Skip to main content

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ได้ให้การช่วยเหลือด้านสาธารณสุขแก่ผู้ลี้ภัย ผู้ขอที่ลี้ภัย และชุมชนผู้อพยพที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในมาเลเซียตั้งแต่ปี 2558 (2015) โดยองค์การได้เริ่มดำเนินงานในประเทศดังกล่าวในฐานะส่วนหนึ่งของการทำงานใต้วิกฤตโรฮิงญา ซึ่งตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ชาวโรฮิงญาได้หลบหนีการดำเนินคดีในเมียนมาด้วยการเดินทางเสี่ยงอันตรายผ่านทะเลอันดามันในเรือลำเล็กและแออัด

    ปัจจุบันมีผู้ลี้ภัยและผู้ขอที่ลี้ภัยขึ้นทะเบียนกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ในมาเลเซียประมาณ 179,520 คน โดยมีชาวโรฮิงญาอยู่มากกว่า 100,000 คน แหล่งข่าวจากรัฐบาลมาเลเซียได้ประเมินว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาประมาณ 200,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศ รวมถึงผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ผู้ลี้ภัยในมาเลเซียไม่ได้พักอาศัยในค่าย แต่มีจำนวนมากที่อาศัยในชุมชนเมืองและชุมชนท้องถิ่น
     

    A Rohingya man sells vegetables near the Pasar Baru market, Kuala Lumpur. @Arnaud Finistre

    ชายชาวโรฮิงญาขายผักใกล้ตลาดปาซาร์ บารู, กัวลาลัมเปอร์ @ Arnaud Finistre

    ผู้ที่อ้างสิทธิ์ในการขอลี้ภัยได้รับการยอมรับและได้รับบัตร UNHCR จะได้รับส่วนลดค่ารักษาพยาบาล แต่ส่วนลดนั้นคิดจากอัตราค่ารักษาพยาบาลสำหรับชาวต่างชาติ ซึ่งหมายความว่าผู้ลี้ภัยต้องจ่ายในราคาที่สูงกว่าคนในประเทศมากเกือบถึง 100 เท่า

    A Rohingya farmworker is seen working in the middle of a small farm. Banding, Kuala Lumpur. @Arnaud Finistre

    คนงานชาวโรฮิงญาทำงานอยู่ในไร่ขนาดเล็ก แบนดิง, กรุงกัวลาร์ ลัมเปอร์ @ Arnaud Finistre

    ผู้ที่ไม่มีเอกสารหรือสถานะจาก UNHCR จะเสี่ยงต่อการถูกจับกุมและกักกันตัวในการตรวจค้น และยังเสี่ยงเมื่อขอเข้ารับการดูแลจากสถานพยาบาลภาครัฐ เนื่องจากผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขต้องปฏิบัติตามหนังสือเวียนกระทรวงสาธารณสุขเลขที่ 10/2001 ซึ่งทำให้ต้องแจ้งเหตุมีผู้อพยพที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง

    Rohingya worker seen walking on a street around the Pasar Baru market @Arnaud Finistre
    ฉันต้องการรักษาอาการบาดเจ็บแต่ก็รักษาไม่ได้เพราะอุปสรรคด้านการเงิน เราคงต้องตายที่บ้านโดยไม่ได้รับการรักษาพยาบาล
    ผู้ป่วยของ MSF รายหนึ่งกล่าวกับทีมงาน

    การทำงานขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF)

    เมื่อพบกับอุปสรรคด้านสาธารณสุข องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) จึงจัดตั้งโครงการที่ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น บริการด้านสุขภาพจิต การสนับสนุนและการให้คำปรึกษาด้านจิตสังคม ให้แก่ผู้ลี้ภัยและผู้ขอที่ลี้ภัยในปีนัง

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) จัดตั้งคลินิกในเมืองบัตเตอร์เวิร์ทเมื่อปี 2561 (2018) ซึ่งปัจจุบันคลินิกดังกล่าวได้ช่วยเหลือผู้ป่วยประมาณ 900 ถึง 1000 รายทุกเดือน ผู้ลี้ภัยที่อยู่ตามพื้นที่ห่างไกลในปีนังก็ได้รับการช่วยเหลือจากเราผ่านคลินิกเคลื่อนที่รายสัปดาห์ซึ่งเดินทางไปทั่วรัฐ ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน ACTS (A Call to Serve) เราร่วมมือกับคลินิกและโรงพยาบาลท้องถิ่นในการส่งตัวผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือเฉพาะด้าน และยังให้การสนับสนุนทางการแพทย์แก่ศูนย์กักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนในท้องถิ่น

    A Doctors Without Borders/Médecins Sans Frontières (MSF) doctor listens to a Rohingya patient as he speaks through a translator at our mobile clinic in Bukit Gudung, Penang.

