Skip to main content
    Boat with NFI items arrives at Chibuabuabua, Savane, in Dondo District with NFI items. Mozambique, 2019 © Giuseppe La Rosa/MSF

    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ:

    สิ่งที่พวกเรากำลังเผชิญ

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนปฏิบัติภารกิจในท้องที่ที่มีความเสี่ยงภัยจากสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก เพื่อบรรเทาภยันตรายที่จำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง อาทิ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ โรคระบาด และการพลัดถิ่นที่อยู่ ซึ่งในหลายภารกิจคือการทำงานในพื้นที่ที่ประสบภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ อุทกภัย ภัยแล้ง วาตภัย โดยปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วไม่ใช่ปัญหาที่เกิดใหม่ หากแต่ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ คือปัจจัยเร่งให้ภัยธรรมชาติดังกล่าวทวีความรุนแรงและเกิดได้บ่อยครั้งยิ่งขึ้น

    หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ (Climate Emergency)
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ (Climate Emergency)
    วิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพและมนุษยธรรม
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: สิ่งที่เรากำลังลงมือปฏิบัติ
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: สิ่งที่เรากำลังลงมือปฏิบัติ
    นี่คือคำสัญญาของเรา
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: คุณลงมือทำอะไรได้บ้าง
    ภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ: คุณลงมือทำอะไรได้บ้าง
    เราทุกคนมีหน้าที่แก้ไขวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ
    Three women return to their village after collecting water from a water distribution organized by MSF teams in the village of Fenoiva.Madagascar, 2022 © Lucille Guenier/MSF

    หญิง 3 คนกำลังกลับหมู่บ้านของตนหลังจากที่มารับน้ำที่องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้จัดให้มีการแจกจ่ายน้ำสะอาดในหมู่บ้านเฟนัววา (Fenoiva) มาดากัสกา 2565 © Lucille Guenier/MSF

    ปรากฏการณ์คลื่นความร้อนมหาศาล ทำให้ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายกันจำนวนมากขึ้นในทุกภูมิภาค เกิดการระบาดของโรคติดต่อนำโดยพาหะบ่อยครั้ง รวมไปถึงอัตราการเจ็บป่วยจากอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากสภาพภูมิอากาศ

    ความไม่มั่นคงทางอาหารและภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา ก็มีสาเหตุเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมเช่นกัน

    ผลกระทบด้านสุขภาพ

    ภาวะทุพโภชนาการ
    โรคไข้มาลาเรีย (malaria) และโรคไข้เลือดออก (dengue)

    อุณหภูมิที่แปรปรวน อุทกภัย และภัยแล้ง ล้วนอาจทำให้การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรต้องหยุดชะงัก และเป็นปัจจัยหนึ่งของความไม่มั่นคงทางอาหาร อันอาจนำไปสู่การเกิดภาวะทุพโภชนาการ ทั้งนี้รวมถึงการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ สภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน

    ประชากรโลก ร้อยละ 11.7 กำลังได้รับผลกระทบจากความไม่มั่นคงทางอาหารขั้นรุนแรง 

    Doctors Without Border staff at is checking a child at Kofar Marusa ATFC, Katsina State. Nigeria, June 2022. © George Osodi

    ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไนจีเรีย เกิดวิกฤตการณ์จากภาวะทุพโภชนาการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2565 ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2565 องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ได้ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐด้านสาธารณสุขของไนจีเรีย ในพื้นที่ 5 รัฐของภาคตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อบำบัดรักษาเด็กจำนวนกว่า 50,000 คนที่มีภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลัน ซึ่งในจำนวนนี้มี 7,000 คนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

    ด้านบน: เจ้าหน้าที่องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ทำการตรวจร่างกายเด็ก ที่ศูนย์ฟื้นฟูโภชนาการโคฟาร์มารุซา (Kofar Marusa ATFC) ไนจีเรีย มิถุนายน 2565 © George Osodi

    โรคไข้มาลาเรียและโรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อนำโดยพาหะ (vector-borne disease) หรือก็คือเป็นโรคที่เชื้อโรคนั้นแพร่กระจายโดยผ่านสิ่งมีชีวิตอื่นไปสู่มนุษย์ เช่น ยุง จากการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ (ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น) อีกทั้งปัจจัยอีกหลายส่วน เป็นต้นเหตุให้แมลงและจุลินทรีย์ที่เป็นพาหะของโรค มีช่วงเวลาขยายพันธุ์ในแต่ละปีที่มากขึ้นและมีการกระจายตัวเป็นพื้นที่กว้างขึ้น

    ในประเทศซูดานใต้ โรคไข้มาลาเรีย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักของประชากร โดยอ้างอิงจากข้อมูลล่าสุด ในปี 2019 มีจำนวนผู้ป่วย 4,064,662 ราย และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้กว่า 4,800 คนในปีเดียวกัน

    ในปี 2564 องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการเพื่อป้องกันโรคไข้มาลาเรียในเมืองอะวัยล์ (Aweil) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นบาฮร์อัลฆอซาลเหนือ (North Bahr el Ghazal) ประเทศซูดานใต้ โดยใช้กระบวนการเคมีบำบัดป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียตามฤดูกาล (seasonal malaria chemoprevention; SMC) มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอาการป่วยรุนแรง ในเด็กอายุตั้งแต่ 3 ถึง 59 เดือน โดยการให้ยาต้านเชื้อมาลาเรียเดือนละครั้งตลอดฤดูฝน

    ด้านล่าง: เด็กน้อยซารา (Zara) (ไม่ทราบอายุ)) ซึ่งได้รับเชื้อมาลาเรีย อยู่กับเอลิซาเบธ ธ็อม (Elizabeth Thom) คุณแม่วัย35 ปี ผู้กำลังกังวลใจ  ทั้งคู่อยู่ที่โรงพยาบาลประจำเมืองอะวัยล์ (Aweil State Hospital) ที่องค์การแพทย์ไร้พรมแดนดำเนินการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ประเทศซูดานใต้ ตุลาคม 2564 ©Photo credit: Adrienne Surprenant/Item

    MSF-supported Aweil State Hospital. South Sudan, October 2021 © Adrienne Surprenant/Item

    ในปี 2565 ประเทศปากีสถานได้เกิดเหตุอุทกภัยต่อเนื่อง น้ำที่ท่วมขังอยู่หลายสัปดาห์ส่งผลให้แหล่งน้ำใช้ต้องปนเปื้อน และประชากรมีความเสี่ยงสูงจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งยิ่งซ้ำเติมภาวะการระบาดในประเทศ

    Non-food items being unloaded for distribution in Dadu district, Sindh, Pakistan. 2022 © Asim Hafeez

    ในบรรดาเครื่องอุปโภคที่องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้แจกจ่ายเพื่อบรรเทาภัยนั้น จึงรวมไปถึงมุ้งกันยุ เนื่องจากความชุกของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียที่มากขึ้น ประเทศปากีสถาน 2565 © Asim Hafeez

    ประเทศที่ได้รับผลจากวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ

    ประเทศคิริบาส (Kiribati)

    ประเทศคิริบาส มีดินแดนเป็นหมู่เกาะจำนวน 32 แห่ง (และเกาะแนวปะการังที่โผล่พ้นผิวน้ำอีกหนึ่งแห่ง) ตั้งอยู่บริเวณระหว่างประเทศออสเตรเลีย และหมู่เกาะฮาวาย มีพื้นที่ผืนแผ่นดินเพียง 811 ตารางกิโลเมตร ล้อมด้วยอาณาเขตมหาสมุทรกว้างขวางถึง 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร

    ประชากรคิริบาสครึ่งหนึ่ง (ประมาณ 120,000 คน) อาศัยอยู่ในเมืองหลวง คือ หมู่เกาะทะราวาใต้ (South Tarawa) เป็นแนวผืนแผ่นดินแคบๆ รูปร่างคล้ายบูมเมอแรง ซึ่งเกาะหลักที่ใหญ่ที่สุดก็ยังเล็กเกินกว่าจะรองรับผู้คนทั้งหมดนี้ได้ ด้วยผลจากอัตราการเกิดที่พุ่งทะยาน (เด็กเกิด 26 คนต่อประชากร 1,000 คน) และจากกระบวนการแปรเป็นเขตเมืองในทะราวาใต้(urbanisation) เนื่องจากการย้ายถิ่นฐานเข้ามาจากหมู่เกาะรอบนอก จึงก่อเป็นปัญหาประชากรล้นซึ่งซ้ำเติมปัญหาเดิมที่มีอยู่แล้วในด้านสาธารณสุข สังคม และสิ่งแวดล้อม

    Kiribati 2022 © Joanne Lillie/MSF

    พื้นที่ชายฝั่งทะเลของหมู่บ้านแห่งนี้ถูกทิ้งร้างภายหลังจากน้ำทะเลเข้าท่วมพื้นที่บ้าน ส่วน ณ เวลานี้พื้นที่ระดับต่ำก็จมน้ำทะเลไปหมดแล้ว บ้านเรือนที่เหลือก็กำลังถูกท้องทะเลกลืนไปทีละหลัง แนวกำแพงกันดินที่สร้างจากยางรถยนต์ไม่สามารถต้านทานน้ำทะเลที่สูงขึ้นได้ต่อไป

    ซ้ำร้าย นอกจากภัยจากน้ำทะเลและน้ำป่าไหลหลาก ยังมีปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดบนหมู่เกาะทะราวา ประเทศคิริบาส น้ำบาดาลถูกสูบขึ้นมาใช้มากเกิน จนเกิดการไหลเข้าแทนที่ของน้ำทะเล ขยะ ของเสียจากการขับถ่ายนอกสุขา ตลอดจนการเลี้ยงสุกรใกล้ที่อยู่อาศัย และวัฒนธรรมการฝังศพสมาชิกในครอบครัวที่บ้าน Photo credit: Joanne Lillie/MSF

    ประเทศคิริบาสจึงมีดัชนีภาระโรคสูงติดอันดับต้ของโลก มีจำนวนผู้ป่วยจากโรคเรื้อนมากที่สุด เป็นหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนการป่วยวัณโรคและโรคเบาหวานสูงที่สุด ในขณะที่มีอัตราการเข้าถึงสาธารณสุขมูลฐานต่ำรั้งท้าย

    Kiribati 2022 © Manja Leban/MSF

    ธอมัส ฮิงก์ (Thomas Hing) เจ้าหน้าที่ประสานงานพลาธิการ องค์การแพทย์ไร้พรมแดน เข้าไปยังคลินิกในหมู่บ้านเทกะบุยบุย (Tekabwibwi) ทางซ้ายมือของเขา เป็นเครื่องชั่งน้ำหนักที่ทำเองจากกระสอบใส่ธัญพืช เพื่อบันทึกน้ำหนักของเด็กทารก

    สาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในภูมิภาคแปซิฟิกร้อยละ 75 เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งโรคเหล่านี้ถูกพบว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขอันดับต้นในคิริบาสเช่นกัน อย่างเช่น อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานมีตัวเลขที่สูงและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

    "โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ เป็นความเสี่ยงที่น่ากังวลสำหรับทั้งแม่และทารก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง ทั้งในระหว่างการทำคลอด และการพักฟื้น" กล่าวโดย พยาบาลผดุงครรภ์ แซนดรา เซดัลไมเยอร์-วัททารา (Sandra Sedlmaier-Ouattara) ที่ปรึกษาทางเวชศาสตร์ ประจำโครงการขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในคิริบาส

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้ปฏิบัติภารกิจในคิริบาส โดยมุ่งผลเบื้องต้นในการเสริมสร้างสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่หมู่เกาะกิลเบิร์ตฝั่งใต้ (Southern Gilbert Islands) ในส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน การรักษา และภาวะความดันโลหิตสูง  โดยมีฐานปฏิบัติการตั้งอยู่ที่เกาะทะบิเตแวฝั่งเหนือ (Tabiteuea North)

