Skip to main content
    woman. rakhine, myanmar.

    จดจำชาวโรฮิงญา

    จากเมียนมา พวกเขาหลบหนีไปยังบังกลาเทศ มาเลเซียและประเทศอื่นๆ ทุกวันนี้ชาวโรฮิงญายังคงไม่ได้รับสิทธิพื้นฐานอย่างการปกป้องคุ้มครอง เป็นคนไร้รัฐและใช้ชีวิตอย่างเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

    วิกฤตโรฮิงญาคืออะไร

    จากปัญหาความขัดแย้งและภัยพิบัติ ประชากร 82 ล้านคนทั่วโลกต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่น ซึ่งมากกว่าครั้งไหนๆ ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยตระหนักว่าวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งใหญ่และเร่งด่วนที่สุดอยู่ในทวีปเอเชีย

    เป็นเวลานานหลายทศวรรษที่ชาวโรฮิงญาต้องเผชิญการข่มเหงและทารุณ หลายคนที่ยังอยู่ในเมียนมาถูกบังคับให้อาศัยภายในค่ายที่รัฐยะไข่ ถูกขับไล่จากบ้านเรือนของตัวเอง หมู่บ้านถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง ผู้ที่หลบหนีภัยความรุนแรงเหล่านี้ต้องเสี่ยงเดินทางรอนแรมทั้งทางบกและทางทะเลเพื่อหาที่พักพิงในประเทศอื่นๆ เช่น บังกลาเทศ มาเลเซีย กัมพูชา ไทย และอินเดีย

    ปัจจุบัน ชาวโรฮิงญาร่วม 1 ล้านคนแออัดกันอยู่ภายในเขตคอกซ์บาซาร์ของประเทศบังกลาเทศ ในสถานที่ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นค่ายผู้พลัดถิ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ชาวโรฮิงญาอีกจำนวนมากอาศัยอยู่ในปีนัง มาเลเซีย ซึ่งพวกเขาเดินทางไปถึงหลังจากโดยสารเรือขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยผู้คนข้ามน้ำข้ามทะเลอันดามัน นอกจากนี้ยังมีค่าย 4 แห่งในบันดาอาเจะห์ อินโดนีเซีย ที่เป็นแหล่งอาศัยของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา

    จนถึงขณะนี้เป็นเวลา 30 ปีแล้วตั้งแต่ที่เมียนมาพิจารณาไม่ให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการได้รับสถานะพลเมืองแก่ชาวโรฮิงญา ซึ่งตกเป็นที่วิจารณ์อย่างหนัก แต่ปัจจุบันชาวโรฮิงญายังคงไร้รัฐ ไร้ซึ่งสิทธิหรือเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และด้วยเหตุนี้ทำให้พวกเขายังไม่ได้รับการยอมรับในฐานะผู้ลี้ภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย ปัจจัยเหล่านี้ลิดรอนสิทธิพื้นฐานที่สุดของการได้รับการปกป้องคุ้มครอง และทำให้พวกเขาตกอยู่ในสภาวะเคว้งคว้างอย่างสิ้นหวังและไร้ซึ่งอนาคต ประชาคมโลกและประชาคมในระดับภูมิภาคต่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อมนุษย์เพื่อนร่วมโลกผู้สิ้นหวังกว่า 1 ล้านคนนี้ ที่พวกเขาต่างมีสิทธิเหมือนกับที่เรามี ในการได้รับการยอมรับ ความช่วยเหลือ และผสานรวมเป็นส่วนหนึ่งในสังคม แต่ซ้ำร้ายดูเหมือนอนาคตของพวกเขากลับดูย่ำแย่ลงเรื่อยๆ

    ทางออกในระยะยาวที่ยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาวโรฮิงญา ประชากรกลุ่มนี้ไม่สามารถถูกละเลยและลืมเลือนได้อีกต่อไป ราวกับเป็นเพียงหมากตัวหนึ่งในกระดานเกมการเมืองระดับภูมิภาคเท่านั้น

    Rohingya Child - Richard Swarbrick © 2020

    คุณรู้เรื่องวิกฤตผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามากแค่ไหน

    ทดสอบความรู้ของคุณ 

    ความเป็นมาของชาวโรฮิงญา

    เราอาศัยอยู่ในเรือนจำแบบเปิด ชีวิตของผู้ลี้ภัยราวกับอยู่ในนรก และทุกวันไม่ต่างไปจากเดิม บางครั้งฉันต้องกัดตัวเองเพื่อให้แน่ใจว่ายังรู้สึกอะไรได้อยู่ และฉันเคยพยายามฆ่าตัวตาย
    ฟารัก (Faruk) ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
    อ่านบทความ - ทำไมชาวโรฮิงญาจึงไร้รัฐ
    อ่านบทความ - ทำไมชาวโรฮิงญาจึงไร้รัฐ
    อ่านบทความ - ใครจะต่อสู้เพื่อปกป้องชาวโรฮิงญา
    อ่านบทความ - ใครจะต่อสู้เพื่อปกป้องชาวโรฮิงญา
    เสียงของฉัน - ฉันชื่อ “นูรุล โฮค” (Nurul Hoque)
    เสียงของฉัน - ฉันชื่อ “นูรุล โฮค” (Nurul Hoque)
    ชมภาพ - ชีวิตชาวโรฮิงญาในเมียนมา
    ชมภาพ - ชีวิตชาวโรฮิงญาในเมียนมา

    ชาวโรฮิงญา - ถูกข่มเหงในเมียนมา ถูกกักขังในบังกลาเทศ เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และลักลอบอยู่อย่างผิดกฎหมายในมาเลเซียและที่อื่นๆ

    rohingya crisis map

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนช่วยดูแลสุขภาพชาวโรฮิงญา

    เราเปิดคลินิกเคลื่อนที่และลงพื้นที่ในรัฐยะไข่ของเมียนมา กิจกรรมมีทั้งการดูแลสุขภาพจิต อนามัยเจริญพันธุ์ และการดูแลสภาพจิตใจเหยื่อผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงบนเพศสภาวะและความรุนแรงทางเพศ

    จุดบริการของเราที่คอกซ์บาซาร์ บังกลาเทศ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ทั้งการดูแลหญิงตั้งครรภ์ สุขภาพจิต และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตรายบุคคล

    ส่วนที่มาเลเซีย การบริการสุขภาพที่เราจัดทำเป็นหลังมีทั้งการให้ความรู้ด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิต และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตผ่านทางคลินิกเคลื่อนที่ซึ่งทำงานในระดับชุมชน กับคลินิกประจำซึ่งตั้งอยู่ในปีนัง

    Give Me Hope Richard Swarbrick

    ชาวโรฮิงญาต้องการความช่วยเหลือจากคุณ

    ในเมียนมา บังกลาเทศ และมาเลเซีย องค์การแพทย์ไร้พรมแดนทำภารกิจดูแลสุขภาพพื้นฐานแก่ชาวโรฮิงญา ทั้งด้านสุขภาพจิต อนามัยเจริญพันธุ์ และดูแลสภาพจิตใจเหยื่อผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงบนเพศสภาวะและความรุนแรงทางเพศ

    ความช่วยเหลือของคุณจะทำให้เราเดินหน้าดูแลพวกเขาและกลุ่มเปราะบางอื่นๆ ที่ต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤตต่อไปได้