    แพทย์จากองค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ฟังผู้ป่วยชาวโรฮิงญาขณะที่สื่อสารผ่านล่ามในคลินิกเคลื่อนที่ของเราในบูกิต กูดุง, ปีนัง

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ได้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและผู้ขอที่ลี้ภัยที่ต้องการการคุ้มครองผ่านกิจกรรมการสนับสนุนและประสานงาน เราส่งตัวผู้ขอที่ลี้ภัยไปยัง UNHCR และทำงานร่วมกับพันธมิตรในมาเลเซียเพื่อระบุช่องว่างในการดำเนินการของเรา ท่ามกลางความกังวลอื่น ๆ ทีมของเราได้เรียกร้องให้ยกเลิกหนังสือเวียนกระทรวงสาธารณสุขเลขที่ 10/2001 และเรียกร้องให้ผู้ลี้ภัยที่เดือดร้อน ขึ้นฝั่งทะเลอย่างปลอดภัย องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ยังร่วมมือกับพันธมิตรในท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของผู้ลี้ภัยในระยะยาว

    Vithya, head of pharmacy at the Doctors Without Borders/Médecins Sans Frontières (MSF) clinic in Penang, explains how to take a prescription to a patient’s wife. Penang

    วิธยา หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมที่คลินิกแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ในปีนัง กำลังอธิบายการใช้ยาแก่ภรรยาของผู้ป่วย, ปีนัง

    ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในมาเลเซีย

    เนื่องจากขาดสถานะและสิทธิในมาเลเซีย ผู้ลี้ภัยและผู้ขอที่ลี้ภัยมักจะขอรับการรักษาพยาบาลได้ช้าแม้ในสภาวะฉุกเฉิน และเนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาก็ได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวง

    A homeless Rohingya sits on the floor in a suburb of Kuala Lumpur. @Arnaud Finistre

    ผู้ไร้บ้านชาวโรฮิงญานั่งอยู่บนพื้นในชานเมืองกัวลาลัมเปอร์ @ Arnaud Finistre

    แต่เดิม ทางการมาเลเซียเลือกวิธีการทำงานที่ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม และเชิญผู้อพยพที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและผู้ขอที่ลี้ภัยมาขอรับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกจับกุม อย่างไรก็ตาม จากการตรวจค้นผู้อพยพ การปิดถนน และการดำเนินการโดยกำหนดเป้าหมาย ซึ่งเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2563 (2020) ทำให้ผู้ลี้ภัยจำนวนมากต้องหลบซ่อน

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ได้สังเกตผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด ทั้งการตราหน้าเหล่าผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ และการจำกัดการเคลื่อนย้ายสัญจร หรือความยากจนลงที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์ ซึ่งเสี่ยงในการส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่ต้องรับยารักษาเป็นประจำเช่น โรคเบาหวาน หรือ HIV ส่วนผู้อื่นก็เสี่ยงต่อการเสื่อมสุขภาพเนื่องการรักษาล่าช้า

    Kairul, a Rohingya man who fell two floors while working at a construction site, is examined by a nurse ahead of his doctor’s appointment at MSF’s clinic in Penang. @Arnaud Finistre
    บางครั้งพวกเราก็ไม่สามารถซื้อสบู่ล้างมือและเจลล้างมือได้ เพราะฉันเห็นว่าลูก ([ของฉัน) ร้องขออาหารทุกวัน ในตอนนี้อาหารสำคัญกับพวกเรามากกว่าการดูแลสุขภาพ
    ผู้ป่วยของ MSF รายหนึ่งกล่าวกับทีมงาน

    การขาดรายได้ที่มั่นคง และการกีดกันจากการเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานการณ์ COVID-19 ทำให้การสวมหน้ากากอนามัยหรือการซื้อสบู่ล้างมือเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยสำหรับกลุ่มคนชายขอบจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยจำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ขนาดเล็ก บางครั้งก็อยู่ร่วมกับอีกหลายครอบครัว ทำให้การเว้นระยะห่างแทบจะเป็นไปไม่ได้ 

