Skip to main content

ภัยธรรมชาติ


ภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นไต้ฝุ่น น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ หรืออื่นๆ ต่างมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อทุกชุมชน ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายร้อยหรือหลายพันคน ทำให้บ้านเรือนและการหาเลี้ยงชีพเสียหาย ทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำสะอาดและถูกตัดขาดจากบริการสาธารณสุขและการคมนาคม


แต่ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติระดับใหญ่หรือเหตุฉุกเฉินระดับท้องถิ่น องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ก็พร้อมรับสถานการณ์เสมอ เรามีประสบการณ์ด้านการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินมา 50 ปี และมีเครือข่ายเจ้าหน้าที่ผู้ให้ความช่วยเหลือและเครือข่ายซัพพลายขนาดใหญ่ทั่วโลกซึ่งพร้อมออกปฏิบัติงานทันทีที่จำเป็น

In Manila and its surrounding areas, MSF teams are working to provide medical care

ในกรุงมะนิลาและพื้นที่โดยรอบ ทีมต่างๆ ของ MSF กำลังปฏิบัติงานเพื่อให้บริการรักษาพยาบาลและแจกจ่ายของใช้ให้ชาวบ้านซึ่งเดือดร้อนมากที่สุดจากพายุไต้ฝุ่นสามลูกและพายุโซนร้อนอีกหลายลูกในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2552 (2009)  ประชาชนหลายหมื่นคนยังต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่สลัมริมคลองแห่งหนึ่งในกรุงมะนิลาซึ่งถูกน้ำท่วมอย่างหนักและพื้นที่ลากูนา เดอ เบย์เหนือและตะวันออกเฉียงใต้  คนเหล่านี้เดือดร้อนเป็นพิเศษเพราะต้องไปอยู่ในศูนย์อพยพที่แออัดหรืออยู่ในบ้านที่ถูกน้ำท่วมไปส่วนหนึ่ง © Benoit Finck/MSF

การตอบสนองในทันที


เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 (2013) ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนซึ่งเป็นไต้ฝุ่นที่ร้ายแรงที่สุดลูกหนึ่งในประวัติศาสตร์พัดเข้าถล่มฟิลิปปินส์


“ภัยพิบัติระดับนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์มาก่อน ผลกระทบมันเหมือนเกิดแผ่นดินไหวใหญ่แล้วตามด้วยน้ำท่วมอีกหลายครั้ง” ดร. นาตาชา เรเยส แพทย์ผู้ประสานงานฉุกเฉินขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ในฟิลิปปินส์กล่าว

หนึ่งวันหลังจากไต้ฝุ่นพัดขึ้นฝั่ง เราก็ส่งหลายทีมเข้าไปช่วยประสานงานบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ ซึ่งเป็นปฏิบัติการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่ที่สุดขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ในฟิลิปปินส์และในภูมิภาคนี้

เรา ดำเนินการผ่าตัดไป 

  • 11,624 ครั้ง ฉีดวัคซีนบาดทะยัก โรคหัด โปลิโอ และตับอักเสบ 
  • 29,188 เข็ม ให้บริการจิตบำบัดและ/หรือให้คำปรึกษา 
  • 27,044 ครั้ง ทำคลอด 
  • 2,445 ราย ตั้งคลินิกเคลื่อนที่ในสถานที่ต่างๆ 
  • 133 แห่ง ก่อสร้างโรงพยาบาลกึ่งถาวรหนึ่งแห่ง ซ่อมแซมโรงพยาบาลเจ็ดแห่ง 

แจกจ่ายชุดสิ่งของบรรเทาทุกข์ 

  • 71,979 ชุด แจกอาหารให้ประชาชน 
  • 50,000 คน และแจกน้ำสะอาด 
  • 14,473,500 ลิตร

เรื่องเล่าจากภาคสนาม: การตอบสนองต่อภัยพิบัติสามครั้งซ้อนในจังหวัดสุลาเวสีกลาง

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และสึนามิที่จังหวัดสุลาเวสีกลางในอินโดนีเซีย ดร. รังกิ ดับเบิลยู ซูดราจัต เข้าร่วมกับทีมตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ซึ่งถูกส่งเข้าไปตามชุมชนต่างๆ ที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกเพราะภัยพิบัติ

วันนั้นคือวันที่ 7 ตุลาคม เก้าวันหลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์แล้วตามด้วยสึนามิสูงหกเมตรจนทำให้จังหวัดสุลาเวสีกลางเป็นอัมพาต ขณะที่ ดร. รังกิกำลังจะขึ้นเครื่องบินไปเมืองปาลู เธอได้ยินข่าวโทรทัศน์ที่ท่าอากาศยานมาคาสซาร์รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 1,900 คนและยังเพิ่มขึ้นอีก

เมื่อเธอไปถึงเมืองปาลู ที่สนามบินมีคนเยอะมากกำลังพยายามหาตั๋วเครื่องบินออกจากเมือง เธอเห็นเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่หลับอยู่บนตักแม่มีพันผ้าพันแผลผืนใหญ่มากพันศีรษะ ภายในสนามบินวุ่นวายมาก เครื่องบินของกองทัพจอดรอบรันเวย์ที่เพิ่งซ่อมได้ไม่นาน และหอควบคุมการจราจรทางอากาศซึ่งถล่มลงมาบางส่วนจนกลายเป็นข่าวดังในภายหลังก็อยู่ในสภาพเสียหาย

Image of Tsunami Central Sulawesi 2018

ความเสียหายร้ายแรง เขตตาลิเซในเขตมันติคูลอร์ของเมืองปาลูเป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งเสียหายหนักมากหลังจากเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในจังหวัดสุลาเวสีกลางเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2561 (2018) ©Dirna Mayasari/MSF

ตัดขาดจากโลกภายนอก

วันต่อมา ดร. รังกิ พยาบาล และหน่วยจัดการน้ำและสุขาภิบาลเข้าร่วมกับทีมคลินิกเคลื่อนที่เพื่อเดินทางไปที่ศูนย์อนามัยชุมชนในเมืองบาลูอาเซในเขตซิกิ รีเจนซี ของจังหวัดสุลาเวสีกลาง ซึ่งเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่เกิดภัยพิบัติสามครั้งซ้อนคือแผ่นดินไหว สึนามิ และปรากฏการณ์แผ่นดินเหลว (liquefaction)  หัวหน้าศูนย์อนามัยชุมชนบอกทีมว่า ถ้าเป็นในยามปกติการเดินทางไปเมืองนี้ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง แต่หลังจากแผ่นดินไหว กว่าจะไปถึงที่เกิดเหตุได้ต้องใช้เวลาสองเท่า

A sign reading "Need medical help" in Sigi

ป้ายในซิกิเขียนว่า “ต้องการหมอมารักษา” © Rangi W. Sudrajat/MSF

เมื่อมองผ่านหน้าต่างบานเล็กของรถยนต์ ดร. รังกิเห็นพงหญ้าสูงรายรอบและถนนดินที่เพิ่งทำใหม่ ทหารตัดหญ้าและเททรายบนพื้นเพื่อใช้เป็นถนน หลังจากแผ่นดินไหวทำให้ซิกิถูกตัดขาดจากโลกภายนอก

เธอเห็นซากตึกและความเสียหายทุกที่ในซิกิ แผ่นดินแยก บ้านพัง และอาคารแหลกเป็นชิ้น  เมื่อมองจากระยะไกล ตึกที่เคยเป็นศูนย์อนามัยชุมชนบาลูอาเซดูเหมือนจะไม่เป็นอะไร แต่พอเข้าไปใกล้ก็เห็นได้ชัดว่าศูนย์อนามัยแห่งนี้ซึ่งเคยให้บริการประชาชนกว่า 15,000 คนเสียหายอย่างมาก

แต่ MSF เตรียมแผนงานไว้แล้วเพื่อนำบริการสาธารณสุขกลับคืนมาสู่พื้นที่นี้ และในวันที่ 15 ตุลาคม 2561 (2018) ทีมของ MSF ก็เริ่มวางฐานรากของอาคารศูนย์อนามัยชั่วคราว

