Skip to main content

    กาซา: สิ่งเหล่านี้คือหายนะ เป็นภาพที่ยากเกินกว่าจะบรรยาย

    A woman is carrying her child back home through the rubble in Gaza City.

    หญิงคนหนึ่งอุ้มลูกของเธอเดินผ่านพื้นที่ซากปรักหักพังเพื่อเดินทางกลับไปยังบ้านของเธอในบริเวณย่านชูจาอียะห์ (Shujaeyya) ถนนแบกแดด (Baghdad) ในเมืองกาซาซิตี้ - ดินแดนปาเลสไตน์ กันยายน 2567 © MSF

    มูสตาฟา ฮัสซัน อาบู ฮามาดะ (Mustafa Hassan Abu Hamada) และครอบครัวอาศัยอยู่ในค่ายจาบาเลีย (Jabalia camp) ทางตอนเหนือของกาซาในช่วงระหว่างการปิดล้อมที่โหดร้ายของกองกำลังอิสราเอลเมื่อไม่นานมานี้ การปิดล้อมทำให้เมืองถูกทำลายอย่างราบคาบประชาชนมากมายนับไม่ถ้วนถูกสังหารและได้รับบาดเจ็บ รวมถึงเจ้าหน้าที่องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders / Médecins Sans Frontières - MSF)

    “คนที่อยู่ข้างหน้าเราพยายามหนีจากย่านอัล อาวดา (Al-Awda) แต่พวกเขาถูกยิง เราเองก็เลยต้องย้อนกลับไปทางที่เรามา พวกเราเปรยกันว่า ‘กลับไปตายที่บ้านตัวเองกันเถอะ’ ผมอยากหลับไปตลอดกาลที่บ้านตัวเองมากกว่าถูกบังคับให้ต้องหนีจากบ้านตัวเอง” มุสตาฟาเล่า

     At Al Saraya in Gaza City, people are sitting on the rubble of their destroyed home, with their tent set up across from the debris.

    ในพื้นที่อัล ซารายา (Al Saraya) ของเมืองกาซาซิตี้ ประชาชนนั่งบนซากความเสียหายที่เคยเป็นบ้านเรือนของเขา ในขณะที่มีการตั้งเต็นต์เพื่ออยู่อาศัยในพื้นที่ตรงกันข้าม - ดินแดนปาเลสไตน์ พฤศจิกายน 2567 © MSF 

    ในพื้นที่กาซาตอนเหนือ ทหารอิสราเอลยังคงโจมตีภาคพื้นดินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2567 การโจมตีทางทหารอย่างรุนแรงที่ยังคงดำเนินต่อไปคือภาพสะท้อนของสงครามอันโหดร้ายที่กองกำลังอิสราเอลมุ่งกระทำกับพื้นที่กาซา และองค์การฯ เป็นประจักษ์พยานของการทำลายล้างชีวิตชาวปาเลสไตน์ให้ลบหายไปจากพื้นที่

    “พอกองกำลังอิสราเอลมาถึง สักประมาณชั่วโมงสองชั่วโมงต่อมาก็จะมีระเบิดกระจายไปทั่วบริเวณจากทุกทิศทาง” ซาบาห์ อัล ชาราวี (Sabah Al-Sharawi) ซึ่งอยู่ในบ้านพักของเธอในเบต ฮานูน (Beit Hanoun) ทางกาซาตอนเหนือ ขณะที่พื้นที่เป็นเป้าโจมตีทางอากาศ

    “ระเบิดลูกแรกเข้ามาทางห้องนั่งเล่น โดนขาของฉันทั้งสองข้างเลย” เธอเล่า “พวกเขาส่งเราไปที่โรงพยาบาล คามาล อัดวัน (Kamal Adwan Hospital)”

    MSF nurse is tending to a child patient's dressings at the clinic in Gaza City.

    พยาบาลขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนทำการพันแผลให้กับเด็กรายหนึ่ง ภายในคลินิกขององค์การฯ ในเมืองกาซาซีตี้ หลักจากที่บ้านของพวกเขาในเบต ฮานูน (Beit Hanoun) ตกเป็นเป้าหมายของการโจมี โดยเด็กรายนี้ได้รับบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้ - ดินแดนปาเลสไตน์ ธันวาคม 2567 © MSF

    “ระหว่างทางเราเห็นร่างไร้วิญญาณอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง มีหมารุมแทะคุ้ยเขี่ยร่าง อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ก็บินฉวัดเฉวียนอยู่เหนือหัวพวกเรา เฮลิคอปเตอร์ก็บินวนอยู่เช่นกัน”

    ซาบาห์ได้เคลื่อนย้ายจากโรงพยาบาลคามาล อัดวันไปเมืองกาซาซิตี้ ซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบันขณะที่เธอกำลังรับการรักษาบาดแผลจากคลินิกขององค์การฯ ในกาซา

    “ฉันฝังศพลูกสาวแล้วก็มาที่นี่ ฉันไม่ได้เห็นเธอแม้กระทั่งครั้งสุดท้าย ฉันไม่ได้เจอลูก ไม่ได้เจอคนที่รัก ฉันต้องมาที่นี่โดยที่ไม่ได้เจอใครเลย” ซาบาห์เล่า

    นอกเหนือจากการทำลายล้างที่หนักหน่วงและต่อเนื่องในพื้นที่ตอนเหนือของกาซา ผลพวงความรุนแรงยังทำให้ผู้คนนับหมื่นต้องขาดอาหาร น้ำ การดูแลทางการแพทย์ ผลกระทบของสถานการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องหนักหนาโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษและผู้พิการ

    On a rainy day in Gaza City, the surroundings of the MSF Clinic.

    ช่วงเวลาฝนพรำในพื้นที่ข้างเคียงของคลินิกองค์การแพทย์ไร้พรมแดน เมืองกาซาซิตี้ - ดินแดนปาเลสไตน์ ธันวาคม 2567 © MSF

    โรงพยาบาลแต่ละแห่งกลายเป็นเป้าหมายของการปิดล้อมและการบุกโจมตีอย่างรุนแรงในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์หลายคนรวมถึงเจ้าหน้าที่ขององค์การฯ ถูกกักตัว จำนวนโรงพยาบาลที่เปิดดำเนินการ ทยอยลดลงเรื่อยๆ และตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม เป็นต้นมา ก็ไม่เหลือโรงพยาบาลที่เปิดให้บริการในเขตพื้นที่ตอนเหนือของกาซาอีกต่อไป

    นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 รถบรรทุกสิ่งของขององค์การฯ ไม่ได้รับอนุญาตจากทางการอิสราเอลให้เข้าไปในพื้นที่ตอนเหนือ ซึ่งหมายถึงประชากรที่มีโรคประจำตัวรวมถึงผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุรุนแรงแทบจะไม่สามารถเข้าถึงการดูแลทางการแพทย์ได้เลย

    จากสถานการณ์ทางตอนเหนือของกาซาที่ยากจะอธิบายและทำความเข้าใจได้ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม คนจำนวนมากต้องเสี่ยงชีวิตเพื่อหนีมายังเขตกาซาซิตี้ เราได้เห็นผลที่ตามมาจากจำนวนผู้ป่วยในคลินิกที่เพิ่มมากขึ้น โดยก่อนเดือนตุลาคม 2567 เจ้าหน้าที่องค์การฯ ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ประมาณ 600 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่หลังจากความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้น องค์การฯ ให้คำปรึกษาทางการแพทย์มากกว่า 1,400 ครั้งต่อสัปดาห์จนถึงเดือนธันวาคม 2567 โดยสัดส่วนจำนวนผู้ป่วยบาดเจ็บจากไฟไหม้เพิ่มขึ้น

    บอกตามตรงเลยนะ สถานการณ์แบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย ผมอายุ 40 แล้ว ตลอดชีวิตของผม ผมไม่เคยต้องเจอกับความรุนแรงโหดร้ายแบบนี้มาก่อน เป็นสงครามที่ทำลายหลายๆ ด้านของชีวิตลงอย่างราบคาบ น้ำดื่มก็ไม่มี น่าเศร้าที่อาหารก็ไม่พอ เป็นเรื่องที่ทำให้หัวใจแตกสลายที่สุด
    โมฮัมเหม็ด วาดี รองผู้ประสานงาน


    สนับสนุนการทำงานในสถานการณ์ฉุกเฉินของพวกเรา

    สนับสนุนพวกเราในการส่งต่อเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้วยการบริจาคตอนนี้