Skip to main content

    อินโดนีเซีย: 4 ปีผ่านไป โครงการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นที่ยั่งยืนได้ส่งมอบให้กับชุมชน

    Training on adolescent reproductive health

    โครงการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณภาพและการเข้าถึงบริการสาธารณสุข รวมถึงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่น โดยมีการเสริมสร้างศักยภาพเป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการนี้ ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับการฝึกอบรมในหัวข้ออนามัยการเจริญพันธุ์ทางเพศของวัยรุ่น 21 เมษายน 2022 © MSF

    โครงการมุ่งเน้นไปที่การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับผู้ให้บริการสาธารณสุข ตลอดจนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์สุขภาพกับโรงเรียนของรัฐและเอกชนในท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณภาพและการเข้าถึงบริการสาธารณสุข รวมถึงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่น 

    ในทำนองเดียวกัน ทีมงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในท้องถิ่นต่างๆ ในการดำเนินงานบริการสาธารณสุขที่เป็นมิตรต่อวัยรุ่น (AFCS) ผ่านการให้คำปรึกษาและการฝึกอบรม เพื่อให้ชุมชนสามารถสานต่อการดำเนินโครงการในอนาคตด้วยตนเองได้

    แม้จะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพของวัยรุ่นเนื่องจากเหตุการณ์สึนามิในปี 2018 และการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เมื่อไม่นานมานี้ แต่เราก็รู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ทีมของเราทำสำเร็จ และยิ่งรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นชุมชนสามารถเข้ามาสานต่อโครงการนี้ ทั้งนี้อาจจะมีงานอีกหลายด้านที่ต้องพัฒนาต่อไปเกี่ยวกับสุขภาพของวัยรุ่นในอินโดนีเซีย แต่ในฐานะองค์การฯ เราได้มาถึงจุดที่เราสามารถขยับไปปฏิบัติภารกิจที่มีความจำเป็นในด้านอื่นๆ ได้แล้ว
    Walter Lorenzi หัวหน้าทีมปฏิบัติภารกิจ

    ระบบสาธารณสุขมักได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอเสมอไปที่จะตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของวัยรุ่น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มชายขอบ ในประเด็นเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ เอชไอวี การเสพติด สุขภาพจิต และโรคไม่ติดต่อ

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดนเชื่อว่า การให้บริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพสำหรับวัยรุ่น หมายถึง การให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพวกเขา และจากดำเนินโครงการในอินโดนีเซียผ่านวิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อนได้สะท้อนให้เห็นว่า การจัดตั้งมุมเยาวชนในชุมชนทั้ง 7 แห่งใน Banten ซึ่งขณะนี้ทุกแห่งอยู่ภายใต้การจัดการและดำเนินการโดยอาสาสมัครสาธารณสุขวัยรุ่น โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ภายในชุมชน มีวัยรุ่นกว่า 4,000 รายแวะเวียนเข้ามาร่วมกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา ศิลปะ และการอ่าน นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่แห่งการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นกับผู้ให้บริการสาธารณสุขเช่นกัน

    AH project in Indonesia 1

    โครงการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นในอินโดนีเซียขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณภาพและการเข้าถึงบริการสาธารณสุข รวมถึงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่น โดยในปี 2020 องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้จัดตั้งโครงการ Posyandu Remaja (สถานีอนามัยแบบบูรณาการสำหรับวัยรุ่น) และ UKS (หน่วยงานด้านสุขภาพภายในโรงเรียน) ในโรงเรียนนอกระบบในจังหวัด DKI Jakarta ซึ่งแม้ว่าจะถูกระงับการดำเนินโครงการไปในระยะหนึ่งเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ในท้ายที่สุดทีมงานก็สามารถกลับมาสานต่อกิจกรรมต่างๆ ได้อีกครั้งในปี 2022 

    แพทย์จากองค์การแพทย์ไร้พรมแดนขณะตรวจวัดค่าความดันโลหิตให้กับวัยรุ่นคนหนึ่ง 21/8/2022 © MSF

    Adolescent Health project activities in school

    โครงการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นในจังหวัด Banten และ DKI Jakarta มุ่งเน้นไปที่การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับผู้ให้บริการสาธารณสุข ตลอดจนการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์สุขภาพกับโรงเรียนของรัฐและเอกชนในท้องถิ่น และนี่คือหนึ่งในกิจกรรมภายในโรงเรียน ขณะที่นักเรียนจากโรงเรียน State Junior High School 2 ตำบล Rangkasbitung อำเภอ Lebak จังหวัด Banten กำลังตรวจสุขภาพเพื่อนของเธอ 09/12/2022 © Sania Elizabeth/MSF 

    adolescent health project in community

    Siskha Ekawati พยาบาลผดุงครรภ์จากสถานีอนามัยใน Rangkasbitung อธิบายว่า วัยรุ่นที่ผ่านการฝึกอบรมมีความมั่นใจมากขึ้นหลังจากที่พวกเขามีส่วนร่วมในการหารือกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่น 09/12/2022 © Sania Elizabeth/MSF

    Siswidi Yatnila ผู้ใหญ่บ้าน Rangkasbitung Barat ตำบล Rangkasbitung อำเภอ Lebak จังหวัด Banten กล่าวว่า

    “เราได้รับประโยชน์จากความช่วยเหลือขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน เช่น การที่กลุ่มวัยรุ่นมีความมั่นใจมากขึ้นในการพูดบนเวทีขนาดใหญ่ เป็นต้น และถึงแม้ว่าโครงการส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นจะจบลงแล้ว แต่เรามีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสานต่อโครงการดังกล่าวร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น พยาบาลผดุงครรภ์จาก puskesmas (สถานีอนามัยชุมชน) และหน่วยงานอื่นๆ”

    Siswidi ยังกล่าวด้วยว่า ทางหมู่บ้านยังได้รับคำมั่นจากองค์การบริหารส่วนตำบลว่าจะสนับสนุนกิจกรรมต่อไปในอนาคตเช่นกัน

    ความสำเร็จของโครงการ

    ตั้งแต่ปี 2018 ถึงสิ้นปี 2022 องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้สนับสนุนการดำเนินงานของสถานีอนามัยชุมชน 6 แห่ง อาทิ การส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น การสนับสนุนด้านลอจิสติกส์ในส่วนของการจัดบริการเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการบริจาคยาและเวชภัณฑ์อื่นๆ ในขณะเดียวกันวัยรุ่นกว่า 2,240 รายก็ได้รับประโยชน์จากบริการให้คำปรึกษา ขณะที่อีก 1,271 รายได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นในชุมชนและถูกส่งตัวต่อไปยังคลินิกเพื่อรับการรักษาในขั้นต่อไป นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพกว่า 720 ครั้งให้กับกลุ่มวัยรุ่นราว 45,000 ราย ซึ่งกว่าร้อยละ 62 ของการอบรม นำโดยอาสาสมัครสาธารณสุข (ฝ่ายปฏิบัติการ) ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรแพทย์ไร้พรมแดน 

    โดยองค์ประกอบสำคัญของโครงการดังกล่าว คือ เยาวชน รวมถึงชุมชนที่สนับสนุนพวกเขา ด้าน Rita Rahmawati หนึ่งในนักเรียนของโรงเรียนมัธยม 1 Jawilan แบ่งปันว่า 

    “การมีส่วนร่วมกับทีมองค์การแพทย์ไร้พรมแดนมีประโยชน์มากมาย และฉันได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน เราได้รับการฝึกอบรมด้านการให้คำปรึกษา และตอนนี้ฉันสามารถให้คำปรึกษากับเพื่อนได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกและตื่นเต้นอยู่เสมอ”