Skip to main content

    คองโก: ความคืบหน้าห้าประการ เกี่ยวกับการระบาดของโรคฝีดาษวานร

    Doctors Without Borders health promoters teams are conducting health promotion session to raise awareness of Mpox epidemic. DRC, May 2023. © MSF

    ทีมงานประชาสัมพันธ์โครงการทางการแพทย์ขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน ให้ความรู้เกียวกับการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ - สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก พฤษภาคม 2566 © MSF

    ต่อเนื่อง และสถานการณ์ได้เลวร้ายลงในเวลาเพียงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยจำนวนผู้ติดเชื้อทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว การกลายพันธุ์ทำให้ไวรัสสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ อีกทั้งมีการแจ้งรายงานผู้ต้องสงสัยติดเชื้อในพื้นที่อาศัยของผู้พลัดถิ่นในจังหวัดนอร์ กีวู (North Kivu)

    ณ เวลานี้ สถานการณ์การระบาดของโรคฝีดาษวานรภายในประเทศเป็นอย่างไร ทีมขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders / Médecins Sans Frontières - MSF) ดำเนินการอย่างไรเพื่อการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินใหม่นี้ ดร.ลูอิซ อัลเบิร์ต มาสซิง (Dr Louis Albert Massing) ผู้ประสานงานด้านการแพทย์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก พร้อมให้รายละเอียด

    ข้อมูลเบื้องต้นของโรคฝีดาษวานรและผลกระทบต่อสุขภาพ

    โรคฝีดาษวานรเกิดจากไวรัสฝีดาษวานร สามารถแพร่เชื้อได้ผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่น (endemic) ในพื้นที่แอฟริกาเหนือ (สายพันธุ์ I) และแอฟริกาตะวันตก (สายพันธุ์ II) มาตั้งแต่ปี 2513 และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วโลกในปี 2565 ถึง 2566 มีการรายงานผู้ป่วยหลายหมื่นรายในกว่า 110 ประเทศทั้งโลกว่าเชื่อมโยงกับสายพันธุ์ที่พบในพื้นที่แอฟริกาตะวันตก

    ในทางปฏิบัติ โรคฝีดาษวานรทำให้เกิดผื่นแดง รอยโรคหรือรอยแผล และอาการเจ็บปวด โดยอาการทั้งหมดนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อควบคุมอาการของโรคอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึงหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายขาดจากโรคภายในเวลา 1 เดือนหลังได้รับการรักษา อย่างไรก็ตามหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกปรากฏอัตราผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ I สูงกว่าตัวเลขในพื้นที่แอฟริกาตะวันตกอย่างมีนัยสำคัญ โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตแล้ว 479 ราย ขณะที่รายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ประมาณการว่าในปี 2565 โรคฝีดาษวานรได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกราว 89 ราย

    สถานการณ์ปัจจุบันในประเทศเป็นอย่างไร

    ในอดีต โรคฝีดาษวานรเป็นโรคประจำถิ่นในพื้นที่ 11 จังหวัดจาก 26 จังหวัดของประเทศ อย่างไรก็ตามตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 2 ปีแล้ว ทำให้น่วยงานด้านสาธารณสุขจากภาครัฐได้ประกาศให้เป็นโรคระบาด (epidemic) ในเดือนธันวาคม ปี 2565 และอีกเพียงหนึ่งปีถัดมาหรือในปี 2566 ตัวเลขได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ตัวเลขผู้ต้องสงสัยติดเชื้อมีมากกว่า 14,600 ราย และมีผู้เสียชีวิต 654 ราย ส่วนในปี 2567 นั้น สถานการณ์ได้เลวร้ายยิ่งขึ้น โดยระหว่างเดือนมกราคมจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม มีรายงานผู้ต้องสงสัยติดเชื้อถึง 12,300 ราย ในพื้นที่ 23 จังหวัดของประเทศ

    การแพร่กระจายของโรคระบาดเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่พบในจังหวัดซูด กีวู (South Kivu) ส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อจากคนสู่คนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน อย่างไรก็ยัง ในปัจจุบันยังไม่พบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ที่พบในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำคองโก (Congo Basin) ซึ่งมีความแตกต่างกับสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกที่เป็นต้นเหตุของการระบาดไปทั่วโลกในปี 2565 นอกจากความสามารถในการกลายพันธุ์แล้ว อีกสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ มีการตรวจพบโรคดังกล่าวในค่ายผู้พลัดถิ่นรอบพื้นที่โกมา (Goma) ในจังหวัดนอร์ กีวู ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรสูง และนี่เป็นสาเหตุให้สถานการณ์มีความรุนแรงขึ้นไปอีก นอกจากนี้ การเคลื่อนย้ายของประชากรจำนวนมากที่เดินทางเข้าออกสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกถือเป็นความเสี่ยงอย่างแท้จริงในการแพร่กระจายของโรค

    การวินิจฉัยโรค การติดตามและเฝ้าระวังผู้ป่วย และการดูแลรักษานั้นมีปริมาณที่จำกัดมาก ซ้ำร้ายกว่านั้น วัคซีนที่ขาดแคลนยิ่งทำให้สถานการณ์ลำบากมากขึ้น สำหรับคนในบางชุมชนมีการเชื่อมโยงโรคดังกล่าวรวมกับความเชื่อด้านไสยศาสตร์และเวทมนตร์ ยิ่งกระทบต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติทางสาธารณสุข นี่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้นำชุมชนเพื่อที่จะให้ทุกคนปฏิบัติตามหลักการ องค์การฯ เรียกร้องให้มีการระดมพลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ และให้มีการเดินสายฉีดวัคซีนเพื่อคุ้มครองชุมชนที่มีความเสี่ยงอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

    สถานการณ์การฉีดวัคซีนในประเทศเป็นอย่างไร

    สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกให้การรับรองวัคซีน 2 ชนิด และกำลังพยายามจัดหาวัคซีนเตรียมไว้เพิ่ม แต่ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนตัวไหนที่พร้อมให้บริการกับประชาชน มีการดำเนินการเพื่อเจรจาต่อรองกับบางประเทศไปพร้อมกับการกำหนดพื้นที่หลักสำหรับปฏิบัติการ องค์การฯ จะมีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยเร็วและจัดหาวัคซีนที่เพียงพอสำหรับการใช้งานภายในประเทศเพื่อการรับมือกับการระบาดในพื้นที่หลัก

    ทีมขององค์การฯ ดำเนินการควบคู่กันอย่างไรบ้าง

    องค์การฯ ได้เตรียมหลากหลายมาตรการในการสนับสนุนเพื่อปฏิบัติงานและรับมือกับการระบาดครั้งนี้ โดยองค์การฯ เคยรับมือกับสถานการณ์ที่มีความใกล้เคียงกันมาแล้วในอดีต ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำมาตรการฉุกเฉินสำหรับจังหวัดไมน์ ดอมเบ (Mia-Ndombe)  ในปี 2564 จังหวัดเอกาเตอร์ (Équateur) ในปี 2566 จนถึงต้นปี 2567 และองค์การฯ ยังคงก็เร่งทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อรองรับการแพร่ระบาดที่กำลังเกิดขึ้นอยู่

    ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิถุนายน หน่วยงานหนึ่งขององค์การฯ เข้าสนับสนุนการทำงานในเขตสุขภาพอูวีรา (Uvira) จังหวัดซูด กีวู องค์การฯ ดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ณ โรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่ออูวีราและติดตามผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงนแผนกผู้ป่วยนอก หากพบผู้ป่วยต้องสงสัยก็มีการแยกพื้นที่ออกจากกัน เจ้าหน้าที่ขององค์การฯ คือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนให้สามารถจัดการและออกแบบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติงานทางการแพทย์ มาตรการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ รวมไปถึงการสร้างความตระหนักรู้ในชุมชน ในช่วง 5 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วยมากกว่า 420 รายในอูวีราได้รับการรักษาโดยองค์การฯ เป็นกรณีรุนแรงจำนวน 217 ราย นอกจากนี้องค์การฯ ยังจัดหาชุดอุปกรณ์สำหรับการรักษาและเก็บตัวอย่างเชื้อเพื่อส่งต่อให้กับทางโรงพยาบาลอีกด้วย

