Skip to main content

    เรายังอยู่: ชีวิตชาวโรฮิงญาในเมียนมา

    Woman, Rakhine state, Myanmar. March 2022 © Ben Small

    หญิงคนหนึ่งนั่งรอที่คลินิกขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในรัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small

    บุคคลไร้รัฐ

    กฎหมายสถานะพลเมืองในเมียนมาเริ่มบังคับใช้ในปี 1982 ส่งผลให้ชาวโรฮิงญากลายเป็นคนไร้รัฐทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้มานานหลายร้อยปี ชาวโรฮิงญาจำนวนมากที่เลือกจะอยู่ในเมียนมาถูกบังคับให้อาศัยในค่ายที่รัฐยะไข่ ซึ่งมีสภาพแออัดและสกปรก

    นานมาแล้วก่อนที่ชาวโรฮิงญาจะถูกลิดรอนสิทธิการเป็นพลเมืองในปี 1982 พวกเขาตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง การเลือกปฏิบัติและการกีดกัน​ การใช้ความรุนแรงและบังคับใช้แรงงานของทางการเมียนมาก่อให้เกิดการอพยพของชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนมากกว่า 250,000 คนระหว่างปี 1991-1992

    A family in their tent in a refugee camp on the outskirts of Sittwe, February 2, 2013

    ชีวิตในเต็นท์: ครอบครัวหนึ่งในค่ายผู้ลี้ภัยชานเมืองซิตตเวในเมียนมา - 2 ก.พ. 2013 © Kaung Htet 

    A sick child sleeps in his mother's arms while waiting for the malaria screening test result at MSF clinic in a refugee camp on the outskirts of Pauk Taw township, February 3, 2013. photo by Kaung Htet

    เด็กป่วยนอนหลับอยู่ในอ้อมแขนของแม่ระหว่างรอผลการตรวจโรคมาลาเรีย ทั้งคู่อยู่ที่คลินิกขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ชานเมืองเปาะตอ เมียนมา - 3 ก.พ. 2013 © Kaung Htet 

    Sittwe, Myanmar. February 2, 2013. © Kaung Htet

    มีน้ำสะอาดไหม? การเข้าถึงน้ำสะอาดมักเป็นปัญหาในค่ายผู้ลี้ภัยหลายแห่ง ผู้คนมักกระจุกตัวกันรอบปั๊มน้ำเหมือนที่จุดนี้ ภายในค่ายผู้ลี้ภัยชานเมืองซิตตเวในเมียนมา - 2 ก.พ. 2013 © Kaung Htet 

    Sittwe, Myanmar, February 2, 2013. © Kaung Htet

    มีพื้นที่สะอาดสำหรับทำกับข้าวไหม? หญิงวัย 26 ปีก่อไฟด้านนอกเต็นท์ของเธอภายในค่ายผู้ลี้ภัย บริเวณชานเมืองซิตตเว - 2 ก.พ. 2013 © Kaung Htet 

    Pauk Taw township, Myanmar. February 3, 2013. © Kaung Htet

    หญิงวัย 65 ปีเย็บแหตกปลาในค่ายผู้ลี้ภัยชานเมืองเปาะตอ เมียนมา - 3 ก.พ. 2013 © Kaung Htet 

    โรฮิงญา 700,000 คนต้องหนีภัย

    ในรัฐยะไข่ ชาวโรฮิงญาจำนวนมากถูกขับไล่ออกจากบ้านของตัวเองด้วยความรุนแรง ทั้งหมู่บ้านถูกเผาทำลายราบเป็นหน้ากลอง เดือนสิงหาคม 2017 ชาวโรฮิงญามากกว่า 700,000 คนหนีภัยความรุนแรงที่กองทัพเมียนมามุ่งเป้าคุกคามพวกเขา ปัจจุบันยังคงมีชาวโรฮิงญาที่ไร้รัฐอีกราว 600,000 คนในรัฐยะไข่ ชาวโรฮิงญาที่ยังคงอยู่ในรัฐยะไข่ต้องเผชิญการข่มเหง คุกคามและเลือกปฏิบัติ ซึ่งนอกเหนือจากผลกระทบอื่นๆ การเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขเป็นสิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่สามารถทำได้

    นับตั้งแต่กองทัพยึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เมียนมาไม่ได้ขยับเข้าใกล้เงื่อนไขที่ควรจะเป็นเพื่อให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาจากค่ายต่างๆ ทั้งในพรมแดนฝั่งบังกลาเทศและประเทศใกล้เคียงอื่นๆ อย่างมาเลเซียและอินเดียสามารถเดินทางกลับเข้าไปยังรัฐยะไข่ได้โดยสมัครใจอย่างปลอดภัย มีเกียรติ และพึ่งพาตนเองได้แต่อย่างใด

    Rakhine State, Myanmar, March 2022 © Ben Small/MSF

    ชาวเมียนมาใช้ทานาคา แป้งที่ทำจากเปลือกไม้บดมาทาที่ใบหน้า เป็นทั้งการเสริมสวยและป้องกันแสงแดด

    รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    Rakhine State, Myanmar, March 2022 © Ben Small/MSF

    ทางตะวันออกของรัฐยะไข่ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนดูแลสุขภาพพื้นฐานของชาวโรฮิงญา ทั้งสุขภาพจิต อนามัยเจริญพันธุ์ และการช่วยเหลือเหยื่อผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงบนฐานเพศภาวะและความรุนแรงทางเพศ ในปี 2021 ทีมขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนให้ความรู้และขยายกิจกรรมที่เกี่ยวกับความรุนแรงบนฐานเพศภาวะ ส่งผลให้การรักษาผู้รอดชีวิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและความปลอดภัย องค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังกำหนดวันเฉพาะสำหรับให้เด็กและผู้หญิงเข้าร่วมกิจกรรมได้เท่านั้น 

    รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนดำเนินการอะไรบ้าง

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนให้การดูแลด้านสุขภาพแก่ชุมชนทั้งหมดในรัฐยะไข่มาตั้งแต่ปี 1994 โดยในปี 2004 ทีมงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้รักษาผู้ป่วยมาลาเรียในรัฐนี้ไปแล้วมากกว่า 1.2 ล้านคน อย่างไรก็ตามในปี 2012,​ 2014 และ 2017 เราถูกบีบให้ต้องระงับภารกิจหลายต่อหลายครั้งจากคำสั่งของทางการ  เมื่อเดือนสิงหาคม 2017 องค์การแพทย์ไร้พรมแดนอยู่ระหว่างการให้บริการสาธารณสุขในมองดอและบู้ตี้ดอง เมืองทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ ก่อนจะถูกระงับภารกิจเนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางและมีการสั่งห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศเข้าปฏิบัติหน้าที่ ในขณะนั้นเราเปิดคลินิกหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ 4 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้ 3 แห่งถูกเผาทำลายในเวลาต่อมา นอกจากนี้เราให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทั่วไปและอนามัยเจริญพันธุ์มากกว่า 11,000 ครั้งในแต่ละเดือน เช่นเดียวกันการเคลื่อนย้ายฉุกเฉินและการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

    ปัจจุบันองค์การแพทย์ไร้พรมแดนเปิดคลินิกเคลื่อนที่ในหลายจุดทั่วรัฐยะไข่ ทั้งมองดอ บู้ตี้ดอง ระเต่ดอง เปาะตอ ซิตตเว มรัคอู และมินเบีย  ทีมของเราให้การดูแลด้านสุขภาพที่จำเป็นอย่างมากแก่กลุ่มชุมชนชายขอบ ทั้งสุขภาพจิต อนามัยเจริญพันธุ์ และการช่วยเหลือเหยื่อผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงบนเพศสภาวะและความรุนแรงทางเพศ

    Rakhine State, Myanmar, July 2021. © Ben Small/MSF

    เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ชาวโรฮิงญาเผชิญการข่มเหง บังคับให้อยู่ในค่ายที่มีที่พักและสุขอนามัยไม่เพียงพอ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเข้าเยี่ยมค่ายต่างๆ เพื่อช่วยให้บริการดูแลสุขภาพที่จำเป็น เดือนกรกฎาคม 2021 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนของเราเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ 23,107 ครั้ง โดยให้การรักษาอาการป่วยเล็กร้อน 5 ชนิด ตรวจสอบภาวะทุพโภชนาการ และส่งเสริมมาตรการป้องกันโควิด-19

    รัฐยะไข่ เมียนมา - กรกฎาคม 2021 © Ben Small/MSF 

    ชีวิตของชาวโรฮิงญาที่ยังอยู่ในรัฐยะไข่เป็นอย่างไร ชีวิตประจำวันเป็นอย่างไรในวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ยืดเยื้อยาวนานหลายทศวรรษ

    จดจำชาวโรฮิงญา จดจำการหนีภัยของพวกเขา

    Rakhine State, Myanmar, July 2021. © Ben Small/MSF

    รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    Rakhine State, Myanmar, March 2022 © Ben Small/MSF

    รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    Rakhine State, Myanmar, March 2022 © Ben Small/MSF

    รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    ทีมงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนเดินทางไกล ข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อเข้าไปให้ถึงชุมชนชาวโรฮิงญาและให้การดูแลสุขภาพพื้นฐานแก่พวกเขา

    การให้บริการด้านสุขภาพพื้นฐานในรัฐยะไข่

    ในพื้นที่ทางตะวันออกของรัฐยะไข่ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเดินหน้าให้บริการคลินิกเคลื่อนที่ในเปาะตอ ซิตตเว มรัคอูและมินเบีย ทีมงานของเราเข้าไปดูแลด้านสุขภาพพื้นฐาน ทั้งสุขภาพจิต อนามัยเจริญพันธุ์ และการช่วยเหลือเหยื่อผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงบนเพศสภาวะและความรุนแรงทางเพศ เราส่งตัวผู้ที่ต้องการการรักษาเพิ่มเติมไปยังโรงพยาบาลหลายแห่งในซิตตเว มรัคอู และมินเบีย และโรงพยาบาลสถานีมองบเวย

    Rakhine State, Myanmar, May 2022 © Ben Small/MSF

    ผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลรวมไปถึงชาวยะไข่พลัดถิ่นจากความขัดแย้ง

    โรงพยาบาลสถานี รัฐยะไข่ เมียนมา - พฤษภาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    Rakhine State, Myanmar, March 2022 © Ben Small/MSF

    ทางตะวันออกของรัฐยะไข่ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนดูแลสุขภาพพื้นฐาน ทั้งสุขภาพจิต อนามัยเจริญพันธุ์ และการช่วยเหลือเหยื่อผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงบนเพศสภาวะและความรุนแรงทางเพศ ในปี 2021 ทีมขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนให้ความรู้และขยายกิจกรรมที่เกี่ยวกับความรุนแรงบนเพศสภาวะ ส่งผลให้การรักษาผู้รอดชีวิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและความปลอดภัย  องค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังกำหนดวันเฉพาะสำหรับให้เด็กและผู้หญิงเข้าร่วมกิจกรรมได้เท่านั้น 

    รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    Rakhine State, Myanmar, May 2022 © Ben Small/MSF

    โรงพยาบาลสถานี รัฐยะไข่ เมียนมา - พฤษภาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    คลินิกเคลื่อนที่และการส่งเสริมสุขภาพ

    ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเปิดคลินิกเคลื่อนที่ในเมืองมองดอ บู้ตี้ดอง และระเต่ดอง

    Rakhine State, Myanmar, March 2022 © Ben Small/MSF

    ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 องค์การแพทย์ไร้พรมแดนช่วยส่งต่อผู้ป่วย 451 คนไปยังโรงพยาบาล ให้บริการทางการแพทย์กับผู้คนมากกว่า 51,000 คนผ่านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และให้คำปรึกษาผู้ป่วยนอกมากกว่า 5,600 คน  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนยังเยี่ยมบ้านมากกว่า 22,000 ครั้ง และให้การดูแลสุขภาพพื้นฐาน ทั้งสุขภาพจิต อนามัยเจริญพันธุ์ และการช่วยเหลือเหยื่อผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงบนฐานเพศภาวะและความรุนแรงทางเพศ

     รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    Rakhine State, Myanmar, March 2022 © Ben Small/MSF

    งานส่งเสริมสุขภาพเป็นภารกิจส่วนสำคัญขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนในรัฐยะไข่ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ทีมส่งเสริมสุขภาพของเราเข้าถึงประชาชน 35,966 คน ช่วงที่ผู้ติดเชื้อโควิด-19 กำลังเพิ่มขึ้นในปี 2021 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพยังรวมถึงการให้ข้อมูลผ่านเครื่องกระจายเสียงไปตามเมืองมองดอ รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    Rakhine State, Myanmar, May 2022 © Ben Small/MSF

    ทีมงานกำลังให้บริการดูแลสุขภาพพื้นฐานแก่กลุ่มคนชายขอบ ทั้งสุขภาพจิต อนามัยเจริญพันธุ์ และการช่วยเหลือเหยื่อผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงบนฐานเพศภาวะและความรุนแรงทางเพศ ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2022 เราช่วยให้คำปรึกษาผู้ป่วยนอก 8,942 คน และส่งตัวผู้ป่วยฉุกเฉินจำนวน 446 คนไปยังโรงพยาบาลด้วยการประสานงานผ่านคลินิกเคลื่อนที่และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนของเรา

    รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

    Rakhine State, Myanmar, May 2022 © Ben Small/MSF

    เมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนไปเยี่ยมชาวโรฮิงญาในค่าย พวกเขาตรวจเยี่ยมทีละบ้านและทำภารกิจหลายอย่าง ทั้งการประเมินทางโภชนาการ ส่งเสริมแนวทางป้องกันโควิด-19 และเจ้าหน้าที่บางส่วนยังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีและกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพจิตอีกด้วย

    เดือนพฤษภาคม 2021 องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเริ่มจัดการปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศภาวะ และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในเมืองมองดอเพื่อช่วยป้องกันปัญหานี้

    รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF

    Rakhine State, Myanmar, March 2022 © Ben Small/MSF

    เมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชนไปเยี่ยมชาวโรฮิงญาในค่าย พวกเขาตรวจเยี่ยมทีละบ้านและทำภารกิจหลายอย่าง ทั้งการประเมินทางโภชนาการ ส่งเสริมแนวทางป้องกันโควิด-19 และเจ้าหน้าที่บางส่วนยังให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเอชไอวีและกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพจิตอีกด้วย

    เดือนพฤษภาคม 2021 องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเริ่มจัดการปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศภาวะ และประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในเมืองมองดอเพื่อช่วยป้องกันปัญหานี้

    รัฐยะไข่ เมียนมา - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF

    March 2022 © Ben Small/MSF

    ขณะที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ช่วยแบ่งเบาภารกิจการดูแลสุขภาพพื้นฐานได้พอสมควร ยังคงมีผู้ป่วยบางส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือมากกว่านั้น - มีนาคม 2022 © Ben Small/MSF 

     

    What hope is there for young people in Rakhine State? Myanmar, May 2022 © Ben Small/MSF

    คนรุ่นใหม่ในรัฐยะไข่ยังมีความหวังอะไรหลงเหลืออยู่บ้าง? เมียนมา พฤษภาคม 2022 © Ben Small/MSF