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็ยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ภายในประเทศที่กำลังน่าเป็นห่วง โดยจากการสำรวจในปี 2559 พบจำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศนั้นมีสูงถึงโดยร้อยละ 81 ของทั้งหมด ที่ประสบปัญหาจากน้ำทะเลที่สูงขึ้น

    ผืนแผ่นดินอันมีอยู่น้อยนิดของคิริบาสนั้น เสี่ยงภัยอย่างยิ่งจากน้ำทะเลขึ้นสูง ซึ่งจุดที่สูงที่สุดในทะราวาก็สูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 3 เมตร การสูญเสียพื้นที่แผ่นดินเนื่องจากถูกน้ำกัดเซาะ ได้ปรากฏให้เห็นทั่วทุกที่ ในบางแห่งจากสถานที่ปิกนิกและชายหาดก็เหลือแต่ต้นไม้ที่โค่นล้มแทนที่ เมื่อน้ำเอ่อสูงใกล้ถึงเข้ามาผู้คนก็พากันละทิ้งบ้านเรือนของตน  มีแนวกระสอบทรายเรียงรายตลอดชายฝั่ง เป็นด่านปราการสุดท้าย เมื่อถึงเวลาน้ำขึ้นเต็มที่ในเดือนเพ็ญ ระลอกคลื่นก็โถมทะลักข้ามแนวสันดอนเข้ามาสู่บ้านเรือน

    ประเทศมาดากัสการ์ (Madagascar)

    ประเทศมาดากัสการ์ตั้งอยู่นอกชายฝั่งของทวีปแอฟริกา ซึ่งในทางภูมิศาสตร์นั้นเป็นจุดพาดผ่านของพายุหมุนไซโคลน และลมพายุต่างๆ

    เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พายุไซโคลนบัตซีราย (Batsirai) และพายุไซโคลนเอ็มนาตี (Emnati) ได้เข้าถล่มแถมชายฝั่งตะวันออกของมาดากัสการ์ มีศูนย์สาธารณสุขถูกทำลายลงหลายแห่ง มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 300,000 คน และพายุยังกระทบต่อพื้นที่การเกษตรเกือบทั้งหมดในหลายภูมิภาค รวมถึงพืชผลอาหารของประชากรกว่าครึ่งหนึ่ง โดยขณะนั้นประชากรในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศเพิ่งผ่านพ้นภัยแล้งที่สาหัสสากรรจ์ อันตามมาด้วยภาวะทุพโภชนาการระดับวิกฤตมาได้เพียงไม่นาน

    Homes and a health center in Mananjary City were damaged Cyclone Batsirai, which hit Madagascar on 5 February, 2022. © Ahmed Takiddine Sadouly/MSF

    บ้านเรือนหลายหลัง และสถานีอนามัยในเมืองมะนันจะรี (Mananjary City) พังเสียหายจากแรงพายุไซโคลนบัตซีราย ซึ่งเข้าถล่มมาดากัสการ์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 © Ahmed Takiddine Sadouly/MSF

    แต่แล้วมาดากัสการ์ก็ยังต้องเผชิญกับสภาวะอากาศสุดขั้วอีกลักษณะหนึ่ง นั่นคือภัยแล้งที่ยาวนานติดต่อกันหลายปี แม่น้ำลำธารต่างก็เหือดแห้งไปหมด ส่งกระทบอย่างหนักต่อการกสิกรรม นำไปสู่วิกฤตการณ์ขาดแคลนอาหารเป็นวงกว้าง การจับปลาทำได้ยากมากขึ้นหลายเท่า ผู้ประกอบอาชีพประมงต้องเสียรายได้ไปถึงเกือบร้อยละ 90 การจะปลูกข้าวและพืชพันธุ์อื่นกลายเป็นเรื่องยากลำบากเพราะเมื่อสภาพอากาศแปรปรวน บ้างก็แห้งแล้ง บ้างก็ฝนตก ก็ย่อมส่งผลต่อการทำการกสิกรรม

    Doctors Without Borders runs water distribution in the village of Fenoiva, Madagascar. 2022 © Lucille Guenier/MSF

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ได้จัดให้มีการแจกจ่ายน้ำสะอาดในหมู่บ้านเฟนัววา (Fenoiva) มาดากัสกา 2565 © Lucille Guenier/MSF

    ประเทศบังกลาเทศ (Bangladesh)

    ชาวบังกลาเทศผ่านพ้นภัยธรรมชาติจำนวนมากมาได้หลายชั่วอายุคน ทั้งพายุหมุนไซโคลน เหตุอุทกภัย และภัยประเภทอื่น หากสิ่งที่ยากกับการรับมือคือความถี่และความรุนแรงของแต่ละเหตุการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น จากการที่พื้นที่ชายฝั่งทั้งหมด รวมถึงภูมิประเทศที่ต่อเนื่องกันนั้น เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจากพายุหมุนเขตร้อน โดยอาจเกิดอุทกภัยรุนแรงในพื้นที่ดังกล่าว และพายุอาจก่อความเสียหายแก่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศได้ ไม่เพียงแต่พื้นที่ชายฝั่งที่รับผลจากพายุหมุนเขตร้อน แต่ลึกเข้าไปในแผ่นดินก็อาจก่อให้เกิดฝนตกอย่างหนัก แผ่นดินถล่ม และกระแสลมแรงได้

    ทั่วทั้งประเทศนั้นตกอยู่ในความเสี่ยงภัยเดียวกัน แต่กลุ่มที่อ่อนแอกว่าก็ต้องรับผลกระทบที่หนักกว่าด้วย เช่น กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากับเพื่อนบ้านในเมืองคอกซ์เบซาร์ (Cox's Bazar) โดยค่ายพักพิงผู้ลี้ภัยต่างก็มีปัญหาโครงสร้างพื้นฐานการสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอ และการขาดแคลนน้ำสะอาดอยู่ก่อนแล้ว น้ำสกปรกที่ท่วมขังสะสมในค่ายพักพิง ก็กลายเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงที่เป็นพาหะของโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออก 

    Rohingya father sitting at the bedside of his 21-year-old son, who was admitted to the Doctors Without Borders Kutupalong Hospital with dengue. Bangladesh 2022 © Saikat Mojumder/MSF

    คุณพ่อชาวโรฮิงญานั่งอยู่ข้างเตียงผู้ป่วย ซึ่งบุตรชายวัย 21 ปีของเขาได้เข้ารับการรักษา ในสถานพยาบาลองค์การแพทย์ไร้พรมแดนที่กุตุปาลอง (Kutupalong) ด้วยอาการป่วยจากโรคไข้เลือดออก บังคลาเทศ 2565 © Saikat Mojumder/MSF

    โรคหิด โรคไข้เลือดออก และอหิวาตกโรค เป็นโรคที่มีการระบาดอยู่บ่อยครั้ง ผู้ลี้ภัยจํานวนมากในค่ายยังเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งอาการอาจทรุดลงได้จากปัจจัยของสภาพแวดล้อม เช่น อาการร้อนจัด และมลพิษทางอากาศ 

    Abdullah is a 4-year-old Rohingya refugee who lives in Jamtoli camp. He has been suffering from scabies since December 2022. His whole family suffers from scabies. Bangladesh, 2023 © Farah Tanjee/MSF

    อับดุลลอฮ์ วัย 4 ปี เป็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่อยู่ในค่ายพักพิงที่ญัมตอลิ (Jamtoli) เขาเริ่มป่วยด้วยโรคหิด ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 สมาชิกทั้งครอบครัวของเขาก็ป่วยด้วยโรคหิดด้วยเช่นกัน บังคลาเทศ 2566 © Farah Tanjee/MSF

    ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 

    การสู้รบและสงคราม 

    ในบริเวณที่เรียกว่า ซาฮิล (Sahel) แถบใต้ซาฮาราของทวีปแอฟริกา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยที่รบกวนสมดุลของทรัพยากรในดินเพื่อการปศุสัตว์และการกสิกรรม การแก่งแย่งเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร ประกอบกับความหย่อนความสามารถของราชการในการจัดสรรที่ดิน ก่อให้เกิดสงครามระหว่างสองฝ่าย ซ้ำเติมภูมิภาคที่มีการสู้รบและปัญหาความไม่มั่นคงอยู่แล้ว ซึ่งทางองค์การฯ ได้เข้าไปช่วยเหลือบรรเทาด้วยการให้การปฏิบัติการแพทย์ และในเวลาเดียวกัน การเกิดสงครามก็ย่อมทำให้ผู้คนในพื้นที่ต้องพลัดถิ่นที่อยู่

     

    Edward Nyam and his family have been living in Mbawa camp since January 2018, when violence forced them to leave their home in Guma. Before they left, one of Edward’s sons was killed in the violence. Benue, Nigeria, 2020 © MSF/Scott Hamilton

    เอ็ดวาร์ด นยัม (Edward Nyam) และครอบครัว เป็นผู้อาศัยอยู่ในค่ายพักพิงอัมบะวา (Mbawa) ในมลรัฐเบนูวี (Benue) ประเทศไนจีเรีย มาตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 จากการลี้ภัยการสู้รบในภูมิลำเนาเดิมของตนในเมืองกุมา (Guma) ก่อนที่จะได้ลี้ภัยมา หนึ่งในบรรดาบุตรชายของเอ็ดวาร์ดก็เสียชีวิตจากการสู้รบ

    มลรัฐที่อยู่ในแนวภาคกลางของไนจีเรีย เป็นปลายทางของผู้อพยพภายในประเทศ (Internally Displaced People / IDP) จำนวนมากที่สุด รองลงมาจากภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่วนมากต่างเป็นผู้หนีเอาชีวิตรอดมาจากสงครามแย่งชิงการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ระหว่างกลุ่มผู้เพาะปลูกกสิกรรม กับกลุ่มร่อนเร่เลี้ยงสัตว์ (farmer-herdsmen conflict) ในมลรัฐเบนูวี มีจำนวนผู้อพยพราว 160,000 คน (ข้อมูลจาก IOM ปี 2562) อาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย ทั้งอยู่ในค่ายพักพิงผู้ลี้ภัยที่เป็นทางการจำนวน 8 แห่ง และในค่ายพักพิงฯ ที่ตั้งขึ้นมากันเองในพื้นที่ชุมนุมชน เช่น ตลาด โรงเรียน หรืออาศัยอยู่กับกลุ่มประชาคมในท้องถิ่นที่ให้การพักพิง 

    เบนูวี ไนจีเรีย 2563 © MSF/Scott Hamilton

    Bambari, Ouaka, Central African Republic, 2020 © Adrienne Surprenant/Collectif ITEM

    เซดี บอร์ (Seidi Bore) อายุ 45 ปี / มารียาม อามาดู (Mariam Hamadou) อายุ 35 ปี / อารูนา (Harouna) อายุ 1 ปี / ยูนูสซา (Younoussa) อายุ 13 ปี นั่งอยู่หน้าบ้านพักของตนในค่ายพักพิงฯ เอเลอวาฌ (Élevage) ซึ่งตั้งอยู่นอกเมืองบ็องบารี จังหวัดวากา สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Bambari, Ouaka, Central African Republic) ค่ายพักพิงฯ ที่ตั้งอยู่นอกเมืองบ็องบารีแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนกว่า 15,000 คน 

    ทุกคนในครอบครัวนี้เว้นแต่อารูนา มีอาการเจ็บป่วยต่อเนื่องนับแต่ที่อพยพหนีภัยสงคราม ออกมาจากภูมิลำเนาเดิมของตน หมู่บ้านบัวโย (Boyo) ซึ่งอยู่ห่างออกไป 120 กม.