    ในจังหวัดนอร์ กีวู องค์การฯ ได้ริเริ่มกิจกรรมเพื่อเฝ้าระวังและสร้างความตระหนักในค่ายผู้พลัดถิ่นในโกมา ซึ่งองค์การฯ ได้ปฏิบัติงานอยู่และกำลังเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของสถานพยาบาลผ่านการคัดกรอง การคัดแยกตัวผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการของโรคฝีดาษวานร

    ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ มีการเปิดตัวมาตรการใหม่อีก 2 รายการ รายการแรกในเขตสุขภาพบิโกโร (Bikoro) จังหวัดเอกาเตอร์ และอีกหนึ่งรายการในเขตสุขภาพบัดจาลา (Budjala) จังหวัดซัด อูบองซี (South-Ubangi) โดยมีระยะเวลาดำเนินการเป็นเวลาหลายเดือน มุ่งเป้าหมายไปยังการฝึกสอนบุคลากรทางการแพทย์ในศูนย์การแพทย์และศูนย์สุขภาพจิต เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาด การป้องกัน และควบคุมการติดเชื้อ รวมไปถึงการสร้างความตระหนักในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่บางครั้งมีส่วนร่วมได้ยาก เช่น ผู้พิการ ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม มีผู้ป่วย 329 รายในบัดจาลาเข้ารับการรักษาจากองค์การฯ และในจังหวัดเอกาเตอร์ องค์การฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อเข้าใจทำความเข้าใจกลไกการทำงานของไวรัสและแนวทางการต่อสู้กับโรคนี้ให้ดียิ่งขึ้น

    สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญลำดับต้น

    การระบาดในครั้งนี้แพร่กระจายไปยังพื้นที่ที่มีความแตกต่างอย่างมาก ทั้งทางประชากรศาสตร์และภูมิศาสตร์ การปฏิบัติงานจึงต้องไม่สามารถพิจารณาได้เพียงแผนงานฉบับกลาง แต่ต้องปรับให้เข้ากับแต่ละบริบทด้วย ในระหว่างที่ทุกภาคส่วนรอให้วัคซีนมาถึง การทำงานด้านอื่นเพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การวิเคราะห์ผลจากห้องปฏิบัติการ การเฝ้าระวัง การดูแลเพื่อแยกตัวและกักตัว การเพิ่มความตระหนักรู้ และความรู้ด้านอื่นที่รวมไปถึงการดูแลรักษาคนไข้ด้วย ซึ่งปัจจุบัน มิติการทำงานข้างต้นประสบปัญหาอันเนื่องมาจากการขาดแคลนทรัพยากรและจำเป็นต้องมีการเสริมศักยภาพที่มากขึ้น

    สิ่งที่องค์การฯ คาดหวังคงไม่แตกต่างจากผู้คนจำนวนมาก หากองค์การฯ ทำได้เพียงวิงวอนให้วัคซีนมาถึงประเทศเร็วที่สุด และมีปริมาณที่มากพอเพื่อที่จะปกป้องชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอย่าง บุคลากรทางการแพทย์ชาวคองโก ซึ่งเป็นด่านหน้าสู้กับการติดเชื้อ รวมไปถึงกลุ่มเสี่ยประเภทอื่น เช่น ผู้ให้บริการทางเพศและผู้พลัดถิ่นในค่าย

    สนับสนุนการทำงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน

    การสนับสนุนของคุณ ช่วยให้เราส่งต่อเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการช่วยชีวิตได้ต่อเนื่อง