ขณะที่ทีมโลจิสติกส์และหน่วยจัดการน้ำและสุขาภิบาลกำลังทำงานหนักเพื่อสร้างศูนย์อนามัยขึ้นมาใหม่ ดร. รังกิและทีมแพทย์ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์อนามัยช่วยสนับสนุนก็เริ่มทำกิจกรรมคลินิกเคลื่อนที่ทุกวันในพื้นที่ทั้ง 13 หมู่บ้านของเขตโดโลใต้

ดร. รังกิเคยร่วมงานกับ MSF ในภาวะฉุกเฉินมาแล้วหลายครั้ง แต่การรักษาผู้บาดเจ็บเพราะภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศของเธอเองถือเป็นความรู้สึกที่ต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิงและน่าเศร้าใจมาก งานนี้จึงมี ผลกระทบทบต่อจิตใจของ ดร. รังกิเองในฐานะคนคนหนึ่ง เมื่อความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้น เธอก็จะทำอย่างที่เคยทำในภารกิจอื่นๆ นั่นคือแบ่งเวลามาเล่นกับกลุ่มคนที่เธอชอบ ซึ่งก็คือเด็กๆ

เข้าพื้นที่ภัยพิบัติ

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) มีทีมฉุกเฉินซึ่งเชี่ยวชาญการประเมินสถานการณ์อย่างรวดเร็วและจัดทีมตอบสนองได้ทันที เวชภัณฑ์และซัพพลายด้านโลจิสติกส์ซึ่งจัดเตรียมไว้เป็นชุดพร้อมขนส่งก็ถูกเก็บไว้ในคลังตามจุดที่ตั้งสำคัญทั่วโลกแล้ว

การมีทีมงานที่พร้อมจะวางทุกอย่างแล้วออกเดินทางไปทำงานในพื้นที่ภัยพิบัติทั่วโลกได้ทันทีทำให้เราไปถึงสถานที่ซึ่งมีคนต้องการความช่วยเหลือจากเรามากที่สุดได้อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการรักษาพยาบาลฉุกเฉินเป็นเรื่องที่รอไม่ได้

เรื่องเล่าจากภาคสนาม: การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินในฟิลิปปินส์หลังจากไต้ฝุ่นโคนีและไต้ฝุ่นหว่ามก๋อสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในฟิลิปปินส์

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน หนึ่งในไต้ฝุ่นลูกใหญ่ที่สุดของปี 2563 (2020) พัดถล่มฟิลิปปินส์  ไต้ฝุ่นโคนี หรือที่เรียกกันในฟิลิปปินส์ว่าไต้ฝุ่นโรลลี สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างทั่วภูมิภาคบิโคล โดยเฉพาะในจังหวัดคาตันดัวเนสและจังหวัดอัลไบย์ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงมะนิลาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 300 กิโลเมตร  ก่อนที่ไต้ฝุ่นโคนีจะพัดขึ้นฝั่ง พายุลูกนี้มีความรุนแรงอยู่ที่ระดับ 5 ซึ่งรุนแรงที่สุด

Outreach activities and health assessments in Philippines,

ภาพจากกิจกรรมให้ความช่วยเหลือและประเมินสุขภาพประชาชนบนเกาะซานมิเกลในจังหวัดคาตันดัวเนสของฟิลิปปินส์ หลังจากไต้ฝุ่นโคนีและหว่ามก๋อพัดขึ้นฝั่ง บ้านเรือนจำนวนมากเสียหายอย่างเห็นได้ชัด แต่มีผู้เสียชีวิตเพียงไม่กี่ราย (MSF)

Outreach activities and health assessments in Philippines.

ภาพจากกิจกรรมให้ความช่วยเหลือและประเมินสุขภาพประชาชนบนเกาะซานมิเกลในจังหวัดคาตันดัวเนสของฟิลิปปินส์ หลังจากไต้ฝุ่นโคนีและหว่ามก๋อพัดขึ้นฝั่ง บ้านเรือนจำนวนมากเสียหายอย่างเห็นได้ชัด แต่มีผู้เสียชีวิตเพียงไม่กี่ราย (MSF)

สามสัปดาห์ให้หลัง หลายพื้นที่ในอัลไบย์และคาตันดัวเนสยังคงไม่มีไฟฟ้าใช้ ส่วนสัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตต่างก็ไม่เสถียร ซึ่งความเสียหายที่เกิดจากไต้ฝุ่นโคนีทำให้ MSF ส่งทีมประเมินสถานการณ์ลงพื้นที่แต่ละจังหวัด    

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมเผชิญอุปสรรคครั้งใหม่ เมื่อไต้ฝุ่นหว่ามก๋อพัดขึ้นฝั่งเมื่อวันที่ 11 และ 12 พฤศจิกายน ทำให้การประเมินสถานการณ์และภารกิจช่วยเหลือของ MSF ต้องหยุดชะงักลง “ทีมของเราต้องหยุดทำงานและรอให้ไต้ฝุ่นหว่ามก๋อพัดผ่านไปก่อน ซึ่งพายุลูกนี้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางตอนเหนือของกรุงมะนิลามากที่สุด” ฌอง-ลุค อองแกลด  หัวหน้าภารกิจของ MSF ในฟิลิปปินส์กล่าว 

ดร. เรย์ อานิเซเต หัวหน้าทีมฉุกเฉินของ MSF ในอัลไบย์ เล่าว่า “เริ่มแรกเราไปยังเมืองกิวโนบาตัน ซึ่งไต้ฝุ่นทำให้เกิดโคลนภูเขาไฟถล่มอย่างรุนแรง เป็นครั้งแรกในชีวิตของคนท้องถิ่นในหมู่บ้านซานฟรานซิสโกและทราวีเซียที่ได้เจอกับโคลนภูเขาไฟแบบนี้  ระหว่างสำรวจพื้นที่และเดินข้ามหินก้อนใหญ่ มีคนบอกเราว่าตรงนั้นที่เรายืนเคยเป็นบ้านคนมาก่อน ฟังแล้วหดหู่มาก”

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) เริ่มแจกจ่ายกระติกน้ำสำหรับเก็บน้ำดื่มและชุดอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ที่ศูนย์อพยพในทั้งสองจังหวัด ซึ่งผู้ประสบภัยแต่ละคนจะได้รับหน้ากากผ้าแบบซักได้สองชิ้น เจลล้างมือ และหน้ากากเฟซชิลด์  นอกจากนี้ทีมยังวางแผนช่วยฝึกสอนการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโควิด-19 และจะบริจาคอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้ทีมงานของศูนย์อพยพด้วย

Families have to stay at evacuation centres where MSF provides jerry cans, and PPE to prevent outbreaks of COVID-19 in the centres.

ครอบครัวผู้ประสบภัยต้องพักอยู่ที่ศูนย์อพยพ ซึ่ง MSF นำกระติกน้ำและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลไปแจกเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 ภายในศูนย์ © MSF

“โควิด-19 กระทบต่อชีวิตของผู้คนในฟิลิปปินส์อย่างร้ายแรงมาตั้งแต่เดือนมีนาคม และคนในศูนย์อพยพก็ยิ่งจำเป็นต้องรักษาสุขอนามัยและรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันการระบาด ซึ่งทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้อพยพมีบทบาทมากในการบรรลุเป้าหมายด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อให้สำเร็จ” อัลเลน บอร์ฮา พยาบาลฝ่ายป้องกันและควบคุมการติดเชื้อของ MSF ในอัลไบย์กล่าว

ส่วนในจังหวัดเกาะอย่างคาตันดัวเนส มีเขตเทศบาล 6 เขตจาก 11 เขตที่เสียหายหนักจากไต้ฝุ่นโคนี ซึ่งถ้าพิจารณาจากความเสียหายต่อบ้านเรือนและการดำรงชีพ เกาะนี้ถือว่าเสียหายหนักที่สุด แต่โชคดีที่ชาวจังหวัดยังสามารถออกจากศูนย์อพยพกลับอยู่บ้านและเริ่มซ่อมแซมบ้านกันได้โดยเร็ว