    อาการป่วยของมารียามนั้น ทรุดลงนับแต่ที่คลอดอารูนาออกมา เขาได้รับการส่งต่อจากสถานีอนามัยขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน ในเอเลอวาฌ ไปยังโรงพยาบาลที่บ็องบารี ซึ่งทางองค์การฯ ให้การสนับสนุนอยู่ 

    ความจำเป็นในการรักษาและความทุกข์ยากที่ผู้คนในจังหวัดวากาต้องฟันฝ่าไปแต่ละวัน เป็นสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศแทบจะมองไม่เห็น ทำให้สาธารณรัฐแอฟริกากลางยังคงเป็นวิกฤตการณ์อันถูกหลงลืมหากยืดเยื้อ สถานการณ์ในจังหวัดอื่นของประเทศ ก็คล้ายคลึงกันกับในวากา หลายชุมชนในประเทศต้องประสบอุปสรรคอย่างไม่หยุดหย่อน ทำให้ไม่สามารถรับการรักษาได้ทันท่วงที อุปสรรคที่ร้ายแรงที่สุดคือการพลัดถิ่นจากภูมิลำเนาของตน ด้วยเพราะวังวนของความรุนแรงที่เกิดซ้ำๆ และข้อเท็จจริงที่ว่า สําหรับคนส่วนใหญ่แล้ว การสาธารณสุขที่มีคุณภาพยังคงเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อมถึง สถานสาธารณสุขที่ยังเหลือใช้การได้ก็ไม่พร้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านเครื่องไม้เครื่องมือ ขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ผู้ชำนาญการ และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือไม่ก็อยู่ไกลกว่าผู้คนจะเดินทางไปได้

    สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เดือนธันวาคม  2563 © Adrienne Surprenant/Collectif ITEM

    Ulang, South Sudan, 2019 © Igor Barbero

    เจ้าหน้าที่องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ทำการตรวจร่างกายเด็ก ที่ด้านหน้าทางเข้าของโรงพยาบาลขององค์การฯ ที่แคว้นอูลาง (Ulang) ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศซูดานใต้

    แคว้นอูลาง (Ulang) เป็นพื้นที่ทุรกันดารอยู่ติดกับประเทศเอธิโอเปีย พลเมืองของที่นี่ใช้ชีวิตผ่านการสู้รบมายาวนานหลายปี บ้างก็เป็นเหยื่อจากการต่อสู้ระหว่างกลุ่มมวลชนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ประเทศซูดานใต้ 2562 © Igor Barbero

    สภาวะอากาศสุดขั้ว 

    หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบกับสภาวะอากาศสุดขั้ว รวมถึงต้องเผชิญกับผลลัพธ์ที่ตามกันมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 พายุหมุนไซโคลนเฟรดดี้ (Cyclone Freddy) ความรุนแรงระดับ 5 เคลื่อนเข้าปะทะมาดากัสการ์ด้วยแรงลมถึง 130 ไมล์/ชม. (ประมาณ 209 กม./ชม.) มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 85,000 คน

    แม้ว่าจะไม่ได้มีพลังทำลายล้างรุนแรงเท่าพายุไซโคลนที่เกิดในที่ก่อนหน้า แต่พายุเฟรดดี้นี้ก็มาได้พอดีกับช่วงเวลาที่ชาวมาลากาซี (Malagasy - ชนพื้นเมืองของมาดากัสการ์) กำลังลำบาก โดยเป็นช่วงฤดูกาลที่โรคไข้มาลาเรียชุกชุม และเป็นช่วงเวลาของปีที่ผลผลิตการเกษตรตกต่ำที่สุด สิ่งนี้ ซ้ำเติมภาวะแร้นแค้นของประชากรร้อยละ 75 ซึ่งอยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจน เสบียงอาหารหมดสิ้นลง และราคาอาหารพุ่งขึ้นสูงสุด

    ในพื้นที่ชนบทของซูดานใต้ การเลี้ยงโคคือปัจจัยสำคัญในการดำรงชีพของผู้คน หากแต่ด้วยเหตุอุทกภัยในปี 2565 ทำให้โคนับแสนตัวต้องตายลง และผู้คนก็ตกอยู่กับความไม่มั่นคงทางอาหารขั้นรุนแรง

    ด้านล่าง: ซากโคที่ตายทั้งจากการจมน้ำและจากขาดอาหาร เลี้ยงแม้เจ้าของจะถูกพาขึ้นที่สูงแล้วก็ตาม ในเมืองปาเกวียร์ แคว้นฟานกัก (Pagwir, Fangak County) เครดิตรูป : Florence Miettaux

    Carcasses of cows that have died due to the flooding and the lack of pasture on the small high grounds where they have been taken by their owners, in Pagwir, Fangak County. South Sudan, 2022 © Florence Miettaux

    ต่อให้ในทวีปเอเชียพายุไต้ฝุ่นระดับรุนแรงจะไม่ใช่ภัยธรรมชาติที่แปลกประหลาด แต่ในประเทศจำนวนมากซึ่งองค์การฯ มีปฏิบัติภารกิจอยู่ ก็ได้รับผลจากสภาวะอากาศสุดขั้ว ก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกาย หรือทำให้พลเมืองต้องพลัดจากถิ่นที่อยู่ไป ซึ่งผู้คนเหล่านี้จำต้องได้รับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร่งด่วน

    พายุไต้ฝุ่นในประเทศฟิลิปปินส์

    พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน (Typhoon Haiyan) เมื่อปี 2556 เป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นที่รุนแรงในระดับที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น โดยมีตัวเลขผู้เสียชีวิตกว่า 6,300 คน อีกทั้งประชากรฟิลิปปินส์จำนวน 4 ล้านคนต้องพลัดจากถิ่นที่อยู่ โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศทั้งเสียหายและย่อยยับ เครื่องยังชีพที่มีอยู่ก็จมน้ำไปเสีย เครดิตรูป: Julie Remy/MSF

    Typhoon Haiyan, Philippines, 2013 © Julie Remy/MSF

    ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนธันวาคม 2564 พายุไต้ฝุ่นราอี (Typhoon Rai) ก็ได้พัดถล่มพื้นที่ภาคใต้ของฟิลิปปินส์ โดยจังหวัดดีนากัตไอแลนดส์ (Dinagat Islands) กับพื้นที่หมู่เกาะโดยรอบของเทศบาลซูรีเกาซิตี้ (Surigao City) ได้รับความเสียหายอย่างหนักกว่าพื้นที่อื่น  ชาวบ้านยังเล่าว่า ไม่ได้เห็นพายุที่ขนาดใหญ่และลมที่แรงเท่านี้มาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว หลังคาบ้านเรือนถูกลมพายุฉีกหลุดออกไป อาคารโรงเรียนและสถานีอนามัยหลายแห่ง รวมทั้งต้นไม้เล็กใหญ่ก็ไม่อาจต้านทานแรงลมได้ เครดิตรูป: Chenery Ann Lim

    Philippines, December 2021 © Chenery Ann Lim

     

    ปีแห่งภัยพิบัติของประเทศอินโดนีเซีย

    เพียงแค่ในปี 2561 ประเทศอินโดนีเซียก็ต้องประสบภัยธรรมชาติไปมากหลายครั้ง ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เกาะล็อมบก (Lombok) ในเดือนกันยายน เกิดภัยพิบัติซ้อนกัน 3 อย่าง ทั้งแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ และปรากฏการณ์ทรายพุ (liquefaction) ในเมืองปาลู จังหวัดซูลาเวซีกลาง (Palu, Central Sulawesi) เครดิตรูป: Sri Harjanti Wahyuningsih/MSF

    Indonesia, 2018 © Sri Harjanti Wahyuningsih/MSF

    ในเดือนธันวาคม เกิดคลื่นสึนามิกระทบพื้นที่ชายฝั่งของช่องแคบซุนดา (Sunda Strait) ซึ่งเป็นผลจากการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัว (Krakatoa) เครดิตรูป: Muhamad Suryandi/MSF

    Indonesia, 2018 © Muhamad Suryandi/MSF