Skip to main content

    เฮติ: ท่าเรือปิด ชั้นวางของว่างเปล่า และความต้องการอุปกรณ์การแพทย์อย่างเร่งด่วน

    MSB36405_Medium

    ภาพถ่ายในปี 2563 การเอาชีวิตรอดจากเหตุความรุนแรง แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลผู้ป่วยสาหัสทาบาร์เร (Tabarre) ขององค์การฯ ป่วยบางรายที่ออกจากการรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้วยังคงกลับมาโรงพยาบาลเพื่อการติดตามผล เช่นการดูแลรักษาบาดแผลและเข้ารับกายภาพบำบัด แผนกผู้ป่วยนอกจะรับผู้ป่วยประมาณ 80 รายต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมาในวันจันทร์และวันศุกร์เนื่องจากจะไม่มีการนัดหมายผู้ป่วยในวันหยุดสุดสัปดาห์ © กิโยม บิเนต์/MYOP (Guillaume Binet/MYOP)

    ความมั่นคงที่ก่อตัวเพิ่มในทุกวันส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการดำเนินงานทางการแพทย์ขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders / Médecins Sans Frontières - MSF) ซึ่งไม่สามารถนำเครื่องมือเข้ามาได้ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม ระบบสุขภาพของเฮติได้รับผลกระทบรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับบริการทางการแพทย์ที่จำเป็นท่ามกลางความรุนแรงและการถูกตัดขาดจากภายนอกอย่างต่อเนื่อง

    องค์การฯ เรียกร้องฉุกเฉินไปยังกลุ่มติดอาวุธที่เกี่ยวข้องในการต่อสู้และผู้มีอำนาจที่รับผิดชอบด้านศุลกากรให้ดำเนินการจัดส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือเวชภัณฑ์ให้พลเรือนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

    หัวหน้าภารกิจขององค์การฯ มูมูซู มูฮินโด มูซูบาโฮ (Mumuza Muhindo Musubaho) กล่าวว่า

    หากองค์การฯ ไม่ได้รับอุปกรณ์ทางการแพทย์ภายในสองสัปดาห์ข้างหน้า มันจะกลายเป็นการบีบบังคับให้เราลดระดับการดำเนินงานอย่างน่ากังวลใจ พวกเราจะต้องเพิ่มความสามารถในการรับมือกับการหลั่งไหลเข้ามาของผู้ป่วย แต่โชคไม่ดีนัก เพราะการแจกจ่ายยาจำนวนมหาศาลหมายความว่าเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ขาดแคลนยา
    มูมูซู มูฮินโด มูซูบาโฮ

    โรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์มากกว่า 30 แห่งปิดตัวลง รวมไปถึงโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดอย่างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเฮติ (L'Hôpital de l'Université d'État d'Haïti) เนื่องจากเหตุก่อกวน การปล้นสะดม และตั้งอยู่ในเขตที่ไม่ปลอดภัย การปิดสนามบินและท่าเรือตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นั้น ส่งผลให้ศูนย์การแพทย์ขององค์การฯ ขาดแคลนอุปกรณ์อย่างมาก ในสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ ขั้นตอนของศุลกากรจะต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้การจัดส่งยาและอุปกรณ์เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดมูมูซา มูฮินโด มูซูบาโฮ แจ้งเตือน แม้ว่าสนามบินปอร์โตแปรงซ์จะกลับมาเปิดอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ การสร้างความร่วมมือในวงกว้างเพื่อการดำเนินการที่รวดเร็วขึ้นของศุลกากรยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่

    ในขณะที่องค์การฯ และหน่วยงานทางการแพทย์รายอื่นขาดแคลนอุปกรณ์สำหรับการทำงานมากขึ้นทุกวัน ประชาชนเองก็กำลังเผชิญกับความต้องการด้านการแพทย์และมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น วัณโรคและเอชไอวี มีความเสี่ยงสูงที่จะอาการแย่ลงเนื่องจากไม่ได้รับบริการทางการแพทย์และยารักษาโรคที่เพียงพอ สภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ของเมืองปอร์โตแปรงซ์เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคที่ติดต่อทางน้ำ เช่น อหิวาตกโรค

    โรงพยาบาลขององค์การฯ ในเมืองคาร์ฟูร์ (Carrefour) ที่เปิดให้บริการในเดือนมีนาคมเพื่อรองรับสถานการณ์ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น คือตัวอย่างของความท้าทายที่องค์การฯ กำลังเผชิญอยู่ จากตอนต้นที่มีการเก็บคลังอุปกรณ์เอาไว้ใช้สำหรับการทำงาน 6 เดือน หากตัวเลขของอุปกรณ์กลับลดลงอย่างรวดเร็วจากการล้นทะลักเข้ามาของผู้ป่วย

    ทุกเรื่องราวที่เกิดขึ้นคือความท้าทาย แม้แต่การซื้อกระดาษสำหรับพิมพ์รายงานทางการแพทย์ก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้
    จีน แบพทิสเต เกาส์กลาส ผู้ประสานงาน

    โดยรวมแล้ว จากจำนวนโครงการทั้งหมดขององค์การฯ ในประเทศ ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน 2567 องค์การฯ ได้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยนอกจำนวน 9,025 ราย รักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน 4,966 ราย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยจากแผลกระสุนปืน 869 ราย และเหยื่ออุบัติเหตุทางถนนอีก 742 ราย และในจำนวนผู้ป่วย 99รายที่เข้ารับการรักษาด้วยแผลไฟไหม้ ณ โรงพยาบาลทาบาร์เรนั้น ครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยเด็ก

    สถานการณ์ฉุกเฉินในปัจจุบัน ที่โรงพยาบาลหลายแห่งทยอยปิดตัวลงและลดการให้บริการ องค์การฯ ขอเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจผ่อนคลายการดำเนินงานของศุลกากรทั้งหมด และขอให้ทุกฝ่ายช่วยเหลือในการลำเลียงขนส่งวัสดุให้ศูนย์การแพทย์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย