Skip to main content

    ฟิลิปปินส์: เมื่อซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านยี่พัดถล่มจนพังราบเป็นหน้ากลอง

    Some residents evacuated to Dinadiawan Elementary School during the storm, only to rooftops torn off the buildings, and trees breaking down cement walls

    ผู้อยู่อาศัยบางส่วนต้องอพยพไปอยู่ในโรงเรียนชั้นประถมระหว่างไต้ฝุ่นเข้าพัดถล่ม หากในท้ายที่สุดแล้วพื้นที่ดังกล่าวก็ไม่สามารถทัดทานแรงลมได้ หลังคาปลิวไปกับลมกำลังแรง และต้นไม้ล้มถล่มจนกำแพงได้รับความเสียหาย - ฟิลิปปินส์ พฤศจิกายน 2567 © Regina Layug Rosero/MSF

    และนี่คือความเสียหายที่พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านยี่ (Man-yi ชื่อท้องถิ่นคือ เปปิโต - Pepito) ทิ้งไว้ พายุลูกที่ 6 ภายในเดือนเดียวที่เข้าถล่มฟิลิปปินส์ (Philippines) พายุหม่านยี่ขึ้นฝั่ง 2 ครั้ง ครั้งแรกที่เมืองปังกานิบัน (Panganiban) จังหวัดคาทันดูอาเนส (Catanduanes) เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน และวันถัดมาก็ขึ้นที่เมืองดีพาคูเลา (Dipaculao) จังหวัดออโรรา

    เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders / Médecins Sans Frontières - MSF) เริ่มให้บริการคลินิกเคลื่อนที่ในชุมชนริมทะเลดีนาจาวัน (Dinadiawan) ในเมืองดีพาคูเลา จังหวัดออโรรา องค์การฯ ร่วมกับกรมสุขภาพและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ระดับจังหวัดและตำบลเพื่อให้บริการทางการแพทย์อย่างครบวงจรกับชุมชนเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ บริการดังกล่าวรวมถึงการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ บริการสุขภาพจิตและจิตเวช การทำแผล การฉีดวัคซีนตามรอบ การจ่ายยา และการคัดกรองภาวะ ทุพโภชนาการ (malnutrition) ในเด็ก

    Nurse Briccio Echo Jr. works with a local nurse to triage patients at the mobile clinic.

    พยาบาลขององค์การฯ ทำงานร่วมกับพยาบาลท้องถิ่นเพื่อคัดกรองอาการเบื้องต้นภายในคลินิกเคลื่อนที่ - ฟิลิปปินส์ พฤศจิกายน 2567 © Regina Layug Rosero/MSF

    ลมที่พัดมามันรุนแรงมาก

    ดีนาจาวัน (Dinadiawan) ในเมืองดีพาคูเลา เป็นชุมชนริมทะเลที่มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 5,000 คน และเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายร้ายแรงมากที่สุดพื้นที่หนึ่งในจังหวัดออโรรา หลังจากพายุขึ้นฝั่งก็ตามมาด้วยฝนตกหนัก ทำลายถนนบนภูเขาขณะที่คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge) ทำความเสียหายให้อาคารบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง

    ขณะที่มีการเตือนภัยพายุหม่านหยี่ ประชาชนจำนวนมากอพยพไปที่โรงเรียนประถมดีนาจาวัน เดเลีย มาคาลิเพย์ (Delia Macalipay) อายุ 63 ปี ก็อพยพไปที่นั่นพร้อมกับครอบครัวของเธอ

    ลมแรงมากๆ พวกเราหลบอยู่หลังฟูกที่นอนเพื่อป้องกันตนเอง เด็กๆ ก็อยู่ด้วยกันหมด ฉันเป็นคนจับฟูกไว้ ฉันไม่รู้ตัวว่าเท้าของฉันโผล่ออกไป ดังนั้นพอลมพัดกระจกแตก เท้าก็เลยโดนบาดเป็นแผล”เดเลียเล่า เธอมาที่คลินิกเคลื่อนที่ขององค์การฯ เพื่อตรวจดูแผล “โชคดีมากที่เศษแก้วไม่ได้ติดอยู่ในเท้า”

    แม้ว่าอาการบาดเจ็บของเธอจะได้รับการรักษาแล้ว แต่เท้าของเธอยังบวมอยู่เนื่องจากแช่อยู่ในน้ำฝนมานาน

    ดอกเตอร์ มาร์ฟ ดูคา เฟอร์นันเดซ  (Marve Duka-Fernandez)  หัวหน้าทีมแพทย์สำหรับการรักษาคนไข้รายนี้ระบุว่า “ในช่วงเวลา 5 วันที่ผ่านมา เราได้รักษาผู้ป่วยไปแล้ว 549 ราย ผู้ป่วยจำนวนมากมีปัญหาทางเดินหายใจส่วนต้นติดเชื้อ (upper respiratory tract infections)  นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยอายุเกิน 60 ปีจำนวนมากที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมความดันโลหิตสูง (hypertension)”

    ผู้ป่วยที่มาเพราะแผลฉีกขาด แผลลักษณะเป็นรู บาดเจ็บที่ศีรษะ จากอุบัติเหตุชนิดต่างๆ ที่เกิดระหว่างพายุถล่ม หรือเกิดขึ้นระหว่างการทำความสะอาดและซ่อมแซมหลังการเกิดพายุ เรายังพบเจอแผลจากสุนัขกัดด้วย แม้ว่าการบาดเจ็บเหล่านี้เป็นเรื่องปกติหลังจากเหตุภัยพิบัติ ความอันตรายคือ แผลเหล่านี้สามารถติดเชื้อได้ หรือกรณีที่เข้ารับการรักษาช้าเกินไปหลังมีแผล เนื่องจากผู้คนกำลังง่วนอยู่กับการซ่อมแซมและการทำความสะอาดบ้านเรือนมากกว่าการมาพบแพทย์ หรือไม่ก็กำลังให้จัดการกับความจำเป็นอื่นๆ ของสมาชิกในครอบครัวมากกว่าจะดูแลอาการบาดเจ็บของตนเอง
    ดอกเตอร์ มาร์ฟ ดูคา เฟอร์นันเดซ

    “ดินถล่มพัดพาบ้านของเราราบคาบ”

    โรซาลินดา ทาบิล (Rosalinda Tabil) อายุ 41 ปี มาที่คลินิกเคลื่อนที่พร้อมกับแผลที่แขน ฉันพยายามจะเปิดฝากระป๋องปลาซาร์ดีนให้กับคนที่บ้าน ฉันไม่มีที่เปิดกระป๋อง มีแต่มีด พอพลาดมีดก็เลยแฉลบเข้าที่แขนของฉัน”

    ทาบิลและครอบครัวของเธออพยพไปพักกับญาติ  และด้วยความเร่งรีบหาที่ปลอดภัย พวกเขาเลยจำเป็นต้องทิ้งทุกอย่างไว้ ครอบครัวเธอทั้งหมด 8 คนซึ่งมีลูกๆ ของเธอรวมอยู่ด้วยต้องอยู่กันอย่างแออัดในพื้นที่เล็กๆ ซึ่งพวกเขาได้แต่ภาวนาให้หลังคาเหนือศีรษะของพวกเขาไม่ถูกพัดพาไปด้วยลม พวกเขาทิ้งบ้านบนภูเขาอพยพมาในพื้นที่ราบใกล้กับน้ำ “เราต้องข้ามสะพาน 3 แห่งกว่าจะมาถึงที่นี่”เธอเล่า

    “ตอนที่เรากลับไปดูที่บ้าน ทุกอย่างหายไปหมดสิ้น ดินถล่มพัดพาบ้านของเราไปอย่างราบคาบ”นอกจากบ้านแล้ว ทรัพย์สินทุกอย่างก็หายไปหมดเช่นกัน

    Nurse Daryll Von Abellon cleans a leg wound on a teenaged boy. Philippines, November 2024. 