“ทีมของ MSF เริ่มงานตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินในซานมิเกลตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน ซึ่งที่นี่เป็นหนึ่งใน 4 เขตเทศบาลที่เราเข้าไปช่วยเหลือ  แพทย์หนึ่งคนและพยาบาลหนึ่งคนจาก MSF ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอนามัยเขตเทศบาลเพื่อสนับสนุนเวชภัณฑ์สำหรับกิจกรรมช่วยเหลือหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด  ทีมนี้เริ่มแจกจ่ายยาเม็ดฆ่าเชื้อในน้ำดื่มและกระติกเก็บน้ำดื่มให้ชาวบ้านประมาณ 2,500 ครอบครัว” ดร. ฮานา บาดานโด ผู้นำทีมฉุกเฉินในเขตเทศบาลวิรัค จังหวัดคาตันดัวเนสกล่าว

การรักษาผู้บาดเจ็บ

หนึ่งในงานที่เราต้องรีบทำก่อนงานอื่นคือการประเมินว่ามีผู้บาดเจ็บจำนวนมากหรือไม่และกำลังของหน่วยงานสาธารณสุขในท้องถิ่นลดลงหรือไม่หลังจากเกิดภัยพิบัติ เพราะถ้าผู้ที่มีบาดแผลหรือกระดูกหักไม่ได้รับการรักษาและการดูแลแผลหลังผ่าตัด แผลของพวกเขาจะติดเชื้ออย่างรวดเร็ว

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) จะส่งหน่วยแพทย์เข้าไปช่วยผ่าตัด ดูแลแผลหลังผ่าตัด และทำกายภาพบำบัด เราอาจตั้งโรงพยาบาลเคลื่อนที่โดยใช้เต็นท์เป่าลมซึ่งเหมาะสำหรับใช้งานหลังจากเกิดแผ่นดินไหวโดยยังมีการไหวตามมาอีก

การฟื้นฟูบริการสาธารณสุขทั่วไป จัดหาที่พัก และแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ขั้นพื้นฐานคืองานอันดับแรกๆ ที่ต้องทำ แต่เราไม่ได้เน้นแค่ความบาดเจ็บทางกายเท่านั้น การให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประสบภัยฟื้นตัวจากความบอบช้ำได้

จังหวัดสุลาเวสีกลาง: ศูนย์บริการสาธารณสุขของ MSF ยังคงช่วยเหลือชุมชนที่ถูกภัยพิบัติถล่มต่อไป

หกเดือนหลังจากเกิดภัยพิบัติสามครั้งซ้อนจากแผ่นดินไหว สึนามิ และแผ่นดินเหลวในจังหวัดสุลาเวสีกลาง ศูนย์บริการสาธารณสุขชั่วคราวที่ MSF สร้างไว้เขตโดโลใต้ก็ยังคงช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบต่อไป เพราะเมื่อศูนย์อนามัยที่เมืองบาลูอาเซเสียหายอย่างหนัก ชาวบ้านใน 12 หมู่บ้านจึงไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ 

นอกจากให้บริการด้านการแพทย์และศูนย์บริการสาธารณสุขเคลื่อนที่แล้ว ทีมของ MSF ในท้องถิ่นซึ่งร่วมมือกับหัวหน้าทีมจากศูนย์อนามัยบาลูอาเซและหัวหน้าหน่วยงานสาธารณสุขในเขตซิกิยังตัดสินใจสร้างอาคารศูนย์อนามัยชั่วคราวที่ให้บริการทั้งแผนกผู้ป่วยนอก แผนกสูติกรรม และแผนกฉุกเฉิน รวมทั้งมีระบบน้ำกับห้องน้ำด้วย

ดร. อะเดไลด์ กฤษณาวาตี บอร์แมน หรือ ดร. กฤษณา หัวหน้าศูนย์อนามัยบาลูอาเซในเขตโดโลใต้ จังหวัดสุลาเวสี กล่าวว่า “ตอน MSF เข้ามาประเมินสภาพของศูนย์อนามัยชุมชนหลังจากแผ่นดินไหว ที่นี่เสียหายหนักมาก เราจะเข้าไปในตึกก็ยังไม่ได้  MSF จึงสร้างอาคารชั่วคราวให้เราในเวลาแค่หนึ่งหรือสองสัปดาห์ เราเลยย้ายเข้ามาให้บริการกันในนี้”

Temporary health centre built by MSF

ดร. กฤษณาย้ำว่าศูนย์ชั่วคราวที่บาลูอาเซซึ่ง MSF สร้างให้นั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม มีแผนกผู้ป่วยนอก แผนกสูติกรรม และแผนกฉุกเฉิน และมีระบบน้ำกับห้องน้ำด้วย ภาพนี้คือหนึ่งในห้องผู้ป่วยในของศูนย์อนามัยชั่วคราวแห่งนี้

ดร. กฤษณาเล่าว่าศูนย์แห่งนี้ให้บริการชาวบ้านจาก 12 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยนอก 20-30 คนต่อวัน และรับผู้ป่วยใน 5-10 คนทุกวัน  ตั้งแต่ศูนย์นี้เริ่มเปิดรักษาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 (2018) ก็มีผู้ป่วยเข้ามาแล้วทั้งหมดกว่า 3,000 คน

ดร. กฤษณาย้ำว่าศูนย์ชั่วคราวที่บาลูอาเซซึ่ง MSF สร้างให้นั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม มีแผนกผู้ป่วยนอก แผนกสูติกรรม และแผนกฉุกเฉิน และมีระบบน้ำกับห้องน้ำด้วย  เธอเสริมว่าศูนย์นี้ให้บริการทุกวัน ทั้งการรักษาผู้ป่วยนอกและโพลีคลินิกสำหรับเด็ก  “ที่นี่มีห้องจ่ายยา ห้องสูติศาสตร์ ห้องฉุกเฉิน และห้องผู้ป่วยใน มีครัวที่ใช้ทำอาหารได้ และมีห้องน้ำด้วย ต้องขอบคุณพระเจ้าที่เราได้ตึกชั่วคราวนี้มา เราขอบคุณ MSF มากๆ และตึกนี้เป็นประโยชน์ต่อเราและชาวบ้านที่นี่จริงๆ” เธอกล่าว 

Image of the pharmacy where the patients can get their medicines after consulting the doctor. 

ศูนย์แห่งนี้มีห้องจ่ายยาให้ผู้ป่วยมารับยาหลังจากพบแพทย์แล้ว © Eka Nickmatulhuda 

ดร. กฤษณาเล่าว่าทีมของเธอมีความสุขที่ได้ให้บริการสาธารณสุขแก่ชุมชนต่อไปในศูนย์ชั่วคราวของ MSF แห่งนี้ และกล่าวว่าตอนแรกก็ไม่คิดว่าอาคารจะสร้างได้ดีขนาดนี้ แต่หลังจากก่อสร้างเสร็จ ทีมของเธอก็เริ่มกลับมาให้บริการด้านการแพทย์ได้อีกครั้งภายในเวลาไม่ถึงเดือน  “เราอาจจะใช้ตึกนี้ไปอีกปี” ดร. กฤษณากล่าว 

การประสานงานกับทีมปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ในประเทศ

งานด้านการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินขององค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) พัฒนาขึ้นผ่านการประสานงานกับหน่วยงานตอบสนองภายในประเทศอย่างครอบคลุม โดยคำนึงถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานและกลยุทธ์ระดับท้องถิ่น และข้อจำกัดด้านการเข้าแทรกแซงระหว่างประเทศที่ว่าด้วยเรื่องเวลา คุณภาพ และการตอบโจทย์

เราวิเคราะห์คุณค่าซึ่งเพิ่มขึ้นจากการที่เรานำความช่วยเหลือเข้าไป และตั้งคำถามอยู่เสมอว่าการที่เราเข้าไปช่วยเหลือนั้นตอบโจทย์เพียงใด โดยที่เป้าหมายของเราคือการ ‘ส่งต่อ’ กิจกรรมด้านการแพทย์ให้หน่วยงานหรือพันธมิตรในท้องถิ่นหลังจากพวกเขาไม่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากเราแล้ว