่วยเหลือจากองค์การแพทย์ไร้พรมแดนเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ขณะพยายามข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วยเรือไม้สภาพย่ำแย่ที่บรรทุกเกินจำนวนกับผู้ร่วมชะตากรรมอีกประมาณ 130 คน

    ลิขสิทธิ์ภาพ โมฮาหมัดซิบลาค (Mohamad Cheblak) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สถานที่: ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดือนกุมภาพันธ์ 2566

    ดิลบา อายุ 30 ปี จากประเทศซีเรีย

    “ฉันมีรูปถ่ายของสามี ลูกๆ พี่น้อง เพื่อนสนิท และคนอื่นๆ แต่ที่มีค่าที่สุดคือรูปพ่อของฉันที่เสียไปแล้ว ฉันพกรูปเหล่านี้ติดตัวไปด้วยเพื่อไว้ดูต่างหน้า ตอนเกิดสงครามในซีเรีย ทุกคนพากันหนีตายไปคนละทิศละทาง ฉันหนีไปโคบานี (Kobanî) ฉันต้องลาออกจากมหาวิทยาลัย ทิ้งบ้าน เพื่อนๆ และที่ที่ฉันเติบโตมา สงครามทำให้เรากระจัดกระจายไปคนละทาง แต่ถึงฉันจะไม่ได้พบเจอพวกเขามาหลายปีแล้ว รูปถ่ายพวกนี้ก็ช่วยให้ความทรงจำเกี่ยวกับพวกเขาคงอยู่"

    , Doctors Without Borders teams rescued Mohammad and 134 people in distress from an overcrowded wooden boat in the Central Mediterranean.

    เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้ช่วยเหลือผู้อพยพจำนวน 134 คน ซึ่งอยู่ในสภาพย่ำแย่จากเรือไม้ที่บรรทุกเกินจำนวนเรือลอยอยู่กลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลางโมฮาหมัด (Mohammad) ก็เป็นหนึ่งในนั้น

    ลิขสิทธิ์ภาพ โมฮาหมัด ซิบลาค (Mohamad Cheblak) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สถานที่: ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดือนกุมภาพันธ์ 2567

    โมฮาหมัด อายุ 33 ปี จากประเทศซีเรีย

    “หมวกใบนี้มีความหมายกับผมมาก แม้จะไม่ใช่หมวกพื้นเมืองแต่ก็สวยดีเลยทีเดียว ผมมีหมวกใบนี้ตั้งแต่ออกจากซีเรียเมื่อสองปีก่อน แม่ผมเป็นคนให้มาและบอกให้รักษาไว้ให้ดี หมวกเป็นเหมือนเพื่อนร่วมทางของตลอดการเดินทาง แม้กระทั่งตอนอยู่ในสถานกักกัน ตอนที่ถูกกักตัวในลิเบีย ผมใช้หมวกใบนี้ปิดตานอนจะได้ไม่เห็นความแออัดยัดเยียดและสภาพที่เป็นอยู่ถ้าต้องเสียหมวกใบนี้ไปคงไม่มีหมวกใบไหนมาทดแทนได้”

    A woman wearing a watch

    ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 มาดริด (Madrid) กับสามี พร้อมด้วยลูกชายและแม่สามีได้ลงเรือไม้ที่มีสภาพผุพังจนไม่อาจสู้ต่อกระแสลมและน้ำทะเลได้ เรือออกจากชายฝั่งประเทศลิเบียเพื่อพยายามข้ามไปยังทวีปยุโรป อีกประมาณ 15 ชั่วโมงต่อมาทั้งสี่คนก็ได้รับการช่วยเหลือจากองค์การแพทย์ไร้พรมแดนกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง พร้อมด้วยคนอื่น ๆ อีก130 คน

    ลิขสิทธิ์ภาพ โมฮาหมัด ซิบลาค (Mohamad Cheblak) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สถานที่: ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเดือนกุมภาพันธ์ 2567 

    มาดริด อายุ 28 ปี จากประเทศซีเรีย

    “สามีของฉันชื่อโมอาตาซ (Moataz) เราเจอกันเมื่อนานมาแล้ว เขาให้นาฬิกาเรือนนี้เป็นของขวัญตอนที่เราตกหลุมรักกันแรกๆ จากนั้นเราก็แต่งงานกัน และฉันก็ใส่นาฬิกานี้ไว้ตลอดตั้งแต่นั้นมา ฉันใส่นาฬิกาติดตัวไปด้วยตอนเราไปลิเบีย ถึงจะกลัวว่าจะทำหายหรือถูกขโมยก็ตาม ตอนอยู่ในสถานกักกันที่ลิเบียฉันเป็นผื่นตามตัวแต่ก็ยังใส่ไว้ ฉันใส่นาฬิกาไว้ตลอด ทั้งตอนนอน ตอนซักผ้า หรือไม่ว่าจะทำอะไรๆ ก็ตาม เพราะนาฬิกาเรือนนี้เป็นสิ่งที่เชื่อมเราไว้ด้วยกันอย่างดี”

    A scorpion ring

    เซยาด (Ziyad) ได้รับการช่วยเหลือจากองค์การแพทย์ไร้พรมแดน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 จากเรือไม้สภาพย่ำแย่ซึ่งล่องมาจากชายฝั่งประเทศลิเบีย เขาออกจากประเทศอียิปต์เมื่อสองปีก่อน และครั้งนี้เป็นครั้งที่สองแล้วที่เขาพยายามข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตอนกลาง

    ลิขสิทธิ์ภาพโดยสเตฟาน เปโจวิช (Stefan Pejovic) องค์การแพทย์ไร้พรมแดน สถานที่: ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเดือนพฤษภาคม 2567

    เซยาด อายุ 24 ปี จากประเทศอียิปต์

    สำหรับผมแล้ว แมงป่องมีลักษณะพิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนสิงโตหรือนกอินทรีคนที่ให้แหวนวงนี้กับผมก็เป็นคนมีเอกลักษณ์และพิเศษสำหรับผมเช่นกัน แหวนวงนี้ทำให้ผมยังมีหวัง ไม่ใช่แค่ความโชคดี แต่เป็นความหวังและกำลังใจเมื่อรู้สึกสิ้นหวัง  ผมไม่มีวันแยกจากแหวนวงนี้ ถ้าผมแต่งงาน ผมก็จะใส่แหวนแต่งงานไว้ที่นิ้วอื่น