ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 (COP28) ชุมชนเปราะบางทั่วโลกจะต้องได้รับการคุ้มครอง
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและน้ำฝนปริมาณมากในปากีสถานต้องอาศัยอยู่ในเต็นท์ตามริมถนน โดยพวกเขากำลังเดินทางไปเติมน้ำจากพาหนะบรรทุกน้ำขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน ที่เมืองคิโปร (Khipro) จังหวัดซินด์ (Sindh) - ปากีสถาน พฤศจิกายน 2565 © Hafeez for MSF
เจนีวา 23 พฤศจิกายน 2566 – การปกป้องกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดจากผลกระทบด้านลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงมีน้อยเกินไป องค์การทางการแพทย์ระหว่างประเทศอย่างองค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières – MSF / Doctors Without Borders) ได้ย้ำเตือนให้ผู้นำระดับโลกที่รวมตัวกันที่ดูไบสำหรับการประชุม COP28 ต้องใช้มาตรการเร่งด่วนในการปกป้องสุขภาพของชุมชนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กลุ่มคนที่เปราะบางมากที่สุดในโลกต่างแบกรับปัญหาสุขภาพและอุปสรรคในการดำเนินชีวิตทั้งที่พวกเขาไม่ได้ก่อเหตุขึ้นมา มันเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลและน่าเศร้าที่พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่มีส่วนต่อการปล่อยสารพิษที่ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศน้อยที่สุดแต่ต้องถูกละเลยให้ทนทุกข์จากผลกระทบ แสดงให้เห็นว่าเราไม่ได้แค่ต้องเผชิญกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ แต่รวมถึงวิกฤติด้านมนุษยชาติและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันดร.คริสตอส คริสตู (Dr Christos Christou)
วิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องฉุกเฉินที่ส่งผลต่อสุขภาพและมนุษยชาติ
ผลกระทบด้านสุขภาพที่รุนแรงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศกำลังกระทบต่อประชาชนทั่วโลกและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ขณะที่โลกร้อนขึ้นองค์การฯ ทำงานในหลายประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศเปราะบางที่สุดและรักษาผู้ป่วยที่ประสบกับผลกระทบทางสุขภาพเนื่องจากสภาพภูมิอากาศโดยตรง
ในปี 2566 เรายังคงเห็นผลกระทบและยังคงดำเนินปฏิบัติการณ์ในสถานการณ์หลากหลาย รวมถึงน้ำท่วมที่กระจายในหลายพื้นที่ของซูดานใต้ พายุไซโคลนรุนแรงที่เมียนมา มาดากัสกาและโมแซมบิคกำลังเผชิญกำกับอากาศร้อนที่ไต่ระดับขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ความแห้งแล้งที่ยืดเยื้อกำลังผลักภาระไปยังผู้คนนับล้านชีวิตให้จำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ใต้ความอดอยากทั่วพื้นที่จะงอยแอฟริกา (Horn of Africa)
ในปี 2566 องค์การฯ ดำเนินงานอยู่ในประเทศที่ตกอยู่ใต้ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลกหลายประเทศ โดยการวัดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศทั่วโลกอิงตามดัชนีของ ND-Gain Index (Notre Dame Global Adaptation Index) © MSF
ทั้งนี้ เรายังปฏิบัติงานในกรณีการระบาดของอหิวาตกโรคที่เกิดพร้อมกันเป็นทวีคูณในหลายประเทศและอัตราการติดเชื้อไข้เลือดออกสูงอย่างน่าตกใจทั่วอเมริกา โรคร้ายแรงที่ปนเปกันระหว่างมาลาเรียและภาวะทุพโภชนาการทำให้หอผู้ป่วยเด็กเต็มทั่วซาเฮล (Sahel) รวมทั้งชาดตะวันออก อันเป็นพื้นที่ที่ผู้คนหนีตายจากความขัดแย้งมาจากซูดาน
“เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาในอนาคต แต่มันกำลังเกิดตอนนี้ มันคือสิ่งที่ประจักษ์ต่อสายตาบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนว่าจำนวนผู้ป่วนเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน”
“และเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะผู้นำทางการเมืองระดับโลกล้มเหลวในการทำพันธกิจเพื่อที่จะควบคุมการปล่อยมลพิษและปฏิบัติตามคำสัญญาของพวกเขาให้สำเร็จเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ถูกผลกระทบมากที่สุดในการปรับตัว” ดร.คริสตูกล่าว
ขณะที่ภาคีในที่ประชุมพิจารณาความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ แต่เป็นเรื่องที่ชัดเจนแล้วว่าการขาดการจัดการเรื่องสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพของประชาชน ความล้มเหลวในการจำกัดอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเป็นภัยคุกคามที่มีอยู่ต่อผู้คนจำนวนมากในพื้นที่ที่องค์การฯ ปฏิบัติงานด้านมนุษยชนอยู่
ชุมชนและประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเรียกร้องอย่างต่อเนื่องแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนตามพวกเขาจำเป็นต้องได้รับในการจัดการผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ พวกเขาเรียกร้องให้ทั่วโลกความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและพวกเขาต้องการการสนับสนุนด้านการเงินและทางเทคนิคอย่างเป็นรูปธรรม ชุมชนเหล่านี้จำต้องได้รับการดูแลด้านสภาพภูมิอากาศให้พอกับขนาดของภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ โลกของเราไม่อาจทนเห็นวิกฤติด้านมนุษยชนนี้รุนแรงกว่าเดิมและประชาชนที่เปราะบางที่สุดในโลกที่ต้องแบกรับผลที่ตามมา
“เราไม่อาจยอมรับความล้มเหลว (ในการออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน) ได้อีกต่อไป” ดร.คริสตูกล่าว “จะต้องรออีกกี่ปี หรืออีกกี่การประชุม COP หรือจะต้องมีอีกกี่ชีวิตที่ต้องได้รับผลกระทบหรือเสียชีวิต ก่อนที่จะมีการตัดสินใจและปฏิบัติการตามมาตรการที่เป็นรูปธรรม"