    Nur, 27 years old (right), shares this container with seven other Rohingya workers employed on a massive construction site. Muhammad (left) shares the container with Nur. Penang @Arnaud Finistre

    นูร์ วัย 27 ปี (ขวา) ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ร่วมกับคนงานชาวโรฮิงญาอีก 7 คนที่ทำงานในไซต์ก่อสร้างขนาดใหญ่ มูฮัมหมัด (ซ้าย) ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ร่วมกับนูร์, ปีนัง @ Arnaud Finistre

    การรับมือกับสถานการณ์ COVID-19

    ตั้งแต่สถานการณ์โรคระบาด องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ได้ให้การสนับสนุนด้าน COVID-19 แก่ชุมชนผู้ลี้ภัยในปีนัง เราจัดให้มีการให้ความรู้ด้านสุขภาพทุกวันเพื่ออธิบายมาตรการป้องกันที่จำเป็นและแนวทางด้านสาธารณสุข โดยใช้ภาษาที่ชุมชนผู้ลี้ภัยใช้ รวมถึงภาษาโรฮิงญาและภาษาพม่า

    ในเดือนมีนาคม 2564 (2021) รัฐบาลมาเลเซียประกาศคำสั่งควบคุมการเคลื่อนย้ายสัญจร (MCO) หรือล็อคดาวน์ ซึ่งทำให้เราต้องระงับกิจกรรมประจำบางอย่าง รวมถึงคลินิกเคลื่อนที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลในปีนัง เมื่อมาเลเซียประกาศคำสั่งควบคุมการเคลื่อนย้ายสัญจร (MCO) อีกครั้งในต้นปี 2564 (2021) ทีมงานก็พร้อมจะยกระดับการสนับสนุนด้านความเป็นอยู่และการทำแคมเปญข้อมูลดิจิตัลจากประสบการณ์ในปีที่ผ่านมา และขณะที่คลินิกเคลื่อนที่ส่วนใหญ่ถูกระงับอีกครั้ง องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ก็ได้รับอนุญาตให้จัดทำคลินิกเคลื่อนที่อย่างน้อยสองสามครั้ง

    A Rohingya patient has a consultation at MSF’s mobile clinic, accompanied by a translator. Bukit Gudung, Penang.

    ผู้ป่วยชาวโรฮิงญารับคำปรึกษาที่คลินิกเคลื่อนที่ของ MSF พร้อมด้วยล่าม, บูกิต กูดุง, ปีนัง 

    องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ได้ให้การสนับสนุนโรงพยาบาลของรัฐโดยให้บริการแปลภาษาผ่านเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนชาวโรฮิงญา เราได้พัฒนาแคมเปญส่งเสริมสุขภาพ COVID-19 จากข้อมูลของชุมชนชาวโรฮิงญาด้วย R-vision ซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวชาวโรฮิงญาออนไลน์ที่มีการรายงานข่าวทั่วโลกเมื่อปีที่ผ่านมา โดยคลิปวิดีโอที่จัดทำได้เผยแพร่ไปถึงชาวโรฮิงญาในมาเลเซีย, เมียนมา, ซาอุดิอาระเบีย, อินเดีย, ค่ายในบังคลาเทศ และที่อื่นๆ

    เราได้แจกจ่ายอาหารให้แก่ครอบครัวผู้ลี้ภัยที่อ่อนแอ และมีการจัดสิ่งของเพื่อสุขอนามัยแก่ศูนย์กักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองหลายแห่งในประเทศ ผู้ที่ถูกกักกันในศูนย์กักกันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองนั้นมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการติดเชื้อไวรัส เนื่องจากพื้นที่ภายในศูนย์มีจำกัดและมักจะแออัด ดังที่ระบุไว้ในจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ที่รายงานในศูนย์กักกันและเรือนจำ

    เรามุ่งเน้นการสนับสนุนไปที่การรับมือกับ COVID-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น โดยไม่ต้องกลัวการถูกจับกุมและการถูกขับไล่ภายในชุมชนผู้อพยพ เราได้เรียกร้องให้รัฐบาลยุติการตั้งเป้าหมายผู้อพยพผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่ลี้ภัยในการตรวจค้นผู้อพยพ การตรวจค้นเหล่านี้สร้างแต่เพียงความหวาดกลัวและวิตกกังวลในชุมชนเหล่านี้เท่านั้น และไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อแนวทางด้านสาธารณสุขที่จำเป็นอย่างยิ่งของมาเลเซีย