    พยาบาลรายหนึ่งทำแผลบริเวณหน้าแข้งให้กับวัยรุ่นชายรายหนึ่ง - ฟิลิปปินส์ พฤศจิกายน 2567 © Regina Layug Rosero/MSF

    ปัญหาสุขภาพจิตยังคงอยู่ “ครอบครัวของฉันจะเป็นอย่างไรถ้าฉันตายไป”

    นอกจากการให้บริการสุขภาพผ่านคลินิกเคลื่อนที่แล้ว ซาราห์ เจน ดีโอคัมโพ   (Sarah Jane Deocampo) หัวหน้างานบริการสุขภาพจิต ได้พูดคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับประสบการณ์และบาดแผลทางใจที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยรวมแล้วองค์การฯ จัดให้มีการพูดคุยเพื่อให้ความรู้เรื่องสภาพจิตใจกับประชากร 55 ราย โดยให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตที่จำเป็นและวิธีการรับมือ เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ ยังจัดให้มีการให้คำปรึกษาผ่านกระบวนการการปฐมพยาบาลทางใจ  Psychological First Aid (PFA) อีก 35 ราย และจัดกิจกรรมลักษณะเดียวกันแบบกลุ่มให้กับผู้นำและผู้ปฏิบัติที่หน้าให้บริการในชุมชนจำนวน 11 ชุมชน

    ดีโอคัมโพสังเกตและพบว่า “ส่วนใหญ่คนที่ต้องการคำปรึกษาเป็นผู้ป่วยสูงอายุและเป็นผู้หญิง ผู้ชายก็มีบ้างที่อยากพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ประสบการณ์ที่พวกเขาต้องเผชิญจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ”

    พวกเขามุ่งสนใจดูแลครอบครัว พยายามซ่อมแซมบ้านและจัดการชีวิตของพวกเขาว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร จนพวกเขาละเลยทั้งเรื่องความรู้สึกกับการบาดเจ็บและปัญหาสุขภาพของตนเอง เมื่อพวกเขามาหาเราเพื่อปรึกษา พวกเขาถึงร้องไห้และปลดปล่อยความกลัวและความหงุดหงิดใจออกมา เมื่อถึงเวลาแบบนี้เท่านั้นที่พวกเขาจะยอมให้ตัวเองรับรู้ความรู้สึกมากกว่าจะปล่อยให้ผ่านไปเหมือนความรู้สึกนั้นไม่เคยมีอยู่ และการมีโอกาสแบบนี้ทำให้พวกเราเริ่มวางแผนอนาคตได้
    ซาราห์ เจน ดีโอคัมโพ หัวหน้างานสุขภาพจิต

    อีแวนเจลิน่า รามิโร (Evangelina Ramiro) จะต้องมั่นใจว่าสมาชิกในครอบครัวได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนตัวเธอเอง ดีโอคัมโพเล่าให้ฟังว่า “เธอมีลูก 2 คนและหลาน 2 คนที่พูดไม่ได้ ขณะที่ตัวเธอเองอายุ 73 ปี แต่ก็ยังเป็นคนดูแลทุกอย่างในครอบครัว สามีของเธอเสียไปเมื่อหลายปีก่อน ส่วนลูกอีกคนก็ย้ายออกไปจากออโรราแล้ว เธอบอกฉันว่า  “ใจฉันยังแข็งแรงดี แต่ร่างกายของฉันไม่แข็งแรงอีกต่อไปแล้ว ครอบครัวของฉันจะเป็นอย่างไรถ้าฉันตายไป แค่ทำอาหารให้ตัวเองกินพวกเขายังไม่สามารถทำได้เลย”

    “แม้แต่หลังจากเสร็จการให้คำปรึกษาแล้ว เธอยังกล่าวคำว่า ซาลามัท อานัค (ขอบคุณมากนะลูก)ชั่วขณะหนึ่งที่ฉันคิดได้ว่าปัญหาที่ฉันมีอยู่นับว่าไม่ได้หนักหนาเท่าไหร่”

    ความท้าทายในการเข้าถึงพื้นที่และการทำประเมิน

    พายุหมานยี่กระทบหลายพื้นที่ที่ยังอยู่ในช่วงฟื้นฟูจากพายุไซโคลนครั้งก่อนๆ องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเข้าเยี่ยมพื้นที่จังหวัดคาทันดูอาเนส ในภูมิภาคบิโคล (Bicol) และจังหวัดคากายัน (Cagayan) จังหวัดอิซาเบล่า (Isabela) จังหวัดนูวาวิซคายา (Nueva Vizcaya) และจังหวัดออโรรา ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือและตอนกลางของเกาะลูซอน (Luzon)

    ดาริล วอน อเบลอน (Daryll Von Abellon) เจ้าหน้าที่จัดการด้านการขนส่งอธิบายว่า “เราต้องใช้เวลาขับรถ 4-5 ชั่วโมงต่อเที่ยวในการเข้าถึงชุมชนในพื้นที่จังหวัดคากายัน จังหวัดอิซาเบล่า จังหวัดนูวา วิซคายาและจังหวัดออโรรา และอีก 4 ชั่วโมงสำหรับขากลับไปที่เมืองตูเกกาเรา (Tuguegarao) จังหวัดคากายันก่อนจะมืด

    เราเข้าพื้นที่ได้แค่วันละเขตชุมชน ถ้าโชคดีอาจจะได้สัก 2 เขต มีอยู่วันหนึ่งที่เราต้องอยู่บนถนนนานกว่า 14 ชั่วโมง และอีกครั้งที่เราต้องย้อนกลับทางเดิมแม้ว่าเราจะเกือบจะถึงจังหวัดออโรราแล้วก็ตาม แต่เพราะดินถล่มอย่างหนักขวางถนน หน่วยงานท้องถิ่นเห็นว่าอันตรายเกินไปสำหรับการสัญจร”

    Evangelina Ramiro made sure her family members had medical consultations before she agreed to have an individual counseling session. Deocampo shared, “She has two children and two grandchildren who are mute. At 73 years old, she is still the one taking care of her whole family. Her husband died years ago, and her other children have left Aurora province. She told me, ‘My mind is still capable, but my body not as much. What will happen to my family if I die? They cannot even cook their own meals.’” “Still, a

    การเดินทางไปยังดีนาจาวัน เมืองดีพาคูเลา จากเมืองหลวงของออโรรา ต้องขับผ่านเส้นทางที่คดเคี้ยว ขนาบไปด้วยภูเขาและทะเลกว่า 2 ชั่วโมง โดยหลายวันหลังจากที่ไต้ฝุ่นเข้าพัดถล่ม ถนนหลายสายได้รับความเสียหายจากดินถล่ม - ฟิลิปปินส์ พฤศจิกายน 2567 © Regina Layug Rosero/MSF

    “ความท้าทายอีกอย่างคือการที่พายุ 6 ลูกเข้าถล่มในระยะเวลาเพียงแค่เดือนเดียว เราต้องประเมินพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดและระบุว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากพายุลูกล่าสุด พื้นที่ไหนต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด พื้นที่ไหนที่เราเข้าถึงได้ เจ้าหน้าที่ชุดรับมือภัยพิบัติท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบอกเราว่า  ‘พวกเราพร้อมรับมือกับพายุ 1-2 ลูกที่เข้าในเดือนนี้ แต่พายุ  6 ลูก มากเกินรับไหว’”  

    การเข้าถึงดีนาจาวัน เมืองดีพาคูเลา จากบาเลอร์ (Baler) ตัวเมืองของจังหวัดออโรรา เจ้าหน้าที่ต้องขับรถเกือบ 2 ชั่วโมงบนทางคดเคี้ยวระหว่างภูเขากับมหาสมุทร คลินิกเคลื่อนที่ในดีพาคูเลาถูกสร้างขึ้นบนถนนที่ห่างจากชายฝั่งน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ชายหาดยังเต็มไปด้วยต้นไม้ กิ่งไม้ เศษขยะ ที่กระจายไปทั่วบริเวณ 

    หลังจากมีคลินิกเคลื่อนที่ที่ดีนาจาวันมาได้ 1 สัปดาห์ องค์การฯ ได้จัดการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลทางใจให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดออโรราจำนวน 30 คน ภารกิจการรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินขององค์การฯ สิ้นสุดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567