Skip to main content

    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ (Climate Emergency) หมายถึงอะไร 

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนปฏิบัติภารกิจในท้องที่ที่มีความเสี่ยงภัยจากสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก เพื่อบรรเทาภยันตรายที่จำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง อาทิ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และการพลัดถิ่นที่อยู่ ซึ่งในหลายภารกิจคือการทำงานในพื้นที่ที่ประสบภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ อุทกภัย ภัยแล้ง วาตภัย โดยปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วไม่ใช่ปัญหาที่เกิดใหม่ หากแต่ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ คือปัจจัยเร่งให้ภัยธรรมชาติดังกล่าวทวีความรุนแรงและเกิดได้บ่อยครั้งยิ่งขึ้น

    ภาวะฉุกเฉินนี้กำลังก่อความเสียหายต่อชุมชนหลายแห่งทั่วโลก และหากยังไม่ดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขในทันที ผลเสียร้ายแรงก็จะมากขึ้นตามลำดับ 

    รายงานล่าสุด

    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: สิ่งที่พวกเรากำลังเผชิญ
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: สิ่งที่พวกเรากำลังเผชิญ
    เราพบเห็นอะไรระหว่างการทำงาน
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: สิ่งที่เรากำลังลงมือปฏิบัติ
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: สิ่งที่เรากำลังลงมือปฏิบัติ
    นี่คือคำสัญญาของเรา
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: คุณลงมือทำอะไรได้บ้าง
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: คุณลงมือทำอะไรได้บ้าง
    เราทุกคนมีหน้าที่แก้ไขวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ
    ฮอนดูรัส: กำจัดไข้เลือดออกด้วยยุง นวัตกรรมอันน่าทึ่งที่ป้องกันประชาชนจากโรคร้ายแรง
    ฮอนดูรัส: กำจัดไข้เลือดออกด้วยยุง นวัตกรรมอันน่าทึ่งที่ป้องกันประชาชนจากโรคร้ายแรง
    ในการต่อสู้กับสถานการณ์วิกฤติที่ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วที่ฮอนดูรัส องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières - MSF) ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่นและเจ้...

    เหตุใดจึงควรสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    โลกนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไป ทว่าไม่ใช่ในทางที่ดี อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้นในทุกปี ยุงที่เป็นพาหะนำโรคติดต่อสามารถแทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ที่ห่างไกล หรือในบางพื้นที่ ระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มสูงขึ้นขณะที่ผืนแผ่นดินกำลังจมลงสู่ใต้ทะเล

    ปรากฏการณ์เหล่านี้ล้วนกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ทั้งจากโรคติดต่อที่ปะปนในอาหารทำให้เกิดการป่วย จากฤดูร้อนที่ร้อนมากผิดปกติ หรือแม้แต่พื้นที่สำหรับปลูกสร้างเป็นที่พักอาศัยที่น้อยลง

    Barangay Catadman, Surigao City, January 2022. Copyright: Regina Layug Rosero/MSF

    เราเห็นต้นมะม่วง 2 ต้นหักโค่นลงมา เราเห็นหลังคาปลิวหลุดออกจากตัวบ้าน แล้วร่วงลงมาที่พื้น เหมือนพายุเฮอร์ริเคนจะฉีกหลังคาบ้านหลายหลังออกมา ลมแรงได้ถึงขนาดว่า เมื่อเราเดินบนท้องถนนแล้วจะมีสายลมหอบให้ตัวของเราลอยขึ้นไปบนอากาศเลยทีเดียว ตอนไปโบสถ์ก็เห็นว่ามีคนได้รับบาดเจ็บจากแผ่นเมทัลชีที่หลุดมาจากหลังคาบ้านใครสักคน เมื่อเรากลับไปดูบ้าน สามีบอกว่าเราไม่เหลืออะไรเลย ทุกอย่างถูกทำลายไปหมดแล้ว เมื่อเรามองไปยังพื้นที่โดยรอบ เพื่อนบ้านนของเราก็สูญเสียทุกอย่างเช่นเดียวกัน" มารีย์ คริส ยูร์เตส (Marie Kris Yurtes) เล่าเหตุการณ์ที่พบเจอเมื่อพายุโซนร้อนราอี(Typhoon Rai) เคลื่อนผ่านหมู่บ้านของตนในชุมชนกาตัดมาน เทศบาลซูรีเกาซิตี้ ประเทศฟิลิปปินส์ (Barangay Catadman, Surigao City, the Philippines)

    สิ่งที่ยังเหลืออยู่ในสถานีอนามัยชุมชนกาตัดมานมีเพียงผนังบางส่วน ตาชั่งที่สนิมเกรอะกรัง และเตียงตรวจโรคที่ชำรุด ส่วนของหลังคาถูกพัดหายไปด้วยฤทธิ์ของพายุโซนร้อนราอี เทศบาลซูรีเกาซิตี้ ประเทศฟิลิปปินส์ 22 มกราคม 2565 © Regina Layug Rosero/MSF

    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศใกล้ตัวกว่าที่คิด

    องค์การฯ มีการปฏิบัติภารกิจในท้องที่ซึ่งบางแห่งนับได้ว่าเสี่ยงภัยจากสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก และคณะทำงานทางการแพทย์เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมขององค์การฯ ก็กําลังรับมือกับสถานการณ์ที่เป็นผลโดยตรงหรือสถานการณ์ที่แย่ลง จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม

    เหตุการณ์เหล่านี้อุบัติขึ้นในโลกที่อากาศกำลังมีความร้อนมากขึ้น เมื่อภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรง มันจะไม่ส่งผลกระทบเพียงแค่กลุ่มคนที่ด้ปฏิบัติงานอยู่เท่านั้น แต่รวมถึงจะก่อหายนะใหญ่หลวงแก่ผู้คนได้ทั